ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์2567 เท่ากับ 107.22(ปีฐาน 2562 =100)
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนกุมภาพันธ์2566 (YoY)ลดลง-0.77 2. เดือนมกราคม 2567 (MoM) สูงขึ้น0.22 3.เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. -ก.พ.) ปี 2567
ลดลง-0.94 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) Highlights ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เท่ากับ 107.22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ -0.77 (YoY)เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 แต่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (มกราคม 2567 ลดลงร้อยละ -1.11) โดยมีปัจจัยสำคัญจากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสุกรและผักสด เนื่องจากอุปทานในตลาดเพิ่มขึ้น และกลุ่มพลังงาน ตามการลดลงของราคาน้ำมันดีเซลและค่ากระแสไฟฟ้า จากนโยบายช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 0.22 (MoM) จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ผลไม้สด เนื่องจากความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลก และราคาค่าบริการ อาทิ ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าห้องพักโรงแรม และค่าบริการล้างรถ เป็นต้น และเมื่อเทียบเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. -ก.พ.) 2567 ลดลงร้อยละ -0.94 (AoA)
ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.43 (YoY)เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.02 (MoM)และเมื่อเทียบเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. -ก.พ.) 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.47 (AoA)1. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ลดลงร้อยละ -0.77(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.97 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ -6.44 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู และกลุ่มผักสดลดลงร้อยละ -6.99 จากการลดลงของราคามะนาว แตงกวา และผักกาดขาว ในขณะที่มีสินค้าราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 4.39 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียวและขนมอบ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 2.88 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมถั่วเหลือง และครีมเทียม กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 2.32 จากการสูงขึ้นของราคาแตงโม กล้วยหอม และมะม่วง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.36 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทรายกะทิสำเร็จรูป และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.68 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) และกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.87 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และอาหารว่าง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.60 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.63 ตามการลดลงของราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.23 จากการลดลงของราคาเสื้อยืดบุรุษและสตรี หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ -0.80จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาล้างห้องน้ำ และหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ -1.16จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ ในขณะที่มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.91 จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย น้ำยาระงับกลิ่นกาย และยาสีฟัน หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.52จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระ และค่าทัศนาจรต่างประเทศ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.17 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ สุรา และไวน์ และกลุ่มการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.15จากการสูงขึ้นของค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต
*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.60 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.05 จากการสูงขึ้นของน้ำยาระงับกลิ่นกาย โฟมล้างหน้า และยาสีฟัน หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 1.53 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าโดยสารเครื่องบิน และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.38 จากการสูงขึ้นของราคาสุรา เบียร์ และไวน์ สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.05 จากการลดลงของราคาเสื้อยืดบุรุษ และกางเกงขายาวบุรุษ หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ -0.02 จากการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ และน้ำยาปรับผ้านุ่ม สำหรับหมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯและกลุ่มการสื่อสารราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.33 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ -0.38 จากการลดลงของราคาไก่ย่าง เนื้อสุกร และปลาหมึกกล้วย กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ -1.65 จากการลดลงของราคาไข่ไก่ นมผง และนมเปรี้ยวและกลุ่มผักสดลดลงร้อยละ -4.08 จากการลดลงของราคาพริกสด มะเขือเทศ และผักกาดขาว สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 0.67 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ขนมปังปอนด์ และขนมจีน กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 1.77 จากการสูงขึ้นของราคาส้มเขียวหวาน องุ่น และแตงโม กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทราย น้ำพริกแกง และกะทิสำเร็จรูป กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.07 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำหวาน น้ำดื่มบริสุทธิ์ และกาแฟผงสำเร็จรูป และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.04 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับกลุ่มอาหารบริโภคในบ้านราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
3. เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. -ก.พ.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ -0.94(AoA)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -1.02 จากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ -6.50 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ -7.23จากการลดลงของราคามะนาว แตงกวา และมะเขือ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 3.92 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 3.86 จากการสูงขึ้นของราคานมถั่วเหลือง และนมเปรี้ยว กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 0.87 จากการสูงขึ้นของราคาทุเรียน กล้วยหอม และแตงโม กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.24 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.87 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) และกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.03 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และอาหารว่าง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.70จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.88 จากการลดลงของสินค้าหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.16 จากการลดลงของราคาเสื้อยืดบุรุษและสตรี หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ-0.77 จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่ม และหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ -1.84 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าและบริการที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.92 จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย น้ำยาระงับกลิ่นกาย และยาสีฟัน หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.55จากการสูงขึ้นของราคาอาหารสัตว์เลี้ยง และเครื่องถวายพระ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.06จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ สุรา และไวน์ และกลุ่มการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.15 จากการสูงขึ้นของค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ เนื้อสุกร น้ำมันพืช ค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันดีเซล สำหรับสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์และข้าวสารเจ้า5. แนวโน้มอัตราเงินเดือนมีนาคม ปี 2567
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมปี 2567
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมปี 2567 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) มาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงาน โดยการตรึงราคาค่ากระแสไฟฟ้าที่ 3.99 บาทต่อหน่วย สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน และที่ 4.18 บาทต่อหน่วย สำหรับครัวเรือนทั่วไป รวมทั้งมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 (2) ฐานราคาที่สูงในปีก่อนหน้าของเนื้อสุกรและผักสด และ (3) เศรษฐกิจของไทยขยายตัวในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (2) เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลให้การนำเข้าสินค้ามีราคาสูงขึ้น (3) สภาพอากาศที่มีความแปรปรวนในช่วงท้ายของปรากฏการณ์เอลนีโญ รวมทั้งการเข้าสู่ฤดูร้อนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนและปริมาณผลผลิตทางการเกษตร และ (4) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้อุปสงค์และราคาสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาค่าโดยสารเครื่องบิน
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี2567อยู่ระหว่างร้อยละ(-0.3)-1.7(ค่ากลางร้อยละ0.7)ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์