ดัชนีราคาส่งออก เดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 109.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 1.3 (YoY) สาเหตุหลักเป็นผลจากอุปสงค์โลกชะลอตัว โดยเฉพาะความต้องการใช้สินค้าเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มลดลง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรยังขยายตัวดี จากภาวะอุปทานตึงตัว และส่งผลให้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 8.9 ได้แก่ ข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากอินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ยังคงมาตรการจำกัดการส่งออก ประกอบกับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ปริมาณข้าวโลกลดลง ขณะที่ความต้องการของตลาดยังมีอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามปริมาณผลผลิตในตลาดที่น้อยลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยธรรมชาติ รวมถึงการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังและศัตรูพืช ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ตามความต้องการจากจีนเพิ่มขึ้น และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในฤดูหนาวทั่วยุโรป และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ น้ำตาลทราย ตามอุปทานน้ำตาลโลกที่ตึงตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยธรรมชาติ สำหรับอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ประกอบการผลิตเพิ่มขึ้น และความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตามความต้องการสินค้าเทคโนโลยีรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น สำหรับทองคำ ได้รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 7.5 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เนื่องจากตลาดมีความกังวลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ดัชนีราคานำเข้า เดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 110.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 0.6 (YoY) ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ลดลง เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดภูมิภาคเอเชียและยุโรปที่ชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดจีนมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ประกอบการผลิตและบริโภคขยายตัวดี โดยหมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง หดตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 9.5 จากเดือนตุลาคม 2566 ที่หดตัวร้อยละ 7.4 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันตลาดโลกลดลง สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคายังคงต่ำกว่าปี 2565 ตามปริมาณการสำรองก๊าซที่อยู่ในระดับสูง แต่มีทิศทางติดลบในอัตราน้อยลง และหมวดสินค้าทุน ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน แต่หดตัวในอัตราน้อยลง ที่ร้อยละ 0.5 จากเดือนตุลาคม 2566 ที่หดตัวร้อยละ 0.8 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามทิศทางตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว เนื่องจากได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ขณะที่เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ได้รับปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการสินค้าเพื่อการลงทุนลดลง ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.8 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการสินค้าเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับทองคำ ราคายังทรงตัวสูงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก และรถยนต์นั่ง ตามทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัวดีขึ้น และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.6 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้น
แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า เดือนธันวาคม 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มทรงตัว หรือขยายตัวเล็กน้อย ตามราคาสินค้าเกษตรและอาหารที่เพิ่มขึ้นจากภาวะเอลนีโญ ประกอบกับประเทศผู้ส่งออกน้ำมันยังคงดำเนินนโยบายการปรับลดกำลังการผลิต สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ และรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ รวมถึงเหตุการณ์โจมตีเรือพาณิชย์ในทะเลแดง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งน้ำมัน ธัญพืช และสินค้าอุปโภคบริโภค และทำให้ต้นทุนสินค้าปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อดัชนีราคาส่งออก - นำเข้าลดลง ได้แก่ 1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน 2) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย อาจส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนโลก 3) ประเทศเศรษฐกิจหลักยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด 4) ราคาน้ำมัน โดยเฉลี่ยยังต่ำกว่าปี 2565 และ5) ความผันผวนของค่าเงินบาทอัตราการค้า (Term of Trade) เดือนพฤศจิกายน 2566
อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 98.6 (เดือนตุลาคม 2566 เท่ากับ 97.9) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 23 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก เป็นผลจากราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก สำหรับแนวโน้มอัตราการค้า เดือนธันวาคม 2566 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 เนื่องจากราคาน้ำมันนำเข้ายังอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาส่งออก
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 7.0 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ ยางพารา ราคาสูงขึ้นจากความต้องการยางพาราโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์สำคัญของโลก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีปัจจัยสนับสนุนจากการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างภาคเอกชนไทยกับบริษัท China Oil and Foodstuffs Corporation : COFCO ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน เพื่อทำการซื้อขาย0.5
มันสำปะหลังเส้น ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ได้รับอานิสงส์จากการระบาดของไข้หวัดนกในฤดูหนาวทั่วยุโรปทำให้อุปทานตึงตัว และกุ้ง ราคาสูงขึ้นจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับ0.1
การบริโภคในช่วงเทศกาลสิ้นปี หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคาสูงขึ้นเนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ในสหรัฐฯ และยุโรปเพิ่มขึ้น ท่ามกลางสินค้า0.2
คงคลังที่อยู่ในระดับต่ำ ทองคำ ตามความต้องการเพิ่มขึ้น เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง รวมถึงการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ราคาสูงขึ้นสอดคล้องกับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ที่สูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่ น้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นตามอุปทานที่ตึงตัวจากฝนตกหนักในยุโรป และบราซิลตอนเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ทำให้การเก็บเกี่ยวล่าช้า และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ราคาสูงขึ้นเพราะความต้องการจากจีนเพิ่มขึ้น
2. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 1.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 8.9 ได้แก่ ข้าว เนื่องจากมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวของอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก รวมถึงภาวะเอลนีโญทำให้เกิดภัยแล้งในพื้นที่เพาะปลูกข้าวหลายแห่งในเอเชีย ขณะที่อุปสงค์ข้าวไทยจากบราซิลและฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จากความต้องการของผู้ประกอบการในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ เอทานอล แอลกอฮอล์ อาหาร และอาหารสัตว์ สำหรับยางพารา ราคาสูงขึ้นตามยอดขายรถยนต์ในภูมิภาคและประเทศคู่ค้าที่เติบโต อาทิ ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ น้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นตามอุปทานน้ำตาลโลกที่ตึงตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เพาะปลูกสำคัญ อาทิ อเมริกาใต้ และเอเชีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเก็บเกี่ยว และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เนื่องจากอุปทานตึงตัวจากภาวะเอลนีโญโดยเฉพาะปริมาณปลาทูน่าลดลง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคาสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการรถยนต์สำเร็จรูปเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง HEV (รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด) ทองคำ จากความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น และเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดนำเข้าขนาดใหญ่ มีความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กเพิ่มขึ้น จากการพัฒนาเทคโนโลยีและInternet of Things (IoT) ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 7.5 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ราคาลดลงเนื่องจากอุปสงค์โลกชะลอตัว ประกอบกับสหรัฐฯ และเวเนซุเอลาผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น หลังสหรัฐฯ ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรด้านพลังงานต่อเวเนซุเอลา โดยอนุญาตให้เวเนซุเอลาสามารถผลิตและส่งออกน้ำมัน โดยไม่มีข้อจำกัดเป็นเวลา 6 เดือน รวมถึงความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ยังไม่ขยายวงกว้างสู่ระดับภูมิภาค จึงไม่กระทบต่อเส้นทางขนส่งน้ำมันเท่าที่ควร
3. เฉลี่ย(ม.ค. - พ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 1.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.9 ได้แก่ ข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการนำเข้าเพื่อรักษาความมั่นคงด้านอาหารในประเทศผู้นำเข้าเพิ่มขึ้น อาทิ อินโดนีเซีย บังกลาเทศ จีน เอธิโอเปีย และอิหร่าน อีกทั้งคาดการณ์ว่าอินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก จะยังคงบังคับใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีส่งออกข้าว กำหนดราคาขั้นต่ำ และไม่ส่งออกข้าวบางประเภท ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงจากปัญหาโรคระบาดใบด่างและศัตรูพืชในไทย ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของโลก สวนทางกับความต้องการนำไปแปรรูปและเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 3.3 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามความต้องการอาหารทะเลที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง น้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นเนื่องจากอุปทานน้ำตาลโลกตึงตัวจากภาวะเอลนีโญ ทำให้บราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่เผชิญทั้งปัญหาภัยแล้งและฝนตกหนัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเก็บเกี่ยวอ้อยเข้าโรงงาน ประกอบกับอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลกได้ขยายเวลาจำกัดการส่งออกน้ำตาลโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของเดือนตุลาคม 2566 และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ตามความต้องการอาหารประเภทออร์แกนิกและพรีเมียมเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.0 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากความต้องการรถยนต์รุ่นใหม่ในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับปกติ ประกอบกับบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์หลายแห่งเพิ่งเริ่มวางแผนขยายการผลิต ทำให้อุปทานยังไม่สูงมาก ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง หดตัวร้อยละ 6.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ จากการส่งออกน้ำมันดิบของรัสเซีย อิรัก และอิหร่านที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในสหรัฐฯ และจีน ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน โดยจีนนำเข้าน้ำมันดิบลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
6. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนธันวาคม 2566
แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนธันวาคม 2566 คาดว่าจะทรงตัวหรือขยายตัวเล็กน้อย ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูง จากผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และการไม่มีสัญญาณชัดเจนในการฟื้นข้อตกลงกรณีรัสเซียให้ยูเครนขนส่งธัญพืชผ่านทะเลดำ ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก ประกอบกับความกังวลด้านต้นทุนพลังงานจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ รวมถึงความขัดแย้งในทะเลแดงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งทางเรือของโลก โดยอาจทำให้ค่าระวางเรือและต้นทุนสินค้าอุปโภคบริโภคปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจาก (1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ และจีน (2) สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่อาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งระดับภูมิภาค รวมถึงการแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (3) ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ส่งผลให้ความต้องการสินค้าปรับตัวลดลง และ (4) ความผันผวนของค่าเงินบาท อาจทำให้ดัชนีราคาส่งออกขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์
ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2566 1. เทียบกับเดือนตุลาคม 2566 (MoM) ลดลงร้อยละ 1.0 โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 6.2 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ผลจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐฯ และจีนมีแนวโน้มชะลอตัวจากภาคการผลิตและการจ้างงาน ส่งผลให้ต้องการใช้มีแนวโน้มลดลง สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน เนื่องจากปริมาณสำรองก๊าซและถ่านหินยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าปกติ ส่งผลให้ความต้องการใช้ในภาคพลังงานลดลง ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ราคาสูงขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ตามความต้องการสินค้าสำเร็จรูปรุ่นใหม่ที่ทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับปุ๋ย ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณปุ๋ยที่มีมากขึ้น และราคาในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ผัก และผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ตามความต้องการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้น
2. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 (YoY) ลดลงร้อยละ 0.6 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 9.5 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มลดลงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว นอกจากนี้ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ราคาลดลงตามปริมาณการสำรองก๊าซและถ่านหินที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับสภาพอากาศในฤดูหนาวที่อบอุ่นกว่าปกติ และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.5 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นผลจากคำสั่งซื้อที่มีปริมาณลดลง ประกอบกับสินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับสูง สำหรับเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ปรับตัวลดลงจากการชะลอตัวของภาคการผลิตและภาคบริการ ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.8 ได้แก่ ทองคำ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก ส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ได้รับปัจจัยหนุนจากสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก รวมถึงเคมีภัณฑ์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการสินค้าเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น และตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เป็นผลจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ประกอบกับหลายประเทศทั่วโลกสนับสนุนให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.6 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ และสบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากกระแสการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันที่กำลังแพร่หลาย เนื่องจากความต้องการบริโภคยาและเวชภัณฑ์ของคนไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
3. เฉลี่ย(ม.ค. - พ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 (AoA) ลดลงร้อยละ 0.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 11.0 ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ตามความต้องการใช้ที่ปรับตัวลดลง จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ขณะที่หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ ทองคำ ราคายังทรงตัวสูง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลจากการลงทุนในภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น สำหรับพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในการบริโภคเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ตามความต้องการสินค้าเพื่อใช้รักษาการเจ็บป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย และการเกิดโรคอุบัติใหม่ รวมถึงการเติบโตของตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก และรถยนต์นั่ง เป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัว ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย รวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนการใช้พลังงานต่ำและช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการทดสอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ราคาปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์
6. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนธันวาคม 2566 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนธันวาคม 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มทรงตัว หรือขยายตัวเล็กน้อย ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศที่อาจปรับตัวสูงขึ้น จากการที่รัสเซียยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชยูเครนผ่านทะเลดำ ภาวะเอลนีโญที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดลดลง และแนวโน้มราคาพลังงานที่อาจปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจจีนที่ประสบปัญหาการชะลอตัวและเงินฝืด ความกังวลด้านข้อพิพาทระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งในทะเลแดงที่ทำให้เส้นทางขนส่งทางเรือมีระยะทางมากขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อต้นทุนสินค้า จนอาจนำไปสู่ภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก และการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ รวมถึงราคาน้ำมันโดยเฉลี่ยยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปี 2565 อาจส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์
อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 98.6 (เดือนตุลาคม 2566 เท่ากับ 97.9) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 23 ติดต่อกัน สะท้อนถึงไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก
อัตราการค้าของไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 98.6 (เดือนตุลาคม 2566 เท่ากับ 97.9) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 23 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก สาเหตุหลักเป็นผลจากราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิต เช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิต เช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น
ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ ทองคำ น้ำมันสำเร็จรูป ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และนมและผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเสื้อผ้าแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้นแนวโน้มอัตราการค้า เดือนธันวาคม 2566 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 เนื่องจากราคาน้ำมันนำเข้ายังอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาส่งออก