ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนพฤษภาคม 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 25, 2024 14:44 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนพฤษภาคม 2567 เท่ากับ 110.6เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 (YoY)ปัจจัยหลักเป็นผลจากฐานราคาเดือนพฤษภาคม 2566ที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น จากความผันผวนของสภาพอากาศ ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดน้อยลง รวมกับสินค้าอุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวดี ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 7.1 โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป จากฐานราคาน้ำมันในปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันตึงตัว หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 6.8 ได้แก่ ยางพารา จากผลผลิตยางโลกที่ต่ำกว่าความต้องการ ข้าว ตามความต้องการข้าวโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ตามความต้องการบริโภคจากประเทศคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและโรคใบด่างมันสำปะหลัง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่ น้ำตาลทราย ราคายังทรงตัวสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน จากผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และอาหารสัตว์เลี้ยง ตามจำนวนสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น และความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงประเภทพรีเมียมและอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบและความต้องการจากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากความต้องการรถยนต์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกสำคัญอย่างสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ทองคำ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ และการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เม็ดพลาสติก ตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงขึ้น ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้น

ดัชนีราคานำเข้า เดือนพฤษภาคม 2567 เท่ากับ 112.5เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 2.5(YoY) ปัจจัยหลักเป็นผลจากฐานของปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับความต้องการนำเข้าสินค้าประเภทวัตถุดิบและอุปโภคบริโภคขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยหมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 4.4 เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 14 เดือน จากราคาน้ำมันดิบที่ทยอยปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และฐานราคาน้ำมันเดือนพฤษภาคม 2566 ที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคายังคงต่ำกว่าปี 2566 ตามปริมาณการสำรองก๊าซที่อยู่ในระดับสูง แต่มีทิศทางหดตัวในอัตราน้อยลง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.9 ได้แก่ ทองคำ ได้รับปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ มีการซื้อทองคำเพื่อใช้ในการสำรองเพิ่มขึ้น สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ตามความต้องการสินค้าเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น และสินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ตามราคาโลหะตลาดโลกและความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นร้อยละ2.7 ได้แก่เครื่องประดับอัญมณีผักผลไม้และของปรุงแต่งทำจากผักและผลไม้และเครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือนตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.0 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามความต้องการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานร่วมกับ AIและเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ ตามความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 1.6 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง เนื่องจากตลาดในประเทศได้รับแรงกดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน ทำให้สินเชื่อรถไม่ได้รับการอนุมัติ รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า เดือนมิถุนายน 2567 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ฐานราคาปี 2566 อยู่ในระดับต่ำ 2) ทิศทางการค้าโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น 3) ราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับสูงจากผลกระทบปัญหาภัยธรรมชาติ 4) ราคาน้ำมันดิบที่ยังทรงตัวในระดับสูง และส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องปรับสูงขึ้นตาม และ 5) สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย -ยูเครน และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล -ปาเลสไตน์ -อิหร่าน รวมถึงวิกฤตในทะเลแดงที่ยืดเยื้อ อาจส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าขนส่งปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ 1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าอาจช้ากว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน 2) ความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ อาจส่งผลกระทบต่อการค้าการลงทุนโลก 3) อัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศยังทรงตัวในระดับสูง และ 4) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

อัตราการค้า (Term of Trade)เดือนพฤษภาคม 2567

อัตราการค้าของไทยในเดือนพฤษภาคม2567เท่ากับ98.3 (เดือนเมษายน2567เท่ากับ97.8)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 29 ติดต่อกัน สะท้อนถึงไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก เป็นผลจากราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน(ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก)สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออกสำหรับแนวโน้มอัตราการค้าเดือนมิถุนายน 2567 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 100ต่อเนื่อง ตามทิศทางราคาน้ำมันนำเข้าที่ยังอยู่ในระดับสูง

1. เทียบกับเดือนเมษายน 2567 (MoM)ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่มีการเปลี่ยนแปลงของแต่ละหมวดสินค้าดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่ ข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญของไทย อาทิ อินโดนีเซีย เพื่อจัดหาให้ประชาชนในประเทศที่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยยางพารา ตามความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางที่ใช้ทางการแพทย์และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ฤดูกาลผลไม้ของไทย และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ตามความต้องการใช้ประกอบการทำงานแบบผสมผสานระหว่างบ้านและสำนักงาน รวมถึงอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามอุปสงค์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่ฟื้นตัว และการขยายตัวของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) ของโลก และทองคำ จากการที่ธนาคารทั่วโลกเพิ่มสต็อกทองคำ ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 5.4 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ราคาลดลงเนื่องจากอุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกชะลอตัวลง จากความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะปรับสูงขึ้น ประกอบกับสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ลดลงร้อยละ 0.1 ได้แก่ น้ำตาลทราย จากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำตาลโลกตึงตัวได้คลี่คลายลง จากคาดการณ์ว่าผลผลิตน้ำตาลของประเทศผู้ผลิตสำคัญ โดยเฉพาะบราซิล ในปี 2566/2567จะเพิ่มขึ้น ในช่วงเริ่มต้นฤดูผลิต ประกอบกับผลผลิตน้ำตาลของหลายประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากสภาพอากาศที่ดีขึ้น และภาวะเอลนีโญที่กำลังจะสิ้นสุดในไตรมาส 2 ปี 2567 นอกจากนี้ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่ลดลง 2.เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 1.7โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 7.1 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ราคาปรับสูงขึ้นเนื่องจากอุปทานน้ำมันโลกตึงตัว จากการที่กลุ่มโอเปกพลัส นำโดยซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย มีแนวโน้มขยายเวลาลดกำลังการผลิต หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 6.8 ได้แก่ ข้าว ราคาสูงขึ้น ตามอุปทานข้าวโลกที่ตึงตัวจากภาวะเอลนีโญ และการที่ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกโดยเฉพาะอินเดีย ยังคงมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวขาวบางชนิด ยางพารา จากการที่ผลผลิตยางพาราโลกต่ำกว่าความต้องการใช้ เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกในประเทศผู้ผลิตสำคัญ อาทิ ไทย และอินโดนีเซีย ได้รับผลกระทบจากภาวะเอลนีโญผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะมะม่วง เนื่องจากเกาหลีใต้ขาดแคลนผลไม้ในประเทศจึงได้ยกเว้นภาษีการนำเข้ามะม่วงให้กับไทยเป็นการชั่วคราว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามความต้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของจีน เพื่อทดแทนการใช้ข้าวโพดในประเทศ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่น้ำตาลทราย ตามอุปทานน้ำตาลโลกที่ตึงตัวในช่วงก่อนหน้า จากภาวะเอลนีโญ อาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ตามความนิยมอาหารออร์แกนิก และอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป จากความต้องการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เพิ่มขึ้น และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามความต้องการจากตลาดจีนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยมอย่างทุเรียนและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ รถยนต์ ตามยอดขายรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์นั่งที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกสำคัญอย่างออสเตรเลีย ทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เม็ดพลาสติก โดยเฉพาะเอทิลีนตามคำสั่งซื้อในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ จากความต้องการอุปกรณ์สมาร์ทโฮมที่เพิ่มขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของเมืองและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก

3. เฉลี่ยมกราคม -พฤษภาคม ปี 2567 เทียบกับปี 2566 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 1.5โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 7.0 ได้แก่ ข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวในตลาดโลกไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวข้าวของประเทศผู้ผลิตสำคัญในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง อาทิ ไทย เวียดนาม และกัมพูชา ยางพารา ตามความกังวลอุปทานตึงตัวหลังกรีดน้ำยางได้น้อยลงจากภาวะเอลนีโญ อีกทั้งคาดว่ามาตรการ EUDRของสหภาพยุโรปจะหนุนให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้น และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ น้ำตาลทราย ตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามกระแสความต้องการแหล่งโปรตีนที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามความต้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศ และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ตามจำนวนสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดส่งออกสำคัญอย่างอิตาลี หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 0.8 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบเนื่องจากอุปทานน้ำมันโลกตึงตัวจากสถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อ และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ รถยนต์ ตามยอดขายรถยนต์ขนาดเล็กในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยที่เพิ่มขึ้น ทองคำ ตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)มีแนวโน้มไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตามอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่ขยายตัวทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา4. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกเดือนมิถุนายน 2567 แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนมิถุนายน 2567 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูง จากผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และการไม่มีสัญญาณชัดเจนในการฟื้นข้อตกลงกรณีรัสเซียให้ยูเครนขนส่งธัญพืชผ่านทะเลดำ ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก ประกอบกับความกังวลด้านต้นทุนพลังงานจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์-อิหร่าน รวมถึงความขัดแย้งในทะเลแดง ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งทางเรือของโลก โดยอาจทำให้ค่าระวางเรือและต้นทุนสินค้าอุปโภคบริโภคปรับสูงขึ้นนอกจากนี้ การส่งออกยังได้อานิสงส์จากอุปสงค์ทองคำในเอเชียที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ท่ามกลางราคาทองคำที่สูงและปัญหาแหล่งแร่ทองคำทั่วโลกที่หายากขึ้น รวมถึงการที่อินเดีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับต้น ๆ ของไทย เผชิญคลื่นความร้อน ซึ่งอาจทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจาก (1) การฟื้นตัวที่ช้าของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างจีน (2) สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่อาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งระดับภูมิภาค อาทิ การเกิดสงครามเต็มรูปแบบระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ที่อาจส่งผลกระทบต่อเส้นทางขนส่งน้ำมัน และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (3) ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ส่งผลให้ความต้องการสินค้าปรับตัวลดลง (4) ความผันผวนของค่าเงินบาท(5)การบริโภคภาคเอกชนของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 ของไทย เผชิญภาวะซบเซา โดยลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 และ (6)ผลการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรป ที่ผู้สมัครจากพรรคการเมืองฝ่ายขวาในหลายประเทศได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความกังวลว่าจะทำให้การเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA)ไทย-สหภาพยุโรป (EU)ล่าช้า ปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้ดัชนีราคาส่งออกขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์

1. เทียบกับเดือนเมษายน 2567 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.5โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 3.6 ได้แก่น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูปเป็นผลจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางมีแนวโน้มคลี่คลายลง เนื่องจากมีการเจรจาข้อตกลงการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสประกอบกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ขณะที่ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ราคาสูงขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานปรับเพิ่มขึ้น และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.3 ได้แก่ รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ และรถจักรยาน เนื่องจากหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน ส่งผลให้กำลังซื้อชะลอตัว ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ตามความต้องการลงทุนในภาคการผลิตอุตสาหกรรม และภาคบริการที่เพิ่มขึ้น สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากความนิยมของคอมพิวเตอร์ GenerativeAIทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบพกพา ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นจากทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภค ส่งผลให้ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า เป็นผลจากการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ หรือเทคโนโลยีใหม่ตามเทรนด์โลก อาทิ กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจริยะ ส่งผลให้ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ทองคำ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก ประกอบกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้นสำหรับเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อลูมิเนียม และทองแดงราคาปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาตลาดโลก และเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวจากกิจกรรมภาคอุตสาหกรรม และภาคการผลิต รวมถึงการก่อสร้างภาครัฐ และภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการเดินหน้าโครงการขนาดใหญ่ เช่น ไฮสปีด ทำให้ความต้องการใช้เหล็กมีแนวโน้มดีขึ้นขณะที่ปุ๋ย ราคาลดลงเนื่องจากมีปริมาณสต๊อกเพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับราคาปุ๋ยตลาดโลกปรับตัวลดลง และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องประดับอัญมณี เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน และนมและผลิตภัณฑ์นม ตามความต้องการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น2. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 2.5โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 4.4 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป เป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานตึงตัว จากการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมัน และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.9 โดยเฉพาะทองคำ เป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก ประกอบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า ส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า จากความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอนาคต ทำให้ความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.7 ได้แก่ เครื่องประดับอัญมณี ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ กาแฟ ชา เครื่องเทศ เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน และเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่องและหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.0 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการใช้ของผู้บริโภค และภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนภาคการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์การทดสอบ เนื่องจากไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับความต้องการดูแลรักษาสุขภาพ และโรคซับซ้อนมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 1.6 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ เนื่องจากสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับเศรษฐกิจภายในประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ รวมถึงการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องระยะทางการวิ่ง และปัญหาสถานีชาร์จที่ยังไม่ทั่วถึง ส่งผลให้กำลังซื้อชะลอตัว

3. เฉลี่ยมกราคม -พฤษภาคม ปี 2567 เทียบกับปี 2566 (AoA)ดัชนีราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสินค้าสำคัญ ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 4.7 โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณการสำรองก๊าซในปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความต้องการใช้ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 1.4 โดยเฉพาะส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ประกอบกับความเข้มงวดในการปล่อย0.0 สินเชื่อของสถาบันการเงินเนื่องจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.3 ได้แก่เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ผลจากการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต และภาคบริการในช่วงก่อนหน้า ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ กาแฟ 1.9 ชา เครื่องเทศ เครื่องประดับอัญมณี เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าวัตถุดิบ2.2

และกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ได้แก่ทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้าได้รับแรงหนุนจากกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มพลังงานหมุนเวียน และกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการขยายตัวของ AIและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลขององค์กรต่าง ๆ ส่งผลให้ความต้องการใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับเคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก ตามทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวของภาคการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าปรับตัวสูงขึ้น4. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนมิถุนายน 2567 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนมิถุนายน 2567 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง จากปัจจัยฐานที่เริ่มลดลงในปีก่อนหน้า รวมถึงผลจากราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศที่อาจปรับตัวสูงขึ้น จากการที่รัสเซียยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชยูเครนผ่านทะเลดำ ภาวะเอลนีโญที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดลดลง แนวโน้มราคาพลังงานที่อาจกลับมาปรับตัวสูงขึ้น ตามอุปสงค์การใช้พลังงานโลกที่เพิ่มขึ้นและภาวะขาดแคลนพลังงานในไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) อันดับ 1 ของโลก ที่อาจส่งผลให้อุปทานชิปโลกตึงตัว ทำให้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากชิปเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้ากลุ่มดังกล่าว อย่างไรก็ตาม (1) ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน จากเศรษฐกิจจีนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ สหรัฐฯ ที่ยังเผชิญอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมาย (2) ความกังวลด้านข้อพิพาทระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าสำคัญของไทย (จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้) ที่มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 45ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด อาจส่งผลกระทบต่อฐานการผลิตและห่วงโซ่อุปทานของสินค้านำเข้า (3) ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งในทะเลแดง และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านที่อาจขยายวงกว้างเป็นสงคราม จนอาจนำไปสู่ภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก (4) การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และ(5)จีนมีโอกาสเผชิญอุทกภัยที่รุนแรง และอาจทำให้ภาคการผลิตในไทยชะลอตัว เนื่องจากจีนเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าทุนอันดับ 1ของไทย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์

อัตราการค้าของไทยในเดือนพฤษภาคม2567เท่ากับ98.3(เดือนเมษายน 2567 เท่ากับ 97.8)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 29ติดต่อกันสะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก

อัตราการค้าของไทย เดือนพฤษภาคม 2567 เท่ากับ 98.3 (เดือนเมษายน 2567 เท่ากับ 97.8) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 29ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก สาเหตุหลักเป็นผลจากราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออกสำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติกเม็ดพลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ ทองคำ น้ำมันสำเร็จรูป ทองแดงและผลิตภัณฑ์ นมและผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้งนอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับสิ่งทอและเสื้อผ้า แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเป็นต้นแนวโน้มอัตราการค้า เดือนมิถุนายน 2567 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ตามทิศทางราคาน้ำมันนำเข้าที่อยู่ในระดับสูง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ