ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายน2567 เท่ากับ 108.16(ปีฐาน 2562 =100)
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนเมษายน2566 (YoY)สูงขึ้น0.19 2. เดือนมีนาคม 2567 (MoM) สูงขึ้น0.85 3.เฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค. -เม.ย.) ปี 2567
ลดลง-0.55 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) Highlights ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนเมษายน 2567 เท่ากับ 108.16 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.19 (YoY)ซึ่งเป็นการสูงขึ้นเป็นครั้งแรก ในรอบ 7 เดือน โดยสาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลก ประกอบกับการสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล..นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักสด และผลไม้สด ราคายังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเนื่องจากสภาพอากาศร้อนและภาวะขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตลดลง และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้นร้อยละ 0.85 (MoM) จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้ากลุ่มอาหารสด ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด ผักสด และผลไม้สด เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเจ้าข้าวสารเหนียว เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ ตู้เย็น เตารีด และเครื่องซักผ้า เป็นต้น และเมื่อเทียบเฉลี่ย4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) 2567 ลดลงร้อยละ 0.55 (AoA)
ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.37 (YoY)เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.05 (MoM)และเมื่อเทียบเฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค. -เม.ย.) 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.42 (AoA)1. เทียบกับเดือนเมษายน 2566 สูงขึ้นร้อยละ 0.19(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.28 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 3.04จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียวและขนมอบกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 2.64 จากการสูงขึ้นของราคานมสด และนมผง กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 9.74 จากการสูงขึ้นของราคาแตงกวา ถั่วฝักยาว และผักชี กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ1.13 จากการสูงขึ้นของราคาทุเรียน และกล้วยหอม กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.68 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทรายกะทิสำเร็จรูป และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.82จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) และน้ำหวาน กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.74จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และอาหารว่าง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.48จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่มีสินค้าราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 5.05จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.12 ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.45จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน และค่าแต่งผมสตรี หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.87จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ เป็นสำคัญ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.43จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระ และค่าถ่ายเอกสาร หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.41จากการสูงขึ้นของราคาสุรา บุหรี่ และไวน์ในขณะที่มีสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.17จากการลดลงของราคาเสื้อยืดบุรุษ และเสื้อเชิ้ต และหมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.84จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่ม
2. เทียบกับเดือนมีนาคม 2567สูงขึ้นร้อยละ 0.85(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.19 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 0.22 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร และไก่สด กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 0.55 จากการสูงขึ้นของราคานมสด และนมเปรี้ยว กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 16.97 จากการสูงขึ้นของราคามะนาว แตงกวา และถั่วฝักยาว กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 2.29 จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ และทุเรียน กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.25 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช เครื่องปรุงรส และน้ำพริกแกง และกลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.04จากการสูงขึ้นของราคาอาหารโทรสั่ง (delivery) และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.37 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) และน้ำอัดลม สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 0.64จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้า และแป้งข้าวเจ้าขณะที่กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.61 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.03 จากการสูงขึ้นของราคาผงซักฟอก ค่าเช่าบ้าน และสารกำจัดแมลง/ไล่แมลง หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.21 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำยาระงับกลิ่นกาย โฟมล้างหน้า และยาสีฟัน หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 1.46 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.03 จากการลดลงของราคาเสื้อเชิ้ตบุรุษ และเสื้อยกทรง หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯลดลงร้อยละ 0.05 จากการลดลงของราคาเครื่องถวายพระ และอาหารสัตว์เลี้ยง และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.03 จากการลดลงของราคาเบียร์ และไวน์3. เฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค. -เม.ย.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ -0.55(AoA)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.58 จากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 5.83 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 2.58 จากการลดลงของราคามะนาว มะเขือเทศ และมะเขือ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 3.68 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 3.55 จากการสูงขึ้นของราคา นมสด และนมผง กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 1.23 จากการสูงขึ้นของราคาทุเรียน กล้วยหอม และสับปะรด กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.33 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.92 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ (ร้อน/เย็น) และกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.90 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และอาหารว่าง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.60 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.52 โดยมีปัจจัยหลักจากการลดลงของหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.14 จากการลดลงของราคาเสื้อยืดสตรีและบุรุษ หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.81 จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่ม หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ 0.81จากการลดลงของราคาน้ำมันดีเซล เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.65 จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน และกระดาษชำระ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.50 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารสัตว์เลี้ยง และค่าห้องพักโรงแรม หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.24 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ สุรา และไวน์และกลุ่มการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.14 จากการสูงขึ้นของราคาค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต
ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าสูงขึ้นเกือบทุกภูมิภาค โดยอัตราเงินเฟ้อของกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้นมากที่สุด โดยสูงขึ้นร้อยละ 0.46รองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 0.31 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 0.19และภาคกลาง สูงขึ้นร้อยละ 0.14ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ ลดลงร้อยละ 0.42
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นในทุกภาคได้แก่ แตงกวา น้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ สำหรับสินค้าที่ปรับตัวลดลงในทุกภาค ได้แก่ เนื้อสุกร ค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันดีเซล 5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมปี 2567
อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นโดยมีสาเหตุสำคัญจาก (1) ฐานราคาค่ากระแสไฟฟ้าเดือนพฤษภาคม 2566 อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดของปี 2566 (2) ราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งไข่ไก่ เนื้อสุกร ผัก และผลไม้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ (3) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรงตัวในระดับสูง ประกอบกับการปรับลดการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศ (4) ค่าเงินบาทอ่อนค่า ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น และ (5) ผู้ประกอบการมีแรงกดดันจากต้นทุนที่อยู่ในระดับสูง ทั้งอัตราดอกเบี้ย น้ำมันเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีปัจจัยที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการบางชนิดยังอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ (1) เศรษฐกิจขยายตัวในระดับต่ำ (2) การแข่งขันที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ รวมทั้งการเติบโตของการค้าอีคอมเมิร์ซ ทำให้มีการแข่งขันและมีการใช้นโยบายส่งเสริมการค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะการปรับลดราคาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0 -1.0 (ค่ากลางร้อยละ 0.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน