ดัชนีราคาส่งออกเดือนมีนาคม 2567 เท่ากับ 110.3 ดัชนีราคานำเข้าเดือนมีนาคม 2567เท่ากับ 111.2 เมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละเมื่อเทียบกับระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนมีนาคม 2566 (YoY)สูงขึ้น1.6 1. เดือนมีนาคม 2566 (YoY)สูงขึ้น0.1 2. เดือนกุมภาพันธ์ 2567 (MoM) สูงขึ้น0.3 2. เดือนกุมภาพันธ์ 2567 (MoM) สูงขึ้น0.8 3. ไตรมาสที่ 1ปี 2567 เทียบกับ
สูงขึ้น1.3 3. ไตรมาสที่ 1ปี 2567 เทียบกับ
ลดลง1.2 ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)4. ไตรมาสที่ 1ปี 2567 เทียบกับ
สูงขึ้น0.5 4. ไตรมาสที่ 1ปี 2567 เทียบกับ
ลดลง0.5 ไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)ไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)Highlights
ดัชนีราคาส่งออก เดือนมีนาคม 2567 เท่ากับ 110.3เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่อง ที่ร้อยละ 1.6 (YoY)สาเหตุจากเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้ากลับมาฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมบางกลุ่มสินค้า ที่ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับฐานราคาในเดือนมีนาคม 2566 ที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 7.5 ได้แก่ ข้าว เนื่องจากอินเดียยังมีนโยบายระงับการส่งออก และปัญหาภัยแล้ง ทำให้ความต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้น ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง จากความต้องการบริโภคในตลาดหลักอย่างจีนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ขณะที่ความต้องการสั่งซื้อมีเป็นจำนวนมาก ประกอบกับยางพาราและมันสำปะหลัง ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุตสาหกรรมยานยนต์ และอาหารที่ขยายตัว หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5เดือน อยู่ที่ร้อยละ3.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำของปีก่อน และทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้น จากความกังวลต่ออุปทานน้ำมันตึงตัว ขณะที่อุปสงค์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ น้ำตาลทราย ราคายังทรงตัวสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานตึงตัว จากสภาพอากาศแห้งแล้งในประเทศผู้ผลิตสำคัญ สำหรับอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และความต้องการของตลาดที่มีอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากตลาดหลักยังมีความต้องการต่อเนื่อง ทองคำ ราคาสูงขึ้นตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนทำให้อุปสงค์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบตามความต้องการสินค้าเพื่อใช้พัฒนาอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานในหลายประเทศ
ดัชนีราคานำเข้า เดือนมีนาคม 2567เท่ากับ 111.2เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยสูงขึ้นเล็กน้อย ที่ร้อยละ 0.1(YoY) ปัจจัยหลักเป็นผลจากฐานราคาสินค้าเชื้อเพลิงในเดือนมีนาคม 2566 ที่กลับมาหดตัวลง โดยเฉพาะน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัวในปีก่อนหน้า ขณะที่ความต้องการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพื่อใช้ประกอบการผลิต และการบริโภคยังขยายตัวดี โดยหมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ ยารักษาโรค และเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ผลจากความต้องการสินค้าเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ได้แก่ ทองคำ ได้รับปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐ และความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยจากปัญหาสงครามที่ยังคงมีต่อเนื่อง สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตามความต้องการสินค้าเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก ตามต้นทุนวัตถุดิบและราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าหดตัว แต่หดตัวในอัตราน้อยลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 3.9 จากราคาก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียมเป็นหลัก เนื่องจากปริมาณการสำรองก๊าซยังอยู่ในระดับสูง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 1.2 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง โดยราคายังคงทรงตัว แต่ปรับลดลงจากสกุลเงินอื่นที่อ่อนค่า รวมกับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้มีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.5 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการสินค้าเพื่อการลงทุนลดลงในช่วงก่อนหน้า
แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า เดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ฐานราคาปี 2566 อยู่ในระดับต่ำ 2) ทิศทางการค้าโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น 3) ราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับสูงจากผลกระทบภาวะเอลนีโญ 4) ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น และส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องปรับสูงขึ้นตามและ 5) สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย -ยูเครน และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล -ปาเลสไตน์ -อิหร่าน รวมถึงวิกฤตในทะเลแดงที่ยืดเยื้อ อาจส่งผลให้ค่าระวางเรือ และต้นทุนการผลิตสินค้าปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ 1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าอาจช้ากว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน 2) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น รวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในเมียนมาที่ยืดเยื้อ อาจส่งผลกระทบต่อการค้าการลงทุน และการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย 3) อัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศยังทรงตัวในระดับสูง และ 4) ความผันผวนของค่าเงินบาทอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนมีนาคม 2567
อัตราการค้าของไทย ในเดือนมีนาคม 2567 เท่ากับ 99.2 (เดือนกุมภาพันธ์ 2567 เท่ากับ 99.7) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 27 ติดต่อกัน สะท้อนถึงไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก เป็นผลจากราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก สำหรับแนวโน้มอัตราการค้า เดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ตามทิศทางราคาน้ำมันนำเข้าที่อยู่ในระดับสูง
1. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2567 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.3โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ2.5 ได้แก่น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ราคาสูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ที่กลุ่มกบฏฮูตีโจมตีเรือบรรทุกสินค้าในทะเลแดง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขนส่งน้ำมันระหว่างภูมิภาค หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ยางพารา เนื่องจากอุปทานตึงตัวจากการหยุดกรีดยางในไทยซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี เป็นช่วงต้นยางผลัดใบ ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในยุโรปและตลาดหลักในเอเชีย และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นเนื่องจากอุปทานตึงตัวตามปริมาณผลผลิตในไทยซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ที่ลดลงจากโรคใบด่างมันสำปะหลัง หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ ทองคำ ได้รับปัจจัยหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3ครั้งในปี 2567ทำให้ความต้องการลงทุนในทองคำเพิ่มขึ้น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ตามความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) ที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI)และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคาสูงขึ้นตามความต้องการรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ สำหรับหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง ตามความต้องการของประเทศคู่ค้า และผลไม้กระป๋องและแปรรูป จากการทำ MOUระหว่างสมาคมนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรไทย-จีน กับสมาคมผู้นำเข้าผลไม้จากประเทศจีน เพื่อเป็นการหาตลาดผลไม้ล่วงหน้า ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง โดยเฉพาะน้ำตาลทราย ราคาลดลงเล็กน้อยจากความกังวลอุปทานส่วนเกิน เนื่องจากอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลก ได้เพิ่มประมาณการผลผลิตน้ำตาลของอินเดียในปี 2566/2567 2.เทียบกับเดือนมีนาคม 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 1.6โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรมสูงขึ้นร้อยละ 7.5 ได้แก่ ข้าว จากการที่อินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก ยังคงระงับการส่งออกข้าวขาวบางชนิด ประกอบกับมีคาดการณ์ของรายงานประเมินผลผลิตข้าวของอินเดียปีการผลิต 2566/2567 ระบุว่าผลผลิตข้าวอาจต่ำที่สุดในรอบ 8 ปี ยางพารา ตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ล้อรถยนต์ รถไฟฟ้า ถุงมือยาง และผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความนิยมผลไม้ไทยของผู้บริโภคจีน และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามอุตสาหกรรมอาหารที่ขยายตัว หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 3.1 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ราคาสูงขึ้นเนื่องจากอุปทานตึงตัว จากการที่ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกยังคงลดกำลังการผลิต อาทิ ซาอุดีอาระเบียลดการผลิต 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน รัสเซีย 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของกลุ่มโอเปกพลัส 0.2-0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ น้ำตาลทรายราคายังคงทรงตัวสูงเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าจากความกังวลอุปทานตึงตัวจากภาวะเอลนีโญ ที่ทำให้เกิดอากาศแห้งแล้งในอินเดียและไทยซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ อีกทั้งอินเดียยังห้ามส่งออกน้ำตาล อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อุปทานตึงตัวจากการจับปลาที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามความต้องการของตลาดที่มีต่อเนื่อง และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ตามอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นทั่วโลก และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการรถยนต์ SUV ที่เพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกรถยนต์อันดับต้น ๆ ของไทย ทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางปัญหาสงครามที่ยังคงมีต่อเนื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นด้านการส่งออกที่ดีขึ้นในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จากข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมีนาคม 2567ของธนาคารแห่งประเทศไทย ยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์พรีเมียมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก รวมถึงความต้องการเครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนทั่วโลก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และเมืองอัจฉริยะ (Smart City)ในหลายประเทศ
3. ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 1.3โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 7.3 ได้แก่ข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการของผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญ อาทิ อินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น ยางพารา อุปทานตึงตัวจากปริมาณผลผลิตยางพาราในไทย ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ลดลง จากปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ของยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามปริมาณผลผลิตที่ปรับลดลง ขณะที่ความต้องการยังขยายตัวต่อเนื่อง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.0 ได้แก่ น้ำตาลทราย สาเหตุจากอุปทานตึงตัว ขณะที่อุปสงค์น้ำตาลโลกยังอยู่ในระดับสูง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในต่างประเทศ และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากความต้องการรถยนต์ส่วนบุคคลในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น ทองคำ ตามความต้องการลงทุนในทองคำ ในช่วงที่วัฏจักรดอกเบี้ยนโยบายของประเทศเศรษฐกิจใหญ่อยู่ในช่วงขาลง เครื่องใช้ไฟฟ้า ตามความต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฟังก์ชันใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ อาทิ IoT (Internet of Things)ระบบควบคุมทางไกล และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ตามภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวในตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญ อาทิ จีน บราซิล อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย และอินโดนีเซีย ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง หดตัวในอัตราน้อยลงที่ร้อยละ 2.1 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป เป็นผลจากฐานราคาในช่วงปีก่อนหน้ายังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกทยอยปรับสูงขึ้น4. ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 0.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.1 ได้แก่ ข้าว และข้าวโพด ตามอุปทานโลกที่ตึงตัวจากภาวะเอลนีโญ ยางพารา ตามความต้องการในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการของคู่ค้าที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจีน น้ำมันปาล์ม อุปทานตึงตัวจากสต็อกของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ลดลงตามฤดูกาล และไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป จากการที่ไทยเข้าไปทำตลาดคู่ค้าได้มากขึ้น อีกทั้งจีนยังระมัดระวังคำสั่งซื้อจากประเทศที่ยังพบการระบาดของโรคไข้หวัดนก จึงเปลี่ยนมาสั่งซื้อจากไทยมากขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามความต้องการจากต่างประเทศ ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นน้ำตาลทราย ตามอุปทานน้ำตาลโลกที่ลดลง จากการที่โรงงานน้ำตาลทั่วโลกหันไปใช้อ้อยในการผลิตเอทานอลมากขึ้น และอาหารสุนัขและแมว ตามกระแสอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแก่สัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารที่มีพืชเป็นองค์ประกอบ และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ สิ่งทอ ตามยอดขายเครื่องแต่งกายมือสองทั่วโลกที่ขยายตัว โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ เนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มประหยัดค่าใช้จ่าย ทองคำตามการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ลดลง ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลดดอกเบี้ยได้มากขึ้นนอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าตามความต้องการของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและการขยายตัวของเมืองในภูมิภาคเอเชีย เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ตามการผลักดันโครงการอวกาศและธุรกิจพลังงานสะอาดที่ต้องอาศัยเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) เป็นส่วนประกอบในเกือบทุกขั้นตอน และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการรถบรรทุกในตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง หดตัวในอัตราน้อยลงที่ร้อยละ 0.3 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามฐานราคาน้ำมันที่สูงกว่าในไตรมาสก่อนหน้า โดยทิศทางราคาน้ำมันโลกที่ปรับสูงขึ้นส่งผลให้หมวดสินค้าเชื้อเพลิงหดตัวน้อยลง
5. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกเดือนเมษายน 2567 แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูง จากผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และการไม่มีสัญญาณชัดเจนในการฟื้นข้อตกลงกรณีรัสเซียให้ยูเครนขนส่งธัญพืชผ่านทะเลดำ ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก ประกอบกับความกังวลด้านต้นทุนพลังงานจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ -อิหร่าน รวมถึงความขัดแย้งในทะเลแดง ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งทางเรือของโลก โดยอาจทำให้ค่าระวางเรือและต้นทุนสินค้าอุปโภคบริโภคปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ ความกังวลว่าออสเตรเลียซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย มีแนวโน้มเผชิญภัยแล้งยาวนานมากกว่า 20 ปี ในระยะข้างหน้า อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ วัฏจักรการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมคาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มเติบโตตามอุปสงค์การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจาก (1) การฟื้นตัวที่ช้าของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างจีนที่เศรษฐกิจอาจขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ (2) สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่อาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งระดับภูมิภาค อาทิ การเกิดสงครามเต็มรูปแบบระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ที่อาจส่งผลกระทบต่อเส้นทางขนส่งน้ำมันและส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (3) ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ส่งผลให้ความต้องการสินค้าปรับตัวลดลง (4) ความผันผวนของค่าเงินบาท (5) ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญอย่างข้าวมีแนวโน้มลดลง จากการคาดการณ์ว่าอินเดียจะกลับมาส่งออกข้าวได้ตามปกติ ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2567 (6) ปัญหาความไม่สงบในเมียนมา โดยเฉพาะการสู้รบบริเวณชายแดนแม่สอด-เมียวดี ซึ่งอยู่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกที่เชื่อมเส้นทางการค้าระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก (เวียดนาม) กับมหาสมุทรอินเดีย (อินเดีย) อาจส่งผลกระทบต่อเส้นทางขนส่งสินค้าในอาเซียน อาจทำให้ดัชนีราคาส่งออกขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์
1. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2567 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.8โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 2.3 โดยเฉพาะน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่กลุ่มกบฏฮูตีโจมตีเรือบรรทุกสินค้าในทะเลแดง ส่งผลกระทบต่อการขนส่งน้ำมันระหว่างภูมิภาค และส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในตลาดโลก ประกอบกับกลุ่มโอเปกพลัส(OPEC+) ขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตจากเดิมที่สิ้นสุดไตรมาสที่ 1ปี 2567ไปเป็นไตรมาสที่ 2ปี 2567ส่งผลให้การผลิตน้ำมันดิบปรับลดลง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.6 โดยเฉพาะทองคำ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่า ส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ราคาปรับลดลงตามทิศทางราคาตลาดโลก ประกอบกับผลกระทบจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทำให้ความต้องการใช้เหล็กที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมก่อสร้างปรับลดลง สำหรับปุ๋ย ราคาลดลงเนื่องจากมีปริมาณสต๊อกเพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับราคาปุ๋ยตลาดโลกปรับตัวลดลง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องประดับอัญมณี และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ตามความต้องการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เนื่องจากไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้ความต้องการดูแลรักษาสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนผสมของยาปรับเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบตามความต้องการอุปกรณ์แบบพกพาและคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการชิป อาทิ หน่วยความจำแบนด์วิธสูง (HBM)ที่ใช้ในชิปเซ็ตปัญญาประดิษฐ์ (AI)เพิ่มมากขึ้น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนในภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการที่เพิ่มขึ้นสำหรับหมวดสินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงแต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่ง และรถจักรยาน ตามความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง คือ รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ราคายังคงทรงตัว แต่ปรับลดลงจากการนำเข้าสกุลเงินอื่นที่อ่อนค่า ทำให้ราคาในรูปเงินเหรียญสหรัฐลดลง2. เทียบกับเดือนมีนาคม 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องประดับอัญมณี ตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง สำหรับยารักษาโรค ผลจากประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีความต้องการดูแลรักษาสุขภาพ ความต้องการรักษาโรคต่างๆ ที่มีความยากและซับซ้อนมากขึ้นและหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.9 โดยเฉพาะทองคำ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก ส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ตามความต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ InternetofThings(IoT) ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 3.9 โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคาลดลงตามปริมาณการสำรองก๊าซที่ยังอยู่ในระดับสูง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 1.2 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อชะลอตัว และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.5 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ปรับตัวลดลงจากการชะลอตัวของภาคการผลิต ภาคการก่อสร้าง และภาคอสังหาริมทรัพย์3. ไตรมาสที่ 1ปี 2567 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า (YoY) ลดลงร้อยละ 1.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 8.5 ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามความต้องการใช้ที่ปรับตัวลดลงในช่วงก่อนหน้า จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 1.2 โดยเฉพาะรถยนต์นั่งและส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อชะลอตัวและหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.9 ได้แก่ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนภาคการผลิต ภาคการก่อสร้าง และภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ตามความต้องการสินค้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.6 ได้แก่ ทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ ตามความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น4. ไตรมาสที่ 1ปี 2567 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ลดลงร้อยละ 0.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 5.8 เป็นผลจากราคาก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียมเป็นสำคัญ เนื่องจากปริมาณการสำรองก๊าซในปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.4 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ตามความต้องการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.1 ได้แก่ ทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการของผู้บริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่คลี่คลายลง ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก เคมีภัณฑ์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรม และภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการอุปกรณ์แบบพกพาและคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งในภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก จากความต้องการของตลาดในประเทศและการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นแนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง จากปัจจัยฐานที่เริ่มลดลงในปีก่อนหน้ารวมถึงผลจากราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศที่อาจปรับตัวสูงขึ้น จากการที่รัสเซียยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชยูเครนผ่านทะเลดำ ภาวะเอลนีโญที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดลดลง และแนวโน้มราคาพลังงานที่อาจกลับมาปรับตัวสูงขึ้น ตามอุปสงค์การใช้พลังงานโลกที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ซึ่งอาจกดดันให้สหรัฐฯ และชาติพันธมิตร คว่ำบาตรสินค้าจากอิหร่านโดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งอิหร่านเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก จนส่งผลให้อุปทานน้ำมันโลกตึงตัว นอกจากนี้ เหตุการณ์ความไม่สงบในเมียนมาอาจกดดันให้ราคาสินค้านำเข้า โดยเฉพาะสินค้าเชื้อเพลิงสูงขึ้น ซึ่งเมียนมาเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในสินค้ากลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม 1) ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจจีนที่เติบโตต่ำสุดในรอบ 3 ทศวรรษ ท่ามกลางวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาระหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่นที่อยู่ในระดับสูง 2) ความกังวลด้านข้อพิพาทระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชิปที่สำคัญของโลก อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ 3) ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งในทะเลแดงที่มีแนวโน้มตึงเครียดมากขึ้น และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านที่อาจขยายวงกว้างเป็นสงคราม จนอาจนำไปสู่ภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก และ 4) การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์5. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนเมษายน 2567
อัตราการค้าของไทย เดือนมีนาคม 2567เท่ากับ 99.2 (เดือนกุมภาพันธ์ 2567 เท่ากับ 99.7) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 27 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก สาเหตุหลักเป็นผลจากราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก
สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเม็ดพลาสติก และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก เป็นต้น
ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ ทองคำ น้ำมันสำเร็จรูป ทองแดงและผลิตภัณฑ์ นมและผลิตภัณฑ์นม และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้งนอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอและเสื้อผ้า และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้นแนวโน้มอัตราการค้า เดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ตามทิศทางราคาน้ำมันนำเข้าที่อยู่ในระดับสูง ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์