ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 7, 2023 09:47 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ111.3(ปี 2558=100)

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA:Classificationof ProductsbyActivity)เดือนพฤศจิกายน 2566 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 111.3เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 ลดลงร้อยละ 2.1 (YoY)ประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.9โดยมีกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี โลหะขั้นมูลฐาน(เหล็ก) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งทอ รวมทั้งกลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 27.6 จากกลุ่มสินค้าปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ และกลุ่มสินแร่โลหะขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 1.2 เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือก หัวมันสำปะหลังสด ยางพารา ผลไม้ และไข่ไก่

ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing)พบว่า ดัชนีหมวดสินค้าสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ขณะที่หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป) และหมวดสินค้าวัตถุดิบ ลดลงร้อยละ 3.7 และ 11.7 ตามลำดับ โดยในห่วงโซ่อุปทานมีสินค้าสำเร็จรูปที่ราคาเคลื่อนไหวตามราคาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต้นน้ำ/กลางน้ำ ประกอบด้วย สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวสารเจ้า/ข้าวนึ่ง/ปลายข้าว และ ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวสารเหนียวสำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ สุกรมีชีวิต/ไก่มีชีวิต เนื้อสุกร/ไก่สด และ เม็ดพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติก (ถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ) /แผ่นฟิล์มพลาสติก1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 (YoY)ลดลงร้อยละ 2.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 27.6 จากการลดลงของราคาสินค้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และสินแร่โลหะ (สังกะสี เหล็ก) ซึ่งราคาเคลื่อนไหวในทิศทางที่ลดลงตามราคาตลาดโลก ประกอบกับฐานราคาอยู่ระดับสูงมากในปีก่อน

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.9 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญประกอบด้วย

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 27.6 จากการลดลงของราคาสินค้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และสินแร่โลหะ (สังกะสี เหล็ก) ซึ่งราคาเคลื่อนไหวในทิศทางที่ลดลงตามราคาตลาดโลก ประกอบกับฐานราคาอยู่ระดับสูงมากในปีก่อน

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.9 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 น้ำมันก๊าด น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเตา ซึ่งราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เนื่องจากสินค้าบางรุ่นปรับราคาลดลง ก่อนการผลิตรุ่นใหม่ทดแทน กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ โซดาไฟ และเม็ดพลาสติก เนื่องจากราคาปรับลดลงตามราคาอ้างอิงตลาดต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในหลายประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าชะลอตัว และปุ๋ยเคมีผสม เนื่องจากราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศปรับลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ราคาสินค้าปรับลดลงตามราคาวัตถุดิบ ประกอบด้วย กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแท่ง ท่อเหล็กกล้า เหล็กเส้น เหล็กลวด และเหล็กแผ่นรีดเย็น กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ เยื่อกระดาษ กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษคร๊าฟท์ และกระดาษแข็ง และกลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผ้าฝ้าย ด้ายฝ้าย และเส้นใยสังเคราะห์ สำหรับกลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องเก็บเกี่ยว เครื่องยนต์ดีเซลเพื่อการเกษตร และรถแทรกเตอร์การเกษตร ราคาปรับลดลงเนื่องจากผู้ผลิตบางรายปรับลดราคาเพื่อระบายสินค้าในสต็อก

1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 (YoY)ลดลงร้อยละ 2.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้ (ต่อ)หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 1.2

โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้ (ต่อ)หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศผู้ค้าข้าวสำคัญหลายประเทศประกาศงดการส่งออกข้าว ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง หัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น กลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวจากปีที่แล้ว ส่งผลให้ความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้น มะนาว และผลไม้ (สับปะรดโรงงาน) เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากสภาพอากาศที่แปรปรวนและปริมาณน้ำที่ใช้ในภาคการเกษตรมีน้อย และกลุ่มสัตว์ ได้แก่ ไข่ไก่ เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในประเทศและการส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับสินค้าที่ราคาปรับลดลงประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคปศุสัตว์ลดลง กลุ่มสัตว์ ได้แก่ สุกรมีชีวิต โคมีชีวิต และไก่มีชีวิต เนื่องจากปริมาณผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจากการนำเข้าและการผลิตของเกษตรกรบางส่วนในประเทศ ขณะที่ความต้องการบริโภคยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มลดลง และผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ กุ้งแวนนาไม เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ผลผลิตกุ้งโลกล้นตลาด และระดับราคากุ้งโลกที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับความต้องการบริโภคจากภาคครัวเรือนและภาคการท่องเที่ยวยังคงฟื้นตัวช้าเมื่อเทียบกับปีก่อน

2. เทียบกับเดือนตุลาคม 2566 (MoM)ลดลงร้อยละ 1.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 1.3 รวมทุกรายการ-1.1

โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 1.3 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 น้ำมันก๊าด ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และยางมะตอย เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกลดลงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และจีน ประกอบกับตลาดคลายความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางซึ่งอยู่ในขอบเขตจำกัด และยังไม่กระทบต่อประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และหน่วยรับข้อมูล/แสดงผล เนื่องจากเป็นราคาสินค้าส่งออกราคาจึงเคลื่อนไหวตามค่าเงินบาทที่แข็งค่า ประกอบกับมีสินค้าบางรุ่นปรับลดราคา ก่อนจะผลิตรุ่นใหม่ทดแทน กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องเก็บเกี่ยว เครื่องยนต์ดีเซลเพื่อการเกษตร และรถแทรกเตอร์การเกษตร เนื่องจากผู้ผลิตบางรายปรับลดราคาเพื่อระบายสินค้าเก่าในสต็อก กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแผ่น และเหล็กเส้น เนื่องจากความต้องการใช้สินค้าในประเทศลดลง กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ วัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตพลาสติก (โพรพิลีน เบนซีน เอทิลีน ไซลีน) เนื่องจากความต้องการสินค้าชะลอตัว ประกอบกับผู้ผลิตบางรายมีการผลิตเพื่อการส่งออก ราคาจึงปรับลดลงตามค่าเงินบาทที่แข็งค่า ยางสังเคราะห์ และปุ๋ยเคมีผสม เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับลดลง กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ถุงพลาสติก เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับลดลง กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ได้แก่ ไม้ยางพารา เนื่องจากความต้องการของตลาดส่งออกลดลง โดยเฉพาะจีนที่ชะลอการผลิตสินค้าจากไม้ยางพารา สำหรับกลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผ้าดิบ ผ้าใยสังเคราะห์ และผ้าฝ้าย และกลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ได้แก่ กางเกงสตรี กางเกงชั้นในบุรุษ ถุงเท้า และกางเกงชั้นในสตรี เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออก ราคาจึงปรับลดลงตามค่าเงินบาทที่แข็งค่า

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว เนื่องจากเข้าสู่ช่วงต้นฤดูกาลเกี่ยวข้าวนาปี ทำให้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับบางพื้นที่เพาะปลูกมีฝนตก ส่งผลให้ข้าวเปลือกมีความชื้นสูง ราคารับซื้อจึงลดลงตามคุณภาพ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ขณะที่ความต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศปรับลดลงจากการที่ผู้ประกอบการเพิ่มการนำเข้าข้าวสาลีซึ่งในช่วงนี้มีราคาลดลง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ มะนาว เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบปลายปี กลุ่มสัตว์ ได้แก่ สุกรมีชีวิต เนื่องจากต้นทุนอาหารสัตว์มีราคาถูกลง ประกอบกับความต้องการบริโภคยังคงมีจำกัด ส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มยังคงต้องปรับลดลงอย่างต่อเนื่องเพื่อแข่งขันกับสินค้าเถื่อนลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศที่ยังคงปรากฏอยู่ในท้องตลาด

2. เทียบกับเดือนตุลาคม 2566 (MoM)ลดลงร้อยละ 1.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้ (ต่อ)สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาปรับสูงขึ้น ได้แก่ หัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากผลผลิตฤดูกาลใหม่เริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ปริมาณยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น กลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากปริมาณยางออกสู่ตลาดไม่มากนักจากแหล่งผลิตสำคัญในภาคใต้ที่ยังมีฝนตกหนัก ประกอบกับความต้องการของภาคการส่งออกสูงขึ้นจากการที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มฟื้นตัว ผลปาล์มสด เนื่องจากผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดลดลงตามฤดูกาลผลิต ขณะที่ช่วงปลายปีมีความต้องการพืชน้ำมันจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยวสูง ส่งผลให้โรงงานรับซื้อในราคาที่เพิ่มขึ้น พืชผัก (ต้นหอม ผักคะน้า ผักขึ้นฉ่าย) และผลไม้ (สับปะรดโรงงาน) เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำที่มีไว้ใช้สำหรับภาคการเกษตรมีน้อย และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ กุ้งแวนนาไม เนื่องจากปริมาณผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนก่อนในช่วงฤดูฝน-หนาว ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงทรงตัว

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ยิปซัม โดโลไมต์ และแร่สังกะสี เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น 3. เฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค. -พ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 (AoA) ลดลงร้อยละ 2.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 2.1 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 รวมทุกรายการ-2.5

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันเครื่องบิน กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง0.1 กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง น้ำยางข้นและยางแผ่นรมควัน และกลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแท่งผลิตภัณฑ์จากเหมือง-16.7 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 16.7 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติเหลว และน้ำมันปิโตรเลียมดิบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม-2.1

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 0.1 โดยราคาสินค้าสำคัญที่สูงขึ้น ประกอบด้วย ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว และมะนาว ส่วนราคาสินค้าสำคัญที่ลดลง ประกอบด้วย ผลปาล์มสด ยางพารา สุกรมีชีวิต และกุ้งแวนนาไม4. แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนธันวาคม 2566

120.0

ดัชนีราคาผู้ผลิตมีแนวโน้มที่จะทรงตัวหรืออาจจะลดลงเล็กน้อย เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์จากเหมือง ยังคงมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ และสินแร่โลหะ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ประกอบกับราคาเหล็กยังคงลดลงตามอุปสงค์ในตลาดโลก โดยเฉพาะจีนที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัว ขณะที่ราคาสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวเปลือกมันสำปะหลัง ยางพารา และผลไม้ ยังคงสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนี ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาในตลาดโลก และอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี

อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการผลิตที่อยู่ในระดับสูง อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าจ้างแรงงาน และอัตราดอกเบี้ย รวมไปถึงอุปทานพลังงานและอาหารโลกที่ยังคงตึงตัว จากความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ในหลายพื้นที่ และสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ประกอบกับความต้องการใช้พลังงานที่มากขึ้นในช่วงฤดูหนาวและเทศกาลปลายปี และฐานการคำนวณเดือนธันวาคม 2566 ที่ไม่สูงมากนัก จะเป็นปัจจัยผลักดันให้ดัชนีราคาผู้ผลิตอยู่ในระดับทรงตัว ซึ่งจะต้องมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ