ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2567 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 52.3 จากระดับ 52.4 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19 (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 44.5 จากระดับ 44.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 57.5 จากระดับ 57.9 สาเหตุคาดว่ามาจาก 1) สถานการณ์ภายนอกประเทศส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้ชะลอตัว 2)ความเข้มงวดของธนาคารในการปล่อยสินเชื่อจากปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และ 3)ความกังวลต่อภาระค่าครองชีพและราคาพลังงาน อย่างไรก็ตาม มาตรการของภาครัฐต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริม ภาคการท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อธุรกิจการบริการและที่เกี่ยวข้อง เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนียังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่น
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า เศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.17 รองลงมา คือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 12.38 ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 10.53 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 8.28ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 7.08 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 6.07 การเมือง คิดเป็นร้อยละ 4.36 อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 1.80และภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ1.33 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคกลาง ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 52.5 มาอยู่ที่ระดับ 52.9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 54.7 มาอยู่ที่ระดับ 55.3โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรกคือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และราคาสินค้าเกษตรและภาคใต้จากระดับ 49.1มาอยู่ที่ระดับ49.6โดยปัจจัยที่ส่งผล ต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยราคาสินค้าเกษตรและมาตรการของภาครัฐ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีปรับตัวลดลงจากระดับ 54.3 มาอยู่ที่ระดับ 52.6โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือเศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคง และมาตรการของภาครัฐ ภาคเหนือ จากระดับ 50.5มาอยู่ที่ระดับ 49.8โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และราคาสินค้าเกษตร ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ พนักงานเอกชน จากระดับ 51.1 มาอยู่ที่ระดับ51.3 และพนักงานของรัฐ จากระดับ 57.6 มาอยู่ที่ระดับ 57.7โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทยมาตรการของภาครัฐและสังคม/ความมั่นคง
รับจ้างอิสระ จากระดับ 49.0 มาอยู่ที่ระดับ 49.2โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐและผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เกษตรกร ดัชนีปรับตัวลดลงจากระดับ 52.4 มาอยู่ที่ระดับ 52.1 โดยปัจจัย ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และมาตรการของภาครัฐ
ผู้ประกอบการ จากระดับ 54.2มาอยู่ที่ระดับ53.7 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
นักศึกษา จากระดับ 53.0มาอยู่ที่ระดับ 52.5 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคงและเศรษฐกิจโลก
ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ จากระดับ 49.9 มาอยู่ที่ระดับ 47.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และสังคม/ความมั่นคง
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง จากระดับ 48.5 มาอยู่ที่ระดับ42.5 ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์