ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.39 (YoY)เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.08 (MoM)และเมื่อเทียบเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค. -พ.ค.) 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.42 (AoA)1. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 สูงขึ้นร้อยละ 1.54(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.13 และปลาทู*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.84
2. เทียบกับเดือนเมษายน 2567สูงขึ้นร้อยละ 0.63(MoM) โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.37 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 0.61 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาทู และไก่สด กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 1.80 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และครีมเทียม กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 15.32 จากการสูงขึ้นของราคามะเขือ ถั่วฝักยาว และมะเขือเทศ กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 1.14 จากการสูงขึ้นของราคาแตงโม มะม่วง และกล้วยน้ำว้า กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.24 จากการสูงขึ้นของราคา กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำผลไม้ และน้ำหวาน รวมทั้งกลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.06 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารโทรสั่ง (delivery) และข้าวแกง/ข้าวกล่องสำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 0.26 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้า แป้งทอดกรอบ และแป้งข้าวเจ้า และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารลดลงร้อยละ 0.13จากการลดลงของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และซอสหอยนางรมในขณะที่กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.09 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าสูงขึ้นร้อยละ 0.07 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อเชิ้ตบุรุษ และ เครื่องแบบนักเรียน หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.42 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำยาระงับกลิ่นกาย แชมพู และยาสีฟัน หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.09 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.38 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระ และค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น ในขณะที่หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.03 จากการลดลงของราคาผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม และสารกำจัดแมลง/ไล่แมลง สำหรับหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง3. เฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค. -พ.ค.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ -0.13(AoA)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.23 จากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 5.39 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 3.65 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 3.53 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมผง กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 1.00 จากการสูงขึ้นของราคาขิง ถั่วฝักยาว และผักชี กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 1.39 จากการสูงขึ้นของราคาทุเรียน กล้วยหอม และองุ่น กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.38จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.94 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำหวาน และเครื่องดื่มบำรุงกำลังกลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.88จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และอาหารว่าง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.57จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.05 โดยมีปัจจัยหลักจากการลดลงของหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.19จากการลดลงของราคาเสื้อยืดสตรีและบุรุษ หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.25 จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่ม หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ 0.17จากการลดลงของราคาน้ำมันดีเซล เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.62จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน และค่าแต่งผมชายหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.51 จากการสูงขึ้นของค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น รวมทั้งหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.27 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ สุรา และไวน์ 4. อัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค เดือนพฤษภาคม 2567
ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าสูงขึ้นทุกภูมิภาค โดยอัตราเงินเฟ้อของกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้นมากที่สุด โดยสูงขึ้นร้อยละ 1.92รองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 1.73 ภาคกลาง สูงขึ้นร้อยละ 1.56ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 1.36และภาคใต้ สูงขึ้นร้อยละ 0.87
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์และถั่วฝักยาวสำหรับสินค้าที่ปรับตัวลดลงในทุกภาค ได้แก่ เนื้อสุกร มะนาว และน้ำมันดีเซล 5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนปี 2567
อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2567
อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2567 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอลง โดยมีสาเหตุสำคัญจาก (1) ผลกระทบจากฐานราคาต่ำของค่ากระแสไฟฟ้าลดลง (2) การต่ออายุมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของครัวเรือน อีก 4 เดือน (พ.ค. -ส.ค. 2567) (3) ราคาพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะผักสดมีแนวโน้มลดลง หลังสิ้นสุดสภาพอากาศร้อนจัด และเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ และ (4) การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ระดับต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการมีข้อจำกัดในการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาขาย รวมทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่มีการทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้สินค้าบางชนิดยังอยู่ในระดับสูง ได้แก่ (1) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศ ซึ่งปรับมาอยู่ที่ 33.00 บาทต่อลิตร สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนและ (2) ความไม่แน่นอนจากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ อาจจะทำให้ราคาน้ำมันและค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตาม
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0-1.0 (ค่ากลางร้อยละ 0.5) ซึ่งเป็นอัตราทีสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์