สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2566 เท่ากับ 112.5 Highlights
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2566 เท่ากับ 112.5 เมื่อเทียบกับ เดือนสิงหาคม 2565 ลดลงร้อยละ -0.2 (YoY)โดยลดลงในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมา (-0.4) เป็นผลจากหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ -2.0 ตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดเอเชียและจีน เนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูงจากวิกฤตปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน ขณะที่ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ สูงขึ้นเกือบทุกหมวด ทั้งนี้ เนื่องจากสินค้าวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งจาก ราคาวัตถุดิบและค่าดำเนินการที่สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากการก่อสร้างภาพรวมชะลอตัว ทั้งจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐที่ชะลอเล็กน้อยในช่วงท้ายของปีงบประมาณ และธุรกิจอสังริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง/ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคและนักลงทุน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเป็นรายหมวดสินค้า ดัชนีราคามีทั้งสูงขึ้นและลดลง 1. เทียบกับเดือนสิงหาคม 2565(YoY)ลดลงร้อยละ 0.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 3.2 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้คานไม้โครงคร่าว เสาเข็มไม้ และวงกบประตู เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากค่าดำเนินการและการขนส่ง
หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนฉาบสำเร็จรูป และปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (แร่ยิปซั่ม หินดินดาน)
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง ท่อระบายน้ำคอนกรีต และคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (ซีเมนต์ หิน ทราย)
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 2.0 จากการลดลงของเหล็กฉาก เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ข้ออ้อย ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี ท่อเหล็กดำ และเหล็กแผ่นเรียบดำ ตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดเอเชียและจีน เนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูงจากวิกฤตปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องเคลือบปูพื้น ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (หินแร่ สี วัสดุแต่งสี) รวมทั้งความต้องการใช้ในการซ่อมแซมอาคารเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.3 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นปูน สีรองพื้นโลหะ สีน้ำอะครีลิคทาภายใน -ภายนอก และน้ำยากันซึม ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบบางชนิดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (เม็ดสี สารให้สี)
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.6 และที่ใส่กระดาษชำระจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น (ดินขาว)
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของสายเคเบิล THWสายส่งกำลังไฟฟ้า NYYและสายไฟฟ้า VCTตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ทองแดง เม็ดพลาสติก)
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 2.0 จากการลดลงของอลูมิเนียมแผ่นเรียบ 2.เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2566 (MoM) ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.2
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.3 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้โครงคร่าว วงกบประตู และวงกบหน้าต่าง เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจาก ค่าดำเนินการและการขนส่ง
หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 2.7 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (แร่ยิปซั่ม หินดินดาน)
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตหยาบคอนกรีตผสมเสร็จ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และคานคอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (ซีเมนต์ หิน ทราย)
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 4.1 จากการลดลงของเหล็กตัวซี เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ข้ออ้อย ท่อเหล็กดำ และเหล็กแผ่นเรียบดำ ตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดเอเชียและจีน เนื่องจากวิกฤตปัญหาในภาคอสังริมทรัพย์ของจีน
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องเคลือบบุผนัง กระเบื้องเคลือบปูพื้น กระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา และกระเบื้องแกรนิต เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าสูงขึ้น (วัสดุแต่งสี สารเคลือบ) รวมทั้ง ความต้องการใช้ในการซ่อมแซมอาคารเพิ่มขึ้น
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 3.6 จากการสูงขึ้นของน้ำมันเคลือบแข็ง สีน้ำอะครีลิคทาภายในและภายนอก และสีเคลือบน้ำมัน สูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบบางชนิดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (เม็ดสี สารให้สี)
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากการสูงขึ้นของอ่างล้างหน้าเซรามิก ที่ใส่สบู่ และที่ใส่กระดาษชำระ เนื่องจากความต้องการใช้ในการซ่อมแซมของ ภาคอสังหาริมทรัพย์ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของ สายเคเบิล THWสายไฟฟ้า VAFสายส่งกำลังไฟฟ้า NYYท่อระบายน้ำเสีย PVC ท่อ PB และ ท่อ PE ตามการสูงขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ (ทองแดง เม็ดพลาสติก)
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของวัสดุธรรมชาติ (ดิน หิน ทราย) เนื่องจากแหล่งผลิตมีน้อย
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)2.เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2566 (MoM) ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีรายละเอียดของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากกการสูงขึ้นของเสาเข็มไม้ รวมทุกหมวด0.0 วงกบประตู และบานประตู เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจากค่าดำเนินการและการขนส่งหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้0.2
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของรางน้ำคอนกรีต หมวดซีเมนต์0.0 เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศสูงขึ้น (ใยหิน)
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.3 จากการลดลงของเหล็กตัวซี หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต0.2 เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ข้ออ้อย ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี และลวดผูกเหล็ก ตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดเอเชียและจีน เนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูงจากวิกฤตหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก-0.3
ปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนหมวดกระเบื้อง0.0 หมวดกระเบื้อง ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดวัสดุฉาบผิว ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดวัสดุฉาบผิว0.0 หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก สายฉีดชำระ เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (ดินขาว เม็ดพลาสติก) และสายน้ำดี หมวดสุขภัณฑ์0.1
ที่สิ้นสุดกิจกรรมส่งเสริมการขายหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา0.3 หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของท่อ PVC ข้อต่อท่อประปา ท่อระบายน้ำเสีย PVCและท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์PVC หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ0.7 เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก) สูงขึ้น
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.7
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนกันยายน ปี 2566 มีแนวโน้มทรงตัวหรืออาจจะลดลงเล็กน้อย จากการลดลงของราคาสินค้าหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ตามราคาตลาดโลกที่ลดลงจากสถานการณ์อุปทานเหล็กส่วนเกิน ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในจีน ขณะที่ค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันดีเซลที่มีโอกาสต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากมาตรการภาครัฐ มีส่วนชะลอการสูงขึ้นของต้นทุนการผลิตและราคาวัสดุก่อสร้างหมวดต่าง ๆ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงสูงกว่าปีที่ผ่านมา อาจชะลอความต้องการซื้อและการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ และทำให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปี 2565 อย่างไรก็ตาม ต้นทุนด้านวัตถุดิบที่สูงกว่าเดือนเดียวกันของปี 2565 อาจส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และวัสดุฉาบผิว สูงกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่ขับเคลื่อนโดยโครงการก่อสร้างของภาครัฐที่อาจมีการเร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จเพื่อเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2566 และ โครงการก่อสร้างภาคเอกชนตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยในภาพรวม ส่งผลให้ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ได้ 4. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2566 ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์