ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 7, 2024 14:17 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม2567 เท่ากับ 113.0 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม2566 (YoY)ลดลงร้อยละ 0.3 สาเหตุจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดสำคัญ ดังนี้หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงตามราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชีย จีน) หมวดซีเมนต์ จากการแข่งขันที่สูงและต้นทุนพลังงาน (ถ่านหิน) ลดลง หมวดกระเบื้อง และหมวดสุขภัณฑ์ ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากอัตราดอกเบี้ยและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง การเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงจากราคายางมะตอยเนื่องจากต้นทุนพลังงาน (ถ่านหิน) ลดลง ขณะที่หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดวัสดุฉาบผิว และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ดัชนีราคาสูงขึ้น จากความต้องการใช้ในการก่อสร้างภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เป็นโครงการต่อเนื่อง รวมทั้งภาคเอกชนที่มีการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการเร่งดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2567 ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ หลังจากการพิจารณางบประมาณแล้วเสร็จ ส่งผลให้ดัชนีราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ปรับสูงขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบ (เศษเหล็ก สินแร่เหล็ก) และค่าขนส่ง ดัชนีราคาหมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นจากสีทาถนน หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นจากสินค้ากลุ่มสายไฟ เนื่องจากราคาวัตถุดิบ (ทองแดง) ปรับสูงขึ้น และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นจากยางมะตอยตามราคาปิโตรเลียม1. เทียบกับเดือนพฤษภาคม2566 (YoY)ลดลงร้อยละ 0.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้สูงขึ้นร้อยละ5.0 จากการสูงขึ้นของไม้แบบไม้โครงคร่าวไม้พื้นและบานประตูเนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นทั้งค่าดำเนินการและค่าขนส่ง

หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 1.2 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากมีการแข่งขันสูง และต้นทุนพลังงาน (ถ่านหิน) ลดลง

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ท่อระบายน้ำคอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จ และถังซีเมนต์สำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ (หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 1.5 จากการลดลงของเหล็กตัวซีเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย ชีทไพล์เหล็ก และลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรงตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชีย จีน)

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.7 จากการลดลงของกระเบื้องเคลือบปูพื้น กระเบื้องลอนคู่ และกระเบื้องยาง.PVCปูพื้น เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสูงขึ้นของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง จากความต้องใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูโครงสร้างพื้นฐานของการก่อสร้างภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เป็นโครงการต่อเนื่อง

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 4.0 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก ราวจับสแตนเลส และฝักบัวอาบน้ำ เนื่องจากความต้องการใช้ที่ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.1 สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYสายเคเบิล THWท่อ PVCและข้อต่อท่อประปา เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบ (ทองแดง) ปรับสูงขึ้น รวมทั้งมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในโครงการต่อเนื่อง

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 1.1 จากการลดลงของยางมะตอย เนื่องจากต้นทุน 2.เทียบกับเดือนเมษายน 2567 (MoM) ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ผสม เนื่องจากมีการแข่งขันสูงหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของเหล็กตัวซี เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -.ผิวข้ออ้อย ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง และท่อเหล็กดำเนื่องจากราคาวัตถุดิบ (เศษเหล็ก สินแร่เหล็ก) ปรับสูงขึ้น รวมทั้งมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐเพิ่มขึ้น จากการเร่งดำเนินการโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.3 จากการลดลงของกระเบื้องเคลือบปูพื้น และครอบสันโค้ง เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการสูงขึ้นของสีทาถนน ชนิดสะท้อนแสง เนื่องจากความต้องใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.2 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก และราวจับสแตนเลส ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟ NYYสายไฟฟ้า VCTและเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ทองแดง)

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 2.0 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย ตามราคาปิโตรเลียมและความต้องการใช้ในการก่อสร้างภาครัฐ และอลูมิเนียมแผ่นเรียบ สูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ (อลูมิเนียม) 3. เฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค. -พ.ค.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) ลดลงร้อยละ 1.0 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 5.0 จากการสูงขึ้นของไม้แบบ เสาเข็มไม้ไม้โครงคร่าว บานประตู และวงกบประตู เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นทั้งค่าดำเนินการและค่าขนส่ง

หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.2 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากการแข่งขันสูง และค่าพลังงาน (ถ่านหิน) ลดลง

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ท่อระบายน้ำคอนกรีต และคอนกรีตผสมเสร็จ ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (หิน ทราย) และค่าขนส่ง

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.2 จากการลดลงของเหล็กตัว H เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย ท่อเหล็กดำ และลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังไม่ฟื้นตัวทำให้มีอุปทานเหล็กส่วนเกินสูงกดดันให้ราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชีย จีน) และในประเทศลดลง

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.7 จากการสูงขึ้นของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง สีน้ำอะครีลิคทาภายใน และภายนอก ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ (ผงสี กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 3.1 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก ราวจับสแตนเลส และฝักบัวอาบน้ำตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงและการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของสายเคเบิล THWสายส่งกำลังไฟ NYYสายไฟฟ้า VCTและท่อ PVCเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (ทองแดง เม็ดพลาสติก) สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 3.5 จากการลดลงของยางมะตอย เนื่องจากราคาพลังงาน (ถ่านหิน) ลดลง และอลูมิเนียมแผ่นเรียบลดลงตามราคาวัตถุดิบ (อลูมิเนียม) ที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

4. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนมิถุนายน 2567

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยมีปัจจัยบวกจากการเร่งดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2567 ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ และภาครัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้ความต้องการใช้สินค้าวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งความผันผวนของราคาน้ำมันและพลังงานจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจของจีนกับสหรัฐฯ ที่ชัดเจนขึ้น เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนวัตถุดิบสินค้าวัสดุก่อสร้าง อาทิเช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้มีการเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน ส่งผลให้อุปสงค์ของภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ