การปรับลดครั้งแรกในรอบ 4 เดือน แต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) สำหรับดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 46.3จาก 47.0 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลด มาอยู่ที่ระดับ 60.9จาก 61.6สาเหตุการปรับลดมาจาก.1)เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ 2)การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ส่งผลกระทบต่อประชาชนให้มีภาระหนี้สินมากขึ้น 3)สินค้าเกษตรบางรายการราคาลดลง อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปีคาดว่าจะส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องปรับตัวดีขึ้น การส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง และมาตรการช่วยเหลือด้านหนี้สินจะส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคพบว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.12รองลงมา คือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 14.93.ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 11.48 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.79 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 7.06 การเมือง คิดเป็นร้อยละ 6.14 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 5.78..อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 1.45..และภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 1.24ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.9 มาอยู่ที่ระดับ57.4โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคง และมาตรการของภาครัฐ ภาคกลาง จากระดับ 55.3มาอยู่ที่ระดับ 55.7และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 56.30 มาอยู่ที่ระดับ 57.0 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยมาตรการของภาครัฐ และราคาสินค้าเกษตร
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาคเหนือจากระดับ 57.3 มาอยู่ที่ระดับ 53.4 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และราคาสินค้าเกษตร และภาคใต้จากระดับ53.1มาอยู่ที่ระดับ 51.8โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตรและเศรษฐกิจโลก
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ พนักงานเอกชน จากระดับ 53.4 มาอยู่ที่ระดับ 54.2 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และสังคม/ความมั่นคง ผู้ประกอบการ จากระดับ 57.0 มาอยู่ที่ระดับ 57.4โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยมาตรการของภาครัฐ และราคาสินค้าเกษตร รับจ้างอิสระ จากระดับ 52.6 มาอยู่ที่ระดับ 52.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ได้ทำงาน จากระดับ 52.4มาอยู่ที่ระดับ 52.8โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย การเมือง และมาตรการของภาครัฐ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เกษตรกร จากระดับ 58.1 มาอยู่ที่ระดับ 54.1 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และมาตรการของภาครัฐ พนักงานของรัฐ จากระดับ 60.5 มาอยู่ที่ระดับ 59.3 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยมาตรการของภาครัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง นักศึกษา จากระดับ 54.4 มาอยู่ที่ระดับ 52.5 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยสังคม/ความมั่นคงและการเมือง
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 52.9มาอยู่ที่ระดับ55.1 ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์