ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนตุลาคม 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 7, 2024 14:15 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกันยายน2567 เท่ากับ 108.68(ปีฐาน 2562 =100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนกันยายน2566 (YoY)สูงขึ้น0.61 2. เดือนสิงหาคม 2567 (MoM) ลดลง-0.10 3. เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2567

สูงขึ้น0.20 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) 4. ไตรมาสที่ 3ปี 2567เทียบกับไตรมาสเดียวกัน

          สูงขึ้น0.60 ของปีก่อน (YoY) 5. ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า(QoQ) สูงขึ้น0.21 Highlight sดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนกันยายน 2567 เท่ากับ 108.68 เมื่อเทียบกับ           เดือนเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.61 (YoY) โดยปัจจัยสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งสูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนรวมถึงผักสดบางชนิดได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย อย่างไรก็ตาม ราคาแก๊สโซฮอล์และน้ำมันเบนซินปรับลดลงในทิศทางที่สอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลก และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงร้อยละ 0.10 (MoM)เป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ (แก๊สโซฮอล์และน้ำมันเบนซิน) และราคาผลไม้สดบางชนิดลดลง และเมื่อเทียบเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค. -ก.ย.) 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.20 (AoA)ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.77 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.11 (MoM)และเมื่อเทียบเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค. -ก.ย.) 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.48 (AoA)1. เทียบกับเดือนกันยายน 2566 สูงขึ้นร้อยละ 0.61(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.25 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 1.35 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 1.43 จากการสูงขึ้นของราคานมสด ไข่ไก่ และไข่เป็ด กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 12.76 จากการสูงขึ้นของราคามะเขือ พริกสด และแตงกวา กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 6.01 จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ มะม่วง และกล้วยน้ำว้า กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.73       กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 2.36 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน และกาแฟ (ร้อน/เย็น) กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 2.08  จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และผัดซีอิ๊ว/ราดหน้า ของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 0.68 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู *หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.55 ตามการลดลงของสินค้า     หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.25 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 1.35 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 1.43 จากการสูงขึ้นของราคานมสด ไข่ไก่ และไข่เป็ด กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 12.76 จากการสูงขึ้นของราคามะเขือ พริกสด และแตงกวา กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 6.01 จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ มะม่วง และกล้วยน้ำว้า กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.73       จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป และมะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด)         กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 2.36 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน และกาแฟ (ร้อน/เย็น) กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 2.08  จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และผัดซีอิ๊ว/ราดหน้า และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 2.77 จากการสูงขึ้น                       ของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 0.68 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.55 ตามการลดลงของสินค้า     ในหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.66 จากการลดลงของราคาเสื้อยืดบุรุษและสตรี และเสื้อเชิ้ตบุรุษและสตรี หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ลดลงร้อยละ 0.11        จากการลดลงของราคาแชมพู สบู่ถูตัว และผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว และหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ 1.78 จากการลดลงของราคาแก๊สโซฮอล์ในขณะที่สินค้า        ที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.35 จากการสูงขึ้นของค่าเช่าบ้าน             ไม้กวาด และผ้าปูที่นอน หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.64                จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระ และค่าเล่าเรียน -ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาครัฐบาล และภาคเอกชน และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.33 จากการสูงขึ้นของราคาสุรา บุหรี่ และเบียร์

2. เทียบกับเดือนสิงหาคม 2567 ลดลงร้อยละ 0.10 (MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.36 ตามการลดลงของสินค้าในหมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.05 จากการลดลงของราคาน้ำยาปรับผ้านุ่ม     น้ำยาล้างจาน และน้ำยาล้างห้องน้ำ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.14 จากการลดลงของราคาแป้งทาผิวกาย และน้ำยาบ้วนปาก       และหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ 0.82 จากการลดลงของราคาแก๊สโซฮอล์และน้ำมันเบนซิน ในขณะที่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่           หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าสูงขึ้นร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อยืดบุรุษ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.05 จากการสูงขึ้นของราคา เครื่องถวายพระ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.03    จากการสูงขึ้นของราคาสุรา และเบียร์หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.25 ตามการสูงขึ้น      ของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 0.40 จากการสูงขึ้น   ของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมปังปอนด์ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 0.28 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร และปลาทู กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 0.11 จากการสูงขึ้นของราคานมผง และไข่เป็ด กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.04 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องปรุงรส  และเกลือป่น กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.32 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม และน้ำปั่นผลไม้/ผัก กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.13 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป  ก๋วยเตี๋ยว และยำประเภทต่างๆ และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.03      จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น 3. เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค. -ก.ย.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.20(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลงของสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.51 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 3.37 จากการสูงขึ้น   ของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้น   ร้อยละ 3.07 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ นมสด และนมผง กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 3.62 จากการสูงขึ้นของราคาขิง มะเขือ และถั่วฝักยาว กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 2.89 จากการสูงขึ้นของราคาทุเรียน มะม่วง และกล้วยหอม      กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.47 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.97   จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ (ร้อน/เย็น) และน้ำหวาน      กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.18 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านสูงขึ้น      ร้อยละ 1.06 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 3.85จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทู หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.03 ตามการลดลง    ของสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.37 จากการลดลง   ของราคาเสื้อยืดบุรุษและสตรี และเสื้อเชิ้ตบุรุษและสตรี และหมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.39 จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก           และน้ำยาปรับผ้านุ่ม ในขณะที่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.30 จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน และค่าแต่งผมสตรี หมวดพาหนะการขนส่ง   และการสื่อสารสูงขึ้น    ร้อยละ 0.08 จากการสูงขึ้นของราคาค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง            ค่ารถรับส่งนักเรียน และค่าโดยสารเครื่องบิน หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.57 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระและค่าเล่าเรียน -ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาครัฐบาลและภาคเอกชนและหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.37 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ สุรา และไวน์4. ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.60 (YoY) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.78 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 2.63 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 1.99กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 8.82 กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 5.32กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.66 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 2.08กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านและกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.81และ 2.03ตามลำดับสำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 1.36 หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.24 ตามการลดลงของสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.59              หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.46 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.16 และหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลง        ร้อยละ 0.28 ในขณะที่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.62 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.48 5. ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.21 (QoQ) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.80 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 0.60 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 0.26 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้น           ร้อยละ 2.39 กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 5.93 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.52 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.13                กลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.55 ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 5.36 และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารลดลง     ร้อยละ 0.14 หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.21 ตามการลดลงของสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.26             หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.01 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.28 และหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลง        ร้อยละ 0.47 ในขณะที่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.23 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.10

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าสูงขึ้นทุกภูมิภาค โดยอัตราเงินเฟ้อของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยสูงขึ้นร้อยละ 0.78รองลงมา ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้น ร้อยละ 0.67 ภาคกลาง สูงขึ้นร้อยละ 0.66 ภาคเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 0.64 และภาคใต้ สูงขึ้นร้อยละ 0.12

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันดีเซลสำหรับสินค้าที่ปรับตัวลดลงในทุกภาค ได้แก่ ส้มเขียวหวาน น้ำมันพืช ผงซักฟอก และแก๊สโซฮอล์7. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ปี 2567

          แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2567 โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นได้แก่ (1) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศที่กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) ผลกระทบจากฝนตกหนักและน้ำท่วมในบางพื้นที่ อาจสร้างความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตร ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าการเกษตร โดยเฉพาะผักสด ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเป็นผลกระทบระยะสั้น                                            และ (3)สินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาค่าโดยสารเครื่องบิน ซึ่งเป็นการปรับตัวที่สอดคล้องกับฤดูกาลท่องเที่ยว ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงได้แก่ (1)ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้า (ไตรมาสที่ 4ปี 2566 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 80ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ระดับใกล้เคียงกับ 70ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ซึ่งส่งผลให้ราคาแก๊สโซฮอล์ปรับตัวลดลง (2)การแข็งค่าของเงินบาททำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าลดลง โดยเฉพาะสินค้าที่มีสัดส่วนในตะกร้าเงินเฟ้อสูง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น  และ (3)คาดว่าผู้ประกอบการค้าส่ง -ค้าปลีกรายใหญ่ จะมีการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง หลังจากภาครัฐได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกไปแล้ว
          ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 จากเดิมอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 0.0-1.0  (ค่ากลางร้อยละ 0.5) เป็นระหว่าง                 ร้อยละ  0.2 -0.8 (ค่ากลางร้อยละ 0.5)

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ