ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนตุลาคม 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 7, 2024 14:18 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

(YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดสำคัญ ๆ ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดวัสดุฉาบผิว และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีปัจจัยเร่งจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ ทั้งโครงการใหม่และโครงการต่อเนื่อง หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นตามต้นทุนค่าดำเนินการและค่าวัตถุดิบ สำหรับหมวดที่ดัชนีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กเนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้มีอุปทานเหล็กส่วนเกินสูงกดดันให้ราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชีย จีน) และในประเทศลดลง หมวดซีเมนต์ หมวดกระเบื้อง และหมวดสุขภัณฑ์ ลดลงจากการชะลอตัวของโครงการก่อสร้างภาคเอกชน เนื่องจากกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศลดลง จากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของดัชนีราคาเกือบทุกหมวดอาทิหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงต่อเนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบ (บิลเล็ต เศษเหล็ก) ในตลาดโลกและในประเทศที่ลดลง หมวดซีเมนต์ หมวดกระเบื้อง ลดลงเนื่องจากการแข่งขันสูง และตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ หมวดวัสดุฉาบผิว หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงตามราคาวัตถุดิบ ส่วนหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นตามราคาพลังงาน (ถ่านหิน) 1. เทียบกับเดือนกันยายน 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้สูงขึ้นร้อยละ4.6 จากการสูงขึ้นของไม้แบบไม้โครงคร่าวไม้คานวงกบประตูและบานหน้าต่างเนื่องจากต้นทุนค่าดำเนินการสูงขึ้น

หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 1.0 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากมีการแข่งขันสูง และความต้องการใช้ที่ลดลงตาม การชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ท่อระบายน้ำคอนกรีต และคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจ

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 2.6 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง และชีทไพล์เหล็ก จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังไม่ฟื้นตัวทำให้มีอุปทานเหล็กส่วนเกินสูงกดดันให้ราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชีย จีน) และในประเทศลดลง

          หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.7 จากการลดลงของกระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องเคลือบปูพื้น และกระเบื้องยาง.PVCปูพื้น เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของ           ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง เนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างถนนของโครงการก่อสร้างภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 2.9 จากการลดลงของราคาโถส้วมชักโครก ฝักบัวอาบน้ำ และราวจับสแตนเลส เนื่องจากมีความต้องการใช้ที่ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 2.9 จากการสูงขึ้นของสายส่งกำลังไฟฟ้า NYY สายไฟฟ้า VCTเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ และถังบำบัดน้ำเสีย ระบบไม่อัดอากาศ ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ทองแดง เม็ดพลาสติก) เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 6.2 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย เนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างถนนของโครงการก่อสร้างภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น

2.เทียบกับเดือนสิงหาคม 2567 (MoM) ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.5 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากมีการแข่งขันสูง และความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.8 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย ชีทไพล์เหล็ก และท่อเหล็กดำ จากต้นทุนราคาวัตถุดิบ (บิลเล็ต เศษเหล็ก) และราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชีย จีน) และในประเทศลดลง

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา และกระเบื้องเคลือบปูพื้น เนื่องจากการแข่งขันสูง และตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน

หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 1.3 จากการลดลงของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง สีรองพื้นปูน และสีน้ำอะคริลิคทาภายนอก เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี) ลดลง

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.2 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก จากราคาวัตถุดิบ (แร่ยิปซั่ม) ลดลงหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของสายส่งกำลังไฟฟ้า NYY สายเคเบิล THWและสายไฟฟ้า VCTตามการลดลงของราคาวัตถุดิบ (ทองแดง) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 2.4 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย ตามราคาพลังงาน (ถ่านหิน) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และความต้องการใช้ในการก่อสร้างถนนของโครงการก่อสร้างภาครัฐเพิ่มขึ้น3. เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค. -ก.ย.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) ลดลงร้อยละ 0.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 4.9 จากการสูงขึ้นของไม้แบบ ไม้โครงคร่าว ไม้พื้น และบานประตู จากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งค่าดำเนินการและวัตถุดิบ

หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป จากต้นทุนพลังงาน (ถ่านหิน) ที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และการแข่งขันสูง

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ท่อระบายน้ำคอนกรีต และคอนกรีตผสมเสร็จ มีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เป็นโครงการต่อเนื่อง

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 2.6 จากการลดลงของชีทไพล์เหล็ก เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย และลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังไม่ฟื้นตัวทำให้มีอุปทานเหล็กส่วนเกินสูง กดดันให้ราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชีย จีน) และในประเทศลดลง

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของกระเบื้องยาง PVCปูพื้น กระเบื้องเคลือบบุผนัง และกระเบื้องลอนคู่ เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสูงขึ้นของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง สีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะคริลิคทาภายในและภายนอก ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ (ผงสี กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 3.3 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก ราวจับสแตนเลส และฝักบัวอาบน้ำ เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.9 จากการสูงขึ้นของสายไฟฟ้า VCT สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ และท่อ PVCเนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบ (ทองแดง เม็ดพลาสติก) สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 0.7 จากการลดลงของยางมะตอย เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงาน (ถ่านหิน) เฉลี่ยปรับลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และหน้าต่าง UPVC เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง

4.ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.6 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 4.7 จากการสูงขึ้นของไม้แบบ ไม้ฝา ไม้คาน และเสาเข็มไม้ จากต้นทุนการผลิตและค่าดำเนินการที่สูงขึ้น

หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนราคาพลังงาน (ถ่านหิน) ลดลง และการแข่งขันสูง

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ถังซีเมนต์สำเร็จรูป ชีทไพล์คอนกรีต และคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 2.1 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบเหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย และลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง ตามการลดลงของราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชีย จีน) และในประเทศ

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของกระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องเคลือบบุผนังและกระเบื้องยาง PVCปูพื้น ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากความเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากการสูงขึ้นของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง และสีน้ำอะคริลิคทาภายนอก เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี) ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 3.4 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก ฝักบัวอาบน้ำ และราวจับสแตนเลส ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 3.4 จากการสูงขึ้นของสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYและสายไฟฟ้า VCTเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (ทองแดง) สูงขึ้น และความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 4.1 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย ตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน5.ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)สูงขึ้นร้อยละ 0.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดกระเบื้อง ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากการแข่งขันสูง

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และชีทไพล์คอนกรีต เนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจ

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 1.2 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย ชีทไพล์เหล็ก และท่อเหล็กดำ ตามการลดลงของราคาวัตถุดิบ (บิลเล็ต เศษเหล็ก) และราคาเหล็กในตลาดโลก (เอเชีย จีน) ที่ลดลง

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของสีทาถนน ชนิดสะท้อนแสง และสีน้ำอะคริลิค ทาภายนอกตามการสูงขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ (ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ผงสี)

หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก และอ่างล้างหน้าเซรามิก เนื่องจากมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.9 จากการสูงขึ้นของสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYและสายไฟฟ้า VCTเนื่องจากราคาวัตถุดิบ (ทองแดง) สูงขึ้น รวมทั้ง มีความต้องการใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 3.2 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย ตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไตรมาสที่ 4 ปี 2567 มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 จากการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณการก่อสร้างโครงการของภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ ทั้งโครงการใหม่และโครงการต่อเนื่อง ความต้องการใช้ในการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร และที่อยู่อาศัย ที่เพิ่มมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยเชิงบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของประเทศจีน อาจส่งผลให้ราคาเหล็กและวัตถุดิบในการผลิตเหล็ก (บิลเล็ต เศษเหล็ก) ในตลาดโลกและในประเทศปรับราคาสูงขึ้น และต้นทุนราคาน้ำมันและพลังงานมีความผันผวนสูงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์

อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้มีการเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน ส่งผลให้อุปสงค์ของภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 2567 ชะลอตัว อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 6. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไตรมาสที่ 4ปี 2567

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ