ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนตุลาคม 2566 เท่ากับ 107.72(ปีฐาน 2562 =100)
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนตุลาคม2565 (YoY)ลดลง-0.31 2. เดือนกันยายน 2566 (MoM) ลดลง-0.28 3.เฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค. -ต.ค.) ปี 2566
สูงขึ้น1.60 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) Highlights ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนตุลาคม 2566เท่ากับ 107.72 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ -0.31 (YoY)เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 25 เดือน (สิงหาคม 2564 ลดลงร้อยละ -0.02) โดยมีปัจจัยสำคัญจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนของภาครัฐ ส่งผลให้ราคาสินค้าสำคัญลดลง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มพลังงาน (ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันดีเซล) และค่าโดยสารรถไฟฟ้า นอกจากนี้ ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากราคาเนื้อสุกร เครื่องประกอบอาหาร และผักสด เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ราคาผักสดแม้จะต่ำกว่าปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าราคาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม อีกทั้งมีความต้องการในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อลดลง ร้อยละ -0.28 (MoM)และเมื่อเทียบเฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค. -ต.ค.) 2566 สูงขึ้นร้อยละ 1.60 (AoA)
ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.66 (YoY)เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.08 (MoM)และเฉลี่ย 10เดือน (ม.ค. -ต.ค.) 2566 สูงขึ้นร้อยละ 1.41 (AoA)1. เทียบกับเดือนตุลาคม 2565 ลดลงร้อยละ -0.31(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.65 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -7.26 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และไก่สดกลุ่มผักสดร้อยละ -7.54 จากการลดลงของราคาต้นหอม ผักบุ้ง และแตงกวาและกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -1.14จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) และมะขามเปียก ในขณะที่มีสินค้าราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 4.79จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า และขนมอบกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 6.70จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่และนมถั่วเหลือง กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 1.71 จากการสูงขึ้นของราคาแตงโม มะละกอสุก และกล้วยน้ำว้า กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.62 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม และเครื่องดื่มบำรุงกำลังกลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 1.67จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป อาหารว่าง และก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 1.13 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) และอาหารเช้า*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.09 ตามการลดลงของราคาสินค้าในหมวดเคหสถานร้อยละ -0.68 จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาล้างจาน และหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ -0.04 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าโดยสารรถไฟฟ้าในขณะที่มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.09 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องแบบนักเรียนอนุบาล เครื่องแบบนักเรียนมัธยมชายและหญิง หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.27จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน และกระดาษชำระหมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.56จากการสูงขึ้นของราคาอาหารสัตว์เลี้ยง และเครื่องถวายพระ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.07 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ สุรา และเบียร์ และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ 0.13จากการสูงขึ้นของค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และค่าส่งพัสดุ
2. เทียบกับเดือนกันยายน 2566ลดลงร้อยละ -0.28(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.61 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ -0.17จากการลดลงของราคากางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดบุรุษและสตรี และหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ -1.58 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าโดยสารรถไฟฟ้า สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเคหสถานร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยารีดผ้า และเครื่องซักผ้า หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.22 จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน และน้ำยาระงับกลิ่นกาย หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.02 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารสัตว์เลี้ยง และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.46จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ สุรา และไวน์ ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.18 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 1.16 จากการสูงขึ้นของราคาขนมอบ และขนมปังปอนด์ กลุ่มผักสดร้อยละ 5.56 จากการสูงขึ้นของราคาผักคะน้า ผักบุ้ง และผักกาดขาว กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.16 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำหวาน กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 0.33 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป อาหารโทรสั่ง (delivery) และก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 0.06 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -1.10 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร ไก่สด และปลาทู กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ -0.10จากการลดลงของราคาไข่ไก่ นมเปรี้ยว และนมถั่วเหลืองกลุ่มผลไม้สดร้อยละ -2.28 จากการลดลงของราคาส้มเขียวหวาน ลองกอง และฝรั่ง กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ -0.17 จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช ซอสหอยนางรม และน้ำปลา
3. เฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค. -ต.ค.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.60(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลงของสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 3.14 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 3.94 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 7.63 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ และนมถั่วเหลืองกลุ่มผักสดร้อยละ 8.57จากการสูงขึ้นของราคามะนาว ขิง และมะเขือ กลุ่มผลไม้สดร้อยละ 7.90 จากการสูงขึ้นของราคาแตงโม เงาะ และทุเรียนกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.06 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม และน้ำหวาน กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 3.72 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 3.19 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ -1.51 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และเครื่องในหมู และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ -0.30 จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช มะขามเปียก และมะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด)หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.55 จากการสูงขึ้นของสินค้าหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.28จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องแบบนักเรียนอนุบาล เครื่องแบบนักเรียนมัธยมชายและหญิง หมวดเคหสถานร้อยละ1.59 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และค่าเช่าบ้าน หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 1.72 จากการสูงขึ้นของราคาค่าแต่งผมชาย แป้งทาผิวกาย และยาสีฟัน หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 1.02จากการสูงขึ้นของราคาอาหารสัตว์เลี้ยง และเครื่องถวายพระหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.75 จากการสูงขึ้นของราคาเบียร์ สุรา และบุหรี่ และกลุ่มการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.09 จากการสูงขึ้นของค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และค่าส่งพัสดุ ในขณะที่หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ -0.77 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าลดลงในเกือบทุกภูมิภาค ยกเว้นกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่ดัชนีฯ สูงขึ้นโดยอัตราเงินเฟ้อของกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้นร้อยละ 0.30 ในขณะที่ ภาคใต้ ลดลงร้อยละ -0.25 ภาคกลางและภาคเหนือลดลงเท่ากันที่ร้อยละ -0.54และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงร้อยละ -0.72
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ไข่ไก่ และน้ำมันเชื้อเพลิง (ยกเว้นดีเซล) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ เนื้อสุกร น้ำมันพืช ค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันดีเซล
5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายน 2566
แนวโนมอัตราเงินเฟอทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2566 คาดว่าจะปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร (เนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร) และกลุ่มพลังงาน (ไฟฟา น้ามันเชื้อเพลิง) รวมถึงสินค้าอุปโภคที่จาเป็นต่อการครองชีพหลายรายการ และต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ประกอบกับฐานราคาในช่วงเดียวกันของปี 2565 อยู่ระดับสูง มีส่วนทาให้อัตราเงินเฟอมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นจากการท่องเที่ยว การส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสาคัญ ทั้งข้าวเปลือก มันสาปะหลัง และยางพารา ราคาปรับสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกร และค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ในระดับดี รวมทั้ง สถานการณ์อุปทานพลังงานที่ยังตึงตัว จากมาตรการจากัดการผลิตและส่งออกน้ามันของผู้ผลิตรายสาคัญของโลก และความขัดแย้งในต่างประเทศ อาจส่งผลให้เงินเฟอไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์อัตราเงินเฟอทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.0-1.7(ค่ากลางร้อยละ 1.35) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์