ดัชนีราคาส่งออกเดือนมกราคม 2567เท่ากับ 109.8 ดัชนีราคานำเข้าเดือนมกราคม 2567เท่ากับ 110.4 เมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละเมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนมกราคม 2566 (YoY)สูงขึ้น1.0 1. เดือนมกราคม 2566 (YoY)ลดลง1.8 2. เดือนธันวาคม 2566 (MoM) สูงขึ้น0.3 2. เดือนธันวาคม 2566 (MoM) สูงขึ้น0.2 Highlights
ดัชนีราคาส่งออก เดือนมกราคม 2567 เท่ากับ 109.8เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นในอัตราชะลอลง ที่ร้อยละ 1.0 (YoY)สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงของเดือนมกราคม 2566 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และความต้องการของตลาดในหลายสินค้าอุตสาหกรรมยังขยายตัวดี ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น โดยหมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 7.4 ได้แก่ ข้าว เนื่องจากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง ประกอบกับอินเดียยังมีนโยบายจำกัดการส่งออกข้าว ทำให้ประเทศคู่ค้ามีคำสั่งซื้อข้าวจากไทยอย่างต่อเนื่อง ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ตามความต้องการจากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงจากผลกระทบของภัยแล้ง รวมถึงการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังและศัตรูพืช ขณะที่ความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งอุตสาหกรรมอาหารและเอทานอลยังขยายตัว หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.3 ได้แก่ น้ำตาลทราย ราคายังทรงตัวสูงตามปริมาณผลผลิตของอินเดียที่ลดลง สำหรับอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนราคาวัตถุดิบที่ใช้ประกอบการผลิต และความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึงความต้องการสินค้าเพื่อใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในหลายประเทศ สำหรับทองคำ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ และการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง หดตัวในอัตราน้อยลง ที่ร้อยละ 7.1 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้น จากความกังวลต่ออุปทานน้ำมันที่ตึงตัว
ดัชนีราคานำเข้า เดือนมกราคม 2567 เท่ากับ 110.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 1.8 (YoY) จากฐานสูงของเดือนมกราคม 2566 รวมถึงราคาสินค้าเชื้อเพลิงบางประเภทที่ลดลงต่อเนื่อง อาทิ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามปริมาณการสำรองก๊าซที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ความต้องการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพื่อใช้ประกอบการผลิตและการบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศยังขยายตัวดี โดยหมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 11.2 ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามปริมาณการสำรองก๊าซที่ยังเพียงพอต่อความต้องการ และน้ำมันดิบ ราคาลดลงจากฐานสูงของเดือนเดียวกันในปีก่อน และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 1.1 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการสินค้าเพื่อการลงทุนลดลง ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวน้อยลง ตามทิศทางตลาดคอมพิวเตอร์ที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว ประกอบกับสถานการณ์การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลาย อย่างไรก็ตาม หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน และเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ตามความต้องการสินค้าใช้ในการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และรองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ ตามความต้องการสินค้าเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับทองคำ ราคายังทรงตัวสูงตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก และรถยนต์นั่งประเภทยานยนต์ไฟฟ้า ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะความต้องการยานยนต์ไฟฟ้า
แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ 2567 คาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ทิศทางการค้าโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น 2) ราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับสูงจากผลกระทบภาวะเอลนีโญ 3) ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น และส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องปรับสูงขึ้นตาม และ 4) สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่ยืดเยื้อ และนำไปสู่เหตุการณ์ความไม่สงบในทะเลแดง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งทางเรือของโลก ทำให้ค่าระวางเรือและต้นทุนสินค้าปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ 1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าอาจช้ากว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน 2) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย อาจส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนโลก 3) อัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศยังทรงตัวในระดับสูง และ 4) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนมกราคม 2567
อัตราการค้าของไทย ในเดือนมกราคม 2567 เท่ากับ 99.5 (เดือนธันวาคม 2566 เท่ากับ 99.4) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย และปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 25 ติดต่อกัน สะท้อนถึงไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก เป็นผลจากราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก สำหรับแนวโน้มอัตราการค้า เดือนกุมภาพันธ์ 2567 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ตามทิศทางราคาน้ำมันนำเข้าที่อยู่ในระดับสูงกว่าราคาส่งออก
1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2566 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.3โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 3.3 ได้แก่น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามความกังวลเกี่ยวกับอุปทานตึงตัว เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในรัฐ NorthDakotaซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันขนาดใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐฯ ส่งผลให้การผลิตน้ำมันดิบราวร้อยละ 20 ของกำลังการผลิตรวมยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการตามปกติ หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ ยางพารา ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี ทำให้ไม่สามารถกรีดยางได้ ข้าว เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง ประกอบกับไทยมีการเจรจาข้อตกลงการทำสัญญาซื้อขายข้าวกับอินโดนีเซียราว 2 ล้านตัน และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความนิยมของผู้บริโภคจีน หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่น้ำตาลทราย เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลโลกมีแนวโน้มลดลง จากการเข้าสู่ภาวะเอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรลดลง อาหารทะเลกระป๋อง ตามอุปทานสัตว์น้ำที่ลดลงจากภาวะเอลนีโญ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้ำทะเล และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ที่ได้รับอานิสงส์จากความต้องการซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงของผู้บริโภคที่มีความหลากหลายขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรอบใหม่ในปี 2567 ประกอบกับยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) โลก ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนจากความต้องการชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI)เพิ่มขึ้น และทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง2.เทียบกับเดือนมกราคม 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 1.0โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 7.4 ได้แก่ข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากอินเดียยังคงระงับการส่งออกข้าวขาวบางชนิด ประกอบกับสูงขึ้นร้อยละ 7.4 ได้แก่ข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากอินเดียยังคงระงับการส่งออกข้าวขาวบางชนิด ประกอบกับความต้องการใช้ปลายข้าวไปผลิตอาหารสัตว์เพื่อทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และธัญพืชที่ลดลงจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง จากการที่ไทยได้รับอานิสงส์การยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าจากจีน และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลง และได้แรงหนุนจากการทำ MOUซื้อขายมันสำปะหลังระหว่างผู้ประกอบการ 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น ลาว และไทย รวมมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท รวมถึงความต้องการจากจีนเพื่อไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ ยา เครื่องสำอาง อาหาร กระดาษ สารให้ความหวาน และสิ่งทอ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.3 ได้แก่ น้ำตาลทราย เนื่องจากบราซิลและอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีแนวโน้มส่งออกลดลง เนื่องจากมีการนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลตามนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการใช้เอทานอล รวมถึงแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น ส่งผลให้โรงงานน้ำตาลทั่วโลกมีความต้องการนำอ้อยไปผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น อาหารทะเลกระป๋อง ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์สูงขึ้นจากผลกระทบของสงครามในภูมิภาคตะวันออกกลาง และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ที่ความต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นทั่วโลก อาทิ แบตเตอรี่และระบบการจัดการแบตเตอรี่ และมอเตอร์ไฟฟ้าแบบลากจูง ตลอดจนความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศเพื่อนบ้านของไทย ทองคำ จากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ เครื่องใช้ไฟฟ้า จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย และเวียดนาม ที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและรองรับสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในหลายประเทศ และเม็ดพลาสติก โดยเฉพาะโพลิเอทิลีน ที่มีความต้องการสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้นก่อนเทศกาลตรุษจีน และโพลิโพรพิลีน ที่มีความต้องการในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 7.1 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เนื่องจากฐานราคาในเดือนมกราคม 2566 อยู่ในระดับสูง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอตัว ทำให้ความต้องการชะลอลง3. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2567 แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2567 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูง จากผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และการไม่มีสัญญาณชัดเจนในการฟื้นข้อตกลงกรณีรัสเซียให้ยูเครนขนส่งธัญพืชผ่านทะเลดำ ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก ประกอบกับความกังวลด้านต้นทุนพลังงานจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ รวมถึงความขัดแย้งในทะเลแดงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งทางเรือของโลก โดยอาจทำให้ค่าระวางเรือและต้นทุนสินค้าอุปโภคบริโภคปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ วัฏจักรการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมคาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มเติบโตตามอุปสงค์การใช้ปัญญาประดิษฐ์(AI)อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจาก (1) การฟื้นตัวที่ช้าของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างจีนที่ยังเผชิญวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ (2) สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่อาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งระดับภูมิภาค จนนำไปสู่การเข้าร่วมสงครามของอิหร่าน ที่จะสร้างแรงกดดันต่อเส้นทางการค้าในช่องแคบฮอร์มุซ และอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (3) ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ส่งผลให้ความต้องการสินค้าปรับตัวลดลง และ (4) ความผันผวนของค่าเงินบาท อาจทำให้ดัชนีราคาส่งออกขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์
ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนมกราคม 2567 1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2566 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.2โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้น ประกอบกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบตามความต้องการอุปกรณ์แบบพกพาและคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งในภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เนื่องจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้ความต้องการใช้รถเพื่อการเดินทางเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่เคมีภัณฑ์ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทองคำ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก ส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ราคาปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาตลาดโลก และความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐเพิ่มขึ้นอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ตามความต้องการสินค้าสำเร็จรูปรุ่นใหม่ที่ทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นสำหรับปุ๋ย ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณปุ๋ยที่มีมากขึ้น และราคาตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลงคือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 0.3 โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม จากฐานสูงในปีก่อนหน้า ประกอบกับปริมาณการสำรองก๊าซยังอยู่ในระดับสูง และเพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตาม น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ราคาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นในสหรัฐ ฯ ทำให้มีการปิดแหล่งผลิตน้ำมันบางแห่ง ส่งผลให้การผลิตน้ำมันดิบปรับลดลง ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่งผลต่ออุปทานน้ำมันตลาดโลกตึงตัว2. เทียบกับเดือนมกราคม 2566 (YoY)ลดลงร้อยละ 1.8โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 11.2 ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคาลดลงตามปริมาณการสำรองที่ยังอยู่ในระดับสูง สำหรับน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามราคาน้ำมันที่ทรงตัวสูงในปีก่อนหน้า ประกอบกับความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มลดลงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 1.1 ได้แก่เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ปรับตัวลดลงจากการชะลอตัวของภาคการผลิตและภาคบริการ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวน้อยลงตามทิศทางตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว เนื่องจากได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ กาแฟ ชา เครื่องเทศ เครื่องประดับอัญมณี เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ได้รับปัจจัยหนุนจากสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก ทองคำ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก ส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตและบริโภคเพิ่มขึ้น และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก รถยนต์นั่ง จากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ภาคการผลิต การท่องเที่ยว และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบสาธารณะ และส่วนบุคคลมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ประกอบกับหลายประเทศทั่วโลกสนับสนุนให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลายลงมาก ส่งผลให้ความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้น
3. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ 2567 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ 2567 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง จากปัจจัยฐานที่เริ่มชะลอลงในปีก่อนหน้ารวมถึงผลจากราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศที่อาจปรับตัวสูงขึ้น จากการที่รัสเซียยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชยูเครนผ่านทะเลดำ ภาวะเอลนีโญที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดลดลง และแนวโน้มราคาพลังงานที่อาจกลับมาปรับตัวสูงขึ้น ตามอุปสงค์การใช้พลังงานโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม 1) ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจจีนที่เติบโตต่ำสุดในรอบ 3 ทศวรรษท่ามกลางวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาระหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่นที่อยู่ในระดับสูง 2) ความกังวลด้านข้อพิพาทระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชิปที่สำคัญของโลก อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ 3) ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ รวมถึงความขัดแย้งในทะเลแดงที่มีแนวโน้มตึงเครียดมากขึ้น จากการประกาศยกระดับการโจมตีเรือสินค้าด้วยอาวุธใต้น้ำของกบฏฮูตีในเยเมน จนอาจนำไปสู่ภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก และ 4) การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์