ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนตุลาคม 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 7, 2023 13:52 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนตุลาคม 2566 เท่ากับ112.5 (ปี 2558=100)

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA : Classification of Products byActivity)เดือนตุลาคม 2566 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 112.5เทียบกับเดือนตุลาคม 2565 ลดลงร้อยละ 2.3 (YoY)ประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.4 โดยมีกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ โลหะขั้นมูลฐาน (เหล็ก) สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 36.5 จากกลุ่มสินค้าปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ และกลุ่มสินแร่โลหะขณะที่ หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 1.5 เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือก ผลปาล์มสด ยางพารา หัวมันสำปะหลังสด ผลไม้ ไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์จากประมงทะเล

ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing)พบว่า ดัชนีหมวดสินค้าสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ขณะที่หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป) และหมวดสินค้าวัตถุดิบ ลดลงร้อยละ 3.0 และ 15.7 ตามลำดับโดยในห่วงโซ่อุปทานมีสินค้าสำเร็จรูปที่ราคาเคลื่อนไหวตามราคาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต้นน้ำ/กลางน้ำ ประกอบด้วย สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวสารเจ้า/ข้าวนึ่ง/ปลายข้าว และ ข้าวเปลือกเหนียวข้าวสารเหนียวสำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ สุกรมีชีวิต/ไก่มีชีวิต เนื้อสุกร/ไก่สด และ เม็ดพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติก (กระสอบ ถุง บรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ) /แผ่นฟิล์มพลาสติก1. เทียบกับเดือนตุลาคม 2565 (YoY)ลดลงร้อยละ 2.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 36.5 จากการลดลงของราคาสินค้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และสินแร่โลหะ (สังกะสี เหล็ก วุลแฟรม) ซึ่งราคาเคลื่อนไหวในทิศทางที่ลดลงตามราคาตลาดโลก

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 ซึ่งราคาเคลื่อนไหวตามตลาดโลก กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ โซดาไฟ เม็ดพลาสติก และปุ๋ยเคมีผสม เนื่องจากราคาปรับลดลงตามราคาอ้างอิงตลาดต่างประเทศ กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ IntegratedCircuit(IC)หน่วยรับข้อมูล/แสดงผล และแผงวงจรไฟฟ้าเนื่องจากสินค้าบางรุ่นปรับราคาลดลง ก่อนการผลิตรุ่นใหม่ทดแทน รวมทั้งยังมีสินค้าอุตสาหกรรมที่ราคาปรับลดลงตามราคาวัตถุดิบ ประกอบด้วย กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแท่ง ท่อเหล็กกล้า เหล็กลวด เหล็กเส้น เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กรูปตัวซี กลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผ้าฝ้าย ด้ายฝ้าย เส้นใยสังเคราะห์ ผ้าดิบ และด้ายใยสังเคราะห์อคริลิค กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ถุงมือยาง แผ่นฟิล์มพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ และถุงพลาสติก และกลุ่มกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ เยื่อกระดาษ กล่องกระดาษกระดาษคร๊าฟท์ และกระดาษแข็ง

1. เทียบกับเดือนตุลาคม 2565 (YoY)ลดลงร้อยละ 2.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้ (ต่อ)หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว เนื่องจากมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศผู้ค้าข้าวสำคัญประกาศงดการส่งออกข้าว กลุ่มไม้ยืนต้นได้แก่ ผลปาล์มสด และยางพารา เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวจากปีที่แล้ว ส่งผลให้ความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้น หัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง มะนาว และผลไม้ (สับปะรดโรงงาน กล้วยไข่) เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากสภาพอากาศที่แปรปรวนและปริมาณน้ำที่ใช้ในภาคการเกษตรมีน้อย และกลุ่มสัตว์ได้แก่ ไข่ไก่ เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในประเทศและการส่งออกเพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ สัตว์ทะเล (ปลาหมึกกล้วย) เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับสินค้าที่ราคาปรับลดลงประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคปศุสัตว์ลดลง พืชผัก (ต้นหอมผักชี ถั่วฝักยาว) และ ลองกอง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง กลุ่มสัตว์ ได้แก่ สุกรมีชีวิต โคมีชีวิต และไก่มีชีวิต เนื่องจากปริมาณผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจากการนำเข้าและการผลิตของเกษตรกรบางส่วนในประเทศส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มลดลง และผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ กุ้งแวนนาไม เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว 2. เทียบกับเดือนกันยายน 2566 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.6 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์รวมทุกรายการ0.6 คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และหน่วยรับข้อมูล/แสดงผล เนื่องจากเป็นราคาสินค้าส่งออก ราคาจึงเคลื่อนไหวตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่า กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง1.8 ได้แก่ เม็ดพลาสติก เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น และโซดาไฟ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน และน้ำยางข้น เนื่องจากวัตถุดิบที่เป็นผลผลิตผลิตภัณฑ์จากเหมือง5.6

การเกษตรมีปริมาณน้อยในช่วงฤดูฝน กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม0.4 เคลื่อนไหวตามตลาดโลก และเครื่องประดับเทียม เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ น้ำตาลทราย เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามตลาดโลก ประกอบกับผู้ผลิตบางรายชะลอการขาย เนื่องจากสินค้าใกล้หมดสต็อก น้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจากผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดน้อยลง น้ำสับปะรด และสับปะรดกระป๋อง เนื่องจากราคาส่งออกปรับสูงขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว ราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตามราคาข้าวเปลือก มันเส้น เนื่องจากคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ เบียร์ เนื่องจากผู้ผลิตบางรายมีการผลิตเพื่อการส่งออก ราคาจึงปรับสูงขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ ได้แก่ แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป และท่อคอนกรีต เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ได้แก่ ไม้ยางพารา เนื่องจากปริมาณสินค้ามีน้อยในช่วงฤดูฝน และกลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ได้แก่ กางเกงสตรี กางเกงชั้นในบุรุษ ถุงเท้า และกางเกงชั้นในสตรี เนื่องจากราคาส่งออกปรับสูงขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ขณะที่ราคาขายในประเทศยังทรงตัว

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 5.6 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้า ได้แก่น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ แร่ (สังกะสี ดีบุก) และยิปซัม เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 1.8 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ยางพารา เนื่องจากความต้องการของภาคการส่งออกสูงขึ้นจากการที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มฟื้นตัว ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ผลผลิตยางทั่วโลกลดลง มะนาว เนื่องจากราคากลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังผ่านช่วงที่ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากไปแล้ว และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ กุ้งแวนนาไม เนื่องจากความต้องการบริโภคเริ่มฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาปรับลดลง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ความต้องการใช้ในภาคปศุสัตว์ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก พืชผัก (พริกสด) และผลไม้ (ลองกอง) เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น กลุ่มสัตว์ ได้แก่ สุกรมีชีวิต เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่าความต้องการบริโภค ประกอบกับปัญหาสินค้าเถื่อนที่ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศยังคงปรากฏอยู่ในท้องตลาด ส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

3. เฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค. -ต.ค.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 (AoA) ลดลงร้อยละ 2.6

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 2.2 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันเครื่องบิน กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก โซดาไฟ และปุ๋ยเคมีผสม กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน และกลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแท่ง เหล็กแผ่น ท่อเหล็กกล้า และเหล็กเส้น

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 15.5 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และแร่โลหะ (เหล็ก ดีบุก สังกะสี วุลแฟรม)

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยราคาสินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว และหัวมันสำปะหลังสด ส่วนราคาสินค้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ผลปาล์มสด ยางพารา สุกรมีชีวิต และกุ้งแวนนาไมโดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

4. แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนพฤศจิกายน 2566

ดัชนีราคาผู้ผลิตมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสำคัญจากสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ ที่ราคายังคงผันผวนและอยู่ระดับต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปี 2565 ค่อนข้างมาก รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ที่ราคามีแนวโน้มลดลงตามความต้องการของตลาดที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก ประกอบกับราคาเหล็กยังคงมีแนวโน้มลดลง จากอุปทานส่วนเกินเนื่องจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน และมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงานของภาครัฐที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง

อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น อุปทานพลังงานและอาหารโลกที่ยังคงตึงตัว จากสถานการณ์ความขัดแย้งในต่างประเทศ โดยเฉพาะอิสราเอล -กลุ่มฮามาส ที่รุนแรงขึ้น ความต้องการใช้พลังงานที่มากขึ้นในช่วงฤดูหนาวของปี และสถานการณ์ภัยแล้ง รวมถึงฐานราคาในเดือนพฤศจิกายน 2565 เริ่มชะลอตัวลง จะส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ได้

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ