ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนเมษายน 2567 ปรับลดเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 51.9 จากระดับ 54.1 ในเดือนก่อนหน้า ปรับลดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566)แต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17 (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 44.5 จากระดับ 46.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 56.8 จากระดับ 59.5 สาเหตุปรับลดคาดว่ามาจาก 1)สถานการณ์เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ แม้ว่าจะได้รับปัจจัยหนุนมาจากเทศกาลสงกรานต์ และ 2)ความกังวลต่อภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น อาทิ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาเนื่องจากใกล้เปิดภาคเรียน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรสำคัญยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีหลายรายการ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนียังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า เศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.73 รองลงมา คือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 13.59 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 9.51เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 8.75 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.16ราคาสินค้าเกษตรคิดเป็นร้อยละ 5.17การเมือง คิดเป็นร้อยละ 3.93ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 1.59และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 1.57 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวลดลงทุกภูมิภาค กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีปรับตัวลดลงจากระดับ 58.9มาอยู่ที่ระดับ 55.0โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคง และมาตรการของภาครัฐ
ภาคกลาง จากระดับ 54.1 มาอยู่ที่ระดับ 52.2 และภาคเหนือ จากระดับ 51.9 มาอยู่ที่ระดับ49.1 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 55.4มาอยู่ที่ระดับ 53.5 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และเศรษฐกิจโลก
ภาคใต้จากระดับ 50.4มาอยู่ที่ระดับ 49.6โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก และมาตรการของภาครัฐดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกกลุ่มอาชีพ เกษตรกร ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงจากระดับ 53.4มาอยู่ที่ระดับ 52.8โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และมาตรการของภาครัฐ
พนักงานของรัฐ จากระดับ 58.7มาอยู่ที่ระดับ 55.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และมาตรการของภาครัฐ
ผู้ประกอบการ จากระดับ 56.0มาอยู่ที่ระดับ 53.4 และพนักงานเอกชน จากระดับ 53.4 มาอยู่ที่ระดับ 50.7โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
รับจ้างอิสระ จากระดับ 51.3มาอยู่ที่ระดับ 48.3โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และเศรษฐกิจโลก
นักศึกษา จากระดับ 53.3มาอยู่ที่ระดับ 52.5โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคงและมาตรการของภาครัฐ
ไม่ได้ทำงาน จากระดับ 53.8มาอยู่ที่ระดับ 48.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐและเศรษฐกิจโลก
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 48.9มาอยู่ที่ระดับ49.6