ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนเมษายน 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 3, 2024 15:51 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนเมษายน 2567 เท่ากับ113.8 (ปี 2558=100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนเมษายน 2566 (YoY)สูงขึ้น3.4 2. เดือนมีนาคม 2567 (MoM) สูงขึ้น1.2 3. เฉลี่ย4เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ปี 2567

สูงขึ้น1.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 (AoA)Highlights

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA:Classificationof ProductsbyActivity)เดือนเมษายน 2567 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 113.8เทียบกับเดือนเมษายน 2566 สูงขึ้นร้อยละ 3.4 (YoY)ประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.8โดยมีกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องจักรและเครื่องมือ ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ และหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 8.7 เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว อ้อย สับปะรดโรงงาน และยางพารา ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 17.4 จากราคาสินค้าก๊าซธรรมชาติ และสินแร่โลหะ (แร่เหล็ก สังกะสี)

ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing)ประกอบด้วย ดัชนีราคาหมวดสินค้าสำเร็จรูป และหมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป) สูงขึ้นร้อยละ 3.4 และ 4.7 ตามลำดับ ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบ ลดลงร้อยละ0.9จากกลุ่มสินค้าวัตถุดิบที่ไม่ใช่อาหาร ลดลงร้อยละ 4.4 สำหรับกลุ่มสินค้าวัตถุดิบสำหรับอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 2.0 ทั้งนี้ ในห่วงโซ่อุปทานมีสินค้าสำเร็จรูปที่ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต้นน้ำ/กลางน้ำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวสารเจ้า/ข้าวนึ่ง/ปลายข้าวข้าวเปลือกเหนียว ข้าวสารเหนียว ยางแผ่นดิบ/น้ำยางสด/เศษยางยางแผ่นรมควัน/ยางแท่ง/น้ำยางข้นและอ้อย น้ำตาลทราย1. เทียบกับเดือนเมษายน 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.8 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 น้ำมันเตา ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)และน้ำมันก๊าด และกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น ถุงพลาสติก ประตูพีวีซี และถุงยางอนามัย เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวนึ่ง น้ำตาลทราย น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง ข้าวสารเหนียว นมพร้อมดื่ม และปลายข้าว เนื่องจากความต้องการของตลาดมีอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและส่งออก ประกอบกับราคาวัตถุดิบสินค้าเกษตรปรับสูงขึ้น กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ และคอมเพรสเซอร์ เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มขึ้น กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถบรรทุก และรถยนต์นั่ง ต่ำกว่า 1800 ซีซี เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจากการปรับเปลี่ยนบางชิ้นส่วนอุปกรณ์ (MinorChange)กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ เบียร์ และน้ำดื่ม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ ได้แก่ คอนกรีตผสมเสร็จ โถส้วม เสาเข็มคอนกรีต ท่อซีเมนต์ใยหิน แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป อิฐก่อสร้าง อ่างล้างหน้า และคอนกรีตบล็อก เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้น อาทิ ราคาวัตถุดิบ ราคาพลังงาน และค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น

1. เทียบกับเดือนเมษายน 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 8.7 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว และอ้อย เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศผู้ค้าข้าวและอ้อยรายสำคัญในตลาดโลกมีมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวและน้ำตาล ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญและสภาพอากาศที่ร้อนยาวนานทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง และสับปะรดโรงงาน เนื่องจากผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยจากภาวะแล้ง ขณะที่ความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ และกลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้ความต้องการใช้และเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น สำหรับสินค้าที่ราคาปรับลดลงประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคปศุสัตว์ลดลงกว่าปีก่อน หัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากราคาตลาดโลกของสินค้าในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น เอทานอล ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง กลุ่มสัตว์ ได้แก่ สุกรมีชีวิต โคมีชีวิต และไก่มีชีวิต เนื่องจากปริมาณผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจากการนำเข้าและการผลิตของเกษตรกรในประเทศ ขณะที่ความต้องการบริโภคยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มลดลง และผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ กุ้งแวนนาไม เนื่องจากปริมาณผลผลิตในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาปรับลดลง ประกอบกับความต้องการบริโภคจากภาคครัวเรือนยังฟื้นตัวช้า

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 17.4 จากการลดลงของราคาสินค้า ได้แก่ก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางของราคาตลาดโลก ประกอบกับมีการปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้ราคาปรับลดลง และสินแร่โลหะ (แร่เหล็ก สังกะสี) เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามราคาตลาดโลก2. เทียบกับเดือนมีนาคม 2567 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 1.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 2.0 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากความต้องการของภาคการส่งออกเพิ่มขึ้นจากความต้องการในภาคอุตสาหกรรมของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยางรถยนต์ ในขณะที่ปริมาณผลผลิตมีน้อยจากการงดกรีดยางในช่วงฤดูผลัดใบ กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ อ้อย เนื่องจากความต้องการสินค้าจากทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลกเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตมีน้อยจากภาวะแล้ง รวมถึงมีมาตรการจำกัดหรือระงับการส่งออกของประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลรายสำคัญ พืชผัก (มะนาว ผักกินใบและผักกินต้น) เนื่องจากภาวะแล้งทำให้ปริมาณผลผลิตเสียหายและลดลงมาก ไก่เนื้อ และไข่ไก่ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง ในขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาล สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาปรับลดลงประกอบด้วย ข้าวเปลือกเจ้า เนื่องจากเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตของประเทศผู้ผลิตรายสำคัญในภูมิภาค ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ราคาจึงปรับตัวลดลง ปาล์มน้ำมัน และหัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากผลผลิตของประเทศผู้ผลิตรายสำคัญในภูมิภาคออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาในตลาดโลกลดลง2. เทียบกับเดือนมีนาคม 2567 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 1.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.4 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 น้ำมันเตา น้ำมันก๊าด และน้ำมันหล่อลื่น ราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลกที่สูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังมีความตึงเครียดต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับสูงขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในระดับสูง และภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้นักลงทุนและธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกเข้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้นเพื่อถือครองสินทรัพย์ที่ปลอดภัย กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล Integrated Circuit (IC) และแผงวงจรพิมพ์ เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออก ราคาจึงปรับสูงขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่า กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถบรรทุกขนาดเล็ก เนื่องจากผู้ผลิตบางรายปรับเปลี่ยนบางชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถรุ่นเดิมและเพิ่มฟังก์ชันการใช้งาน (MinorChange) ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้น กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก และยางสังเคราะห์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น และโซดาไฟ เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวในทิศทางที่สูงขึ้นตามราคาตลาดต่างประเทศ สำหรับสินค้ากลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กรูปตัวซี และลวดเหล็ก และกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง และถุงพลาสติก ราคาปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ น้ำดื่ม เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งราคาวัตถุดิบและค่าไฟฟ้า นอกจากนี้ สินค้ากลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผ้าใยสังเคราะห์ ผ้าดิบ และผ้าฝ้าย กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ได้แก่ กางเกงสตรี กางเกงชั้นในบุรุษ กางเกงชั้นในสตรี ถุงเท้า และเสื้อยกทรง และกลุ่มเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รองเท้าสตรี และรองเท้าบุรุษ ราคาสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ และสินค้าบางชนิดเป็นสินค้าส่งออก ราคาจึงปรับสูงขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่า

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 4.4 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ (NG)เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลกที่ลดลง3. เฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 1.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 6.2 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว อ้อย หัวมันสำปะหลังสด ผลปาล์มสด ยางพารา สับปะรดบริโภค และสับปะรดโรงงาน สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มะนาว สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต โคมีชีวิต และกุ้งแวนนาไม

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.3 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 น้ำมันเตา และน้ำมันเครื่องบิน กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ข้าวนึ่ง ปลายข้าว น้ำตาลทราย น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง และน้ำมันปาล์ม กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ และคอมเพรสเซอร์ และกลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถบรรทุก และรถยนต์นั่ง ต่ำกว่า 1,800ซีซี

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 20.1 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ (NG) น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และสินแร่โลหะ (สังกะสี)4. แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนพฤษภาคม 2567

ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพฤษภาคม 2567 มีแนวโน้มสูงขึ้น ตามราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรการอุดหนุนด้านพลังงานของภาครัฐที่ลดลง ส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องในหมวดอุตสาหกรรม รวมไปถึงต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่ง ที่ส่งผลกระทบตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น และภาวะแล้งจากเอลนีโญ ประกอบกับสภาพอากาศร้อนที่ยาวนานต่อเนื่องอาจทำให้ปริมาณผลผลิตในภาคการเกษตรลดลง ผลผลิตบางส่วนเกิดความเสียหาย และการออกผลผลิตเกิดความคลาดเคลื่อนจากฤดูกาลปกติ ส่งผลให้สินค้าในหมวดเกษตรกรรมปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ฐานราคาปี 2566 อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยที่ต่ำจะทำให้ดัชนีราคาผู้ผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          อย่างไรก็ตาม ราคาพลังงานในตลาดโลกที่ผันผวนจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินภาคเอกชน รวมไปถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ทยอยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศไทยตามลำดับ ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด          ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์