ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.79 (YoY)เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.02 (MoM)และเฉลี่ย 8เดือน (ม.ค. -ส.ค.) 2566 สูงขึ้นร้อยละ 1.61 (AoA)1. เทียบกับเดือนสิงหาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 0.88(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.98 ตามการสูงขึ้นของสินค้าทุกหมวด ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.25จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องแบบนักเรียนอนุบาล เครื่องแบบมัธยมชายและหญิง หมวดเคหสถานร้อยละ 1.84จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน และก๊าซหุงต้ม หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.41จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกายค่าแต่งผมชายและยาสีฟัน หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 0.26 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าโดยสารสาธารณะ หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.60 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระ และอาหารสัตว์เลี้ยง หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.46 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์ สุรา และบุหรี่ และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ 0.13จากการสูงขึ้นของค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และค่าส่งพัสดุหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.74 ตามการสูงขึ้นของกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 2.46 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเหนียวขนมอบ และข้าวสารเจ้า กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 8.47จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมถั่วเหลือง กลุ่มผักสดร้อยละ 1.45จากการสูงขึ้นของราคาขิง มะนาว และมะเขือ กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 9.15จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ แตงโม และส้มเขียวหวาน กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 3.96 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) และน้ำหวาน กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 1.96 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป อาหารว่างและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 1.49จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่มีสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -6.06 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และไก่สด และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -2.26 จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) และมะขามเปียก
2. เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2566สูงขึ้นร้อยละ 0.55(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.76 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดเคหสถานร้อยละ 0.07จากการสูงขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 1.87 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารเครื่องบิน และค่ารถรับส่งนักเรียน และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระ และอาหารสัตว์เลี้ยง สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ -0.02 จากการลดลงของราคากางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดบุรุษ และเสื้อยกทรง หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ -0.01จากการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว น้ำยาระงับกลิ่นกาย และยาสีฟัน และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.05 จากการลดลงของราคาเบียร์ และไวน์ ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.23 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 0.63 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 1.25 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมเปรี้ยว และนมถั่วเหลืองกลุ่มผักสดร้อยละ 1.75 จากการสูงขึ้นของราคาต้นหอม ผักชี และผักบุ้ง กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 3.30 จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน เงาะ และฝรั่ง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.08 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น)และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 0.01จากการสูงขึ้นของราคาอาหารโทรสั่ง (delivery) และอาหารสำเร็จรูป และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 0.03 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -0.97 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร ไก่ย่าง และไก่สด และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ -0.21จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และน้ำปลา
3. เฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค. -ส.ค.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.01(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลงของสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 4.05 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 3.75 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ขนมอบ และข้าวสารเหนียว กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 7.84 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมถั่วเหลือง และนมสด กลุ่มผักสดร้อยละ 12.82จากการสูงขึ้นของราคามะนาว มะเขือ และแตงกวา กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 9.49จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ แตงโม และลองกอง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.38 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) และน้ำอัดลม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 4.27 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 3.72 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -0.14 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และเครื่องในหมู และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -0.02 จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช มะขามเปียก และมะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด)หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.63 จากการสูงขึ้นของสินค้าหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.31 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อยืดสตรี เครื่องแบบนักเรียนอนุบาล และค่าจ้างซักรีดหมวดเคหสถานร้อยละ2.18 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และค่าเช่าบ้าน หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.84จากการสูงขึ้นของราคาค่าแต่งผมชาย แป้งทาผิวกาย และยาสีฟัน หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 1.13 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารสัตว์เลี้ยง และเครื่องถวายพระหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.73 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์ สุรา และบุหรี่ และกลุ่มการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.07จากการสูงขึ้นของค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และค่าส่งพัสดุ ในขณะที่หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ -1.17จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าสูงขึ้นในทุกภูมิภาค โดยอัตราเงินเฟ้อของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มขึ้นมากที่สุด สูงขึ้นร้อยละ 1.38รองลงมา ได้แก่ ภาคใต้ สูงขึ้นร้อยละ 0.93 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 0.76 และภาคกลาง สูงขึ้นร้อยละ 0.72 ในขณะที่ภาคเหนือ เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าทุกภูมิภาค โดยสูงขึ้นร้อยละ 0.39
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง (ยกเว้นดีเซล) และไข่ไก่ เป็นต้น สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ เนื้อสุกร น้ำมันพืช พริกสด และผักชี เป็นต้น
มีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยที่ส่งผลบวกต่ออัตราเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศที่อาจเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ สถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมาในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ปริมาณพืชผลการเกษตรและปศุสัตว์ลดลง ส่งผลให้ราคาสินค้ากลุ่มอาหารและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยที่ชะลอตัว และการใช้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่ออุปสงค์และการลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งฐานการคำนวณในเดือนกันยายน 2565 ที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยกดดันให้เงินเฟ้อทรงตัวและเพิ่มขึ้นไม่มาก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่เกิดจากมาตรการของภาครัฐที่คาดว่าจะออกมาในระยะอันใกล้ และส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ อาทิ มาตรการลดค่าครองชีพ และการลดต้นทุนภาคการผลิตและบริการ (ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ราคาก๊าซหุงต้ม)และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 -2.0(ค่ากลางร้อยละ 1.5) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ เดือนกันยายน ปี 2566
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์