ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมิถุนายน 2567 และระยะ 6 เดือนแรกของปี 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 5, 2024 14:03 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA:Classificationof ProductsbyActivity)เดือนมิถุนายน 2567 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 113.6เทียบกับเดือนมิถุนายน 2566 สูงขึ้นร้อยละ 4.7 (YoY)ประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.2 โดยมีกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องจักรและเครื่องมือ และกลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ และหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 11.4 เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว อ้อย ยางพารา ทุเรียน และสับปะรดโรงงาน ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 5.1 จากราคาสินค้าก๊าซธรรมชาติ และเกลือสมุทรดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing)ประกอบด้วย ดัชนีราคาหมวดสินค้าสำเร็จรูป หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป) และหมวดสินค้าวัตถุดิบ สูงขึ้นร้อยละ 3.9 5.9 และ 5.3 ตามลำดับ โดยมีสินค้าในห่วงโซ่อุปทานที่ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต้นน้ำ/กลางน้ำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าข้าวสารเจ้า/ข้าวนึ่ง/ปลายข้าว ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวสารเหนียว ยางแผ่นดิบ/น้ำยางสด/เศษยางยางแผ่นรมควัน/ยางแท่ง/น้ำยางข้นและอ้อย น้ำตาลทราย1. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 4.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.2 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล์95 และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)และกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้นถุงพลาสติก และแผ่นฟิล์มพลาสติก เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวนึ่ง น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง และน้ำตาลทราย เนื่องจากความต้องการของตลาดมีอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับราคาวัตถุดิบสินค้าเกษตรปรับสูงขึ้น กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ และคอมเพรสเซอร์ เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มขึ้น กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ได้แก่ รถบรรทุก และรถยนต์นั่ง ต่ำกว่า 1,800 ซีซี เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจากการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บางชิ้นส่วน (MinorChange)กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก และยางสังเคราะห์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ หน่วยรับข้อมูล/แสดงผล แผงวงจรพิมพ์ และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออก ราคาจึงปรับสูงขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่า และกลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผ้าดิบ ผ้าใยสังเคราะห์ เส้นไหม และเส้นใยสังเคราะห์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบและค่าแรงปรับสูงขึ้น

1. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 4.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 11.4

โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 11.4 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว และอ้อย เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศผู้ค้าข้าวและอ้อยรายสำคัญในตลาดโลกมีมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวและน้ำตาล ยางพารา เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความต้องการใช้และเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเปิดตลาดส่งออกในภูมิภาคใหม่ ทำให้ความต้องการสินค้าสำหรับส่งออกเพิ่มขึ้น ทุเรียน และสับปะรดโรงงาน เนื่องจากผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยและผลผลิตบางส่วนเสียหายจากสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับสินค้าที่ราคาปรับลดลง ประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคปศุสัตว์ลดลงกว่าปีก่อน หัวมันสำปะหลังสด ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากคุณภาพผลผลิตในปีนี้ลดลงจากสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปีที่ผ่านมา มะนาว จากฐานของปีก่อนที่สูงจากภาวะแล้ง กลุ่มสัตว์ ได้แก่ สุกรมีชีวิต โคมีชีวิต และไก่มีชีวิต เนื่องจากปริมาณผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจากการนำเข้าและการผลิตของเกษตรกรในประเทศ ขณะที่ความต้องการบริโภคยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มลดลง

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 5.1 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ จากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางของราคาตลาดโลก และเกลือสมุทร เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิต ทำให้มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก2. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2567 (MoM)ดัชนีโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว เนื่องจากความต้องการของโรงสีสูงขึ้นจากการที่ปริมาณข้าวเปลือกคงคลังเหลือน้อยในช่วงต้นฤดูกาลปลูกข้าวนาปี กลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางพารา เป็นการปรับตัวขึ้นจากความต้องการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปที่เพิ่มขึ้น ปาล์มน้ำมัน จากการที่ภาครัฐมีมาตรการกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ทุเรียน จากปริมาณผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาปรับลดลง ประกอบด้วย หัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากการเข้าสู่ฤดูฝนทำให้คุณภาพของผลผลิตลดลง ประกอบกับผลผลิตของประเทศผู้ผลิตรายสำคัญในภูมิภาคออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาในตลาดโลกลดลง พืชผัก (มะนาว ต้นหอม ผักชี ผักคะน้า) เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก และผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ กุ้งแวนนาไม เนื่องจากผลผลิตจากต่างประเทศเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกุ้งขนาดเล็กซึ่งเป็นขนาดที่เกษตรกรรายย่อยนิยมเพาะเลี้ยง

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 0.9 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว (คอนเดนเสท) และสินแร่โลหะ (แร่เหล็ก สังกะสี ดีบุก) เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)ราคาเคลื่อนไหวผันผวนแต่โดยภาพรวมปรับลดลงไม่มากนัก โดยมีปัจจัยกดดันราคาจากความต้องการใช้น้ำมันโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ โดยเฉพาะจีนและสหรัฐฯ รวมถึงการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางและจีนเข้าสู่ตลาดเอเชียมากขึ้น หลังจากปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางที่ยังมีความตึงเครียด รวมถึงการลดกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศกลุ่มโอเปกยังเป็นแรงหนุนราคาน้ำมัน กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวในทิศทางลดลงตามตลาดโลก กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก เอทานอล กรดกำมะถัน และปุ๋ยเคมีผสม เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับลดลง และกลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กเส้น ท่อเหล็กกล้า เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นชุบโครเมียม เนื่องจากปรับลดราคาเพื่อกระตุ้นยอดขาย รวมทั้งสินค้าบางรายการมีต้นทุนราคาวัตถุดิบลดลง

3. เฉลี่ย 6เดือน (ม.ค. -มิ.ย.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 2.6 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 7.6 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว อ้อย ยางพารา สับปะรด พืชผัก (ต้นหอม ผักชี พริกสด ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักกาดหอม) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มะนาว สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต โคมีชีวิต และกุ้งแวนนาไม

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 17.3 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ (NG) น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และสินแร่โลหะ (สังกะสี)

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.0 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 น้ำมันเครื่องบินและน้ำมันเตา กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น และถุงพลาสติก กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ข้าวนึ่ง ปลายข้าว น้ำตาลทราย น้ำสับปะรดสับปะรดกระป๋อง และนมพร้อมดื่ม กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ และกลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถบรรทุก และรถยนต์นั่ง ต่ำกว่า 1,800ซีซี4. ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 4.0 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.1

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 9.9 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว อ้อย ยางพารา สับปะรด พืชผัก (พริกสด ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ผักขึ้นฉ่าย ต้นหอม ผักชีแตงกวา) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ หัวมันสำปะหลังสด ผลปาล์มสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มะนาว สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต และกุ้งแวนนาไม

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 13.4 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ (NG)และสินแร่โลหะ (แร่เหล็ก)

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.1 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 น้ำมันเครื่องบินน้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น และถุงพลาสติก กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ข้าวนึ่ง ปลายข้าว น้ำตาลทราย น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง น้ำมันปาล์ม และแป้งมันสำปะหลัง กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ และกลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถบรรทุก และรถยนต์นั่ง ต่ำกว่า 1,800ซีซี

5. ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 2.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 4.9 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเหนียว อ้อย ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรด พืชผัก (มะนาว ต้นหอม ผักชี ผักคะน้า พริกสด ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักขึ้นฉ่าย) สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต และไข่ไก่ สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ หัวมันสำปะหลังสด ผลปาล์มสด และกุ้งแวนนาไมหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ (NG) และสินแร่โลหะ (แร่เหล็ก)

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และแผงวงจรพิมพ์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น ถุงพลาสติก และแผ่นฟิล์มพลาสติก กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และน้ำมันเตา และกลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถบรรทุก6. แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2567

ดัชนีราคาผู้ผลิตไตรมาสที่ 3 ปี 2567 มีแนวโน้มสูงขึ้น จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบบางประเภทและค่าขนส่งจากต่างประเทศสูงขึ้น กระทบตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดเกษตรกรรมที่ปรับตัวสูงขึ้น จากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และความต้องการสินค้าที่มีมากขึ้นในตลาดต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวดี อีกทั้งฐานราคาปี 2566 ที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงท้ายของไตรมาสที่ 3 อาจทำให้แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิตสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ราคาพลังงานในตลาดโลกที่ยังมีความผันผวนจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และสงครามการค้าระลอกใหม่ที่เริ่มต้นขึ้น รวมไปถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ทยอยดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศไทยตามลำดับ ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ