ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนสิงหาคม 2566 เท่ากับ 53.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนสิงหาคม 2566 ปรับเพิ่มเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 53.4 จากระดับ 53.3ในเดือนก่อนหน้า และอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9(นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 44.1 จากระดับ 44.6และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 59.6 จากระดับ 59.1สาเหตุสำคัญของการเพิ่มขึ้นคือ 1)เศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและการบริการ 2)การจัดตั้งรัฐบาลมีความชัดเจนทำให้นักลงทุนและภาคธุรกิจสามารถคำนวณความเสี่ยงและผลกระทบต่อการดำเนินงาน และ 3)ความคาดหวังต่อมาตรการภาครัฐของรัฐบาลชุดใหม่ที่อาจแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า รวมถึงราคาสินค้าและบริการที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยทอนส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนปรับตัวอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.01รองลงมา คือ การเมือง คิดเป็นร้อยละ 18.02 มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.43 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 7.59 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.21 เศรษฐกิจโลกคิดเป็นร้อยละ 5.95ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็น ร้อยละ 5.91 ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 1.10และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 0.78ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 53.5 มาอยู่ที่ระดับ 54.4 และภาคกลาง จากระดับ 53.4 มาอยู่ที่ระดับ 53.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยการเมือง และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 54.0 มาอยู่ที่ระดับ 54.3 และภาคใต้จากระดับ 51.1 มาอยู่ที่ระดับ 52.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยการเมือง และมาตรการของภาครัฐ
ขณะที่ ภาคเหนือดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากระดับ 53.6 มาอยู่ที่ระดับ 51.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และมาตรการของภาครัฐ
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
พนักงานเอกชน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 52.4 มาอยู่ที่ระดับ 52.5 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
รับจ้างอิสระ จากระดับ 50.6 มาอยู่ที่ระดับ 51.3 พนักงานของรัฐ จากระดับ 57.9 มาอยู่ที่ระดับ 58.3 และไม่ได้ทำงาน จากระดับ 48.9 มาอยู่ที่ระดับ 52.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และมาตรการของภาครัฐ
นักศึกษา จากระดับ 49.5มาอยู่ที่ระดับ 51.6โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และสังคม/ความมั่นคง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เกษตรกร ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากระดับ 52.9 มาอยู่ที่ระดับ 52.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยราคาสินค้าเกษตร และการเมือง
ผู้ประกอบการ จากระดับ 55.7 มาอยู่ที่ระดับ 55.0 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 46.7มาอยู่ที่ระดับ 53.0