ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนกันยายน 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.6 จากระดับ 49.5 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับเพิ่มมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เป็นการปรับเพิ่มมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 43.1 จากระดับ 41.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 57.2 จากระดับ 55.1 สาเหตุของ การปรับเพิ่มคาดว่ามาจาก 1) ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากแนวโน้มการขยายตัวของภาคการส่งออกและปัจจัยฤดูกาลช่วงปลายปี 2)การดำเนินนโยบายภาครัฐที่เร่งแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์โดยตรง พร้อมทั้งมีการดำเนินการเรียบร้อยแล้วในกลุ่มเปราะบาง และ 3)ราคาพืชเศรษฐกิจสำคัญ หลายรายการปรับตัวดีขึ้น อาทิ ข้าว ปาล์มน้ำมัน และยางพารา เป็นต้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจโลกในภาพรวมมีแนวโน้มชะลอตัวสะท้อนจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯประกอบกับภาวะอุทกภัยภายในประเทศที่สร้างความเสียหายต่อครัวเรือนและพื้นที่เกษตรกรรมเป็นปัจจัยกดดันที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไปปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า เศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.59 รองลงมา คือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 13.61เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 7.48 การเมือง คิดเป็นร้อยละ 6.95 ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 6.50 สังคม/ความมั่นคงคิดเป็นร้อยละ 5.43ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 4.23 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 3.23และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 1.99ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค
กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ54.0 มาอยู่ที่ระดับ 57.5 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรกคือ เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก และ ภัยพิบัติ/โรคระบาด
ภาคกลาง จากระดับ 49.7มาอยู่ที่ระดับ 50.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และเศรษฐกิจโลก
ภาคเหนือ จากระดับ 46.3มาอยู่ที่ระดับ 48.9โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และการเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากระดับ 51.7มาอยู่ที่ระดับ 53.2 และภาคใต้จากระดับ 45.8 มาอยู่ที่ระดับ 48.1โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และราคาสินค้าเกษตรดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ
เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอาชีพ
เกษตรกร ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 50.6มาอยู่ที่ระดับ 50.9โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และมาตรการของภาครัฐ
พนักงานของรัฐ จากระดับ 53.2 มาอยู่ที่ระดับ 56.1 ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ จากระดับ 44.4 มาอยู่ที่ระดับ 46.0 และรับจ้างอิสระ จากระดับ 46.8มาอยู่ที่ระดับ 48.4โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และการเมือง
พนักงานเอกชน จากระดับ 48.7มาอยู่ที่ระดับ 51.1 และผู้ประกอบการ จากระดับ 50.0มาอยู่ที่ระดับ 53.2 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และเศรษฐกิจโลก
นักศึกษา จากระดับ 48.8 มาอยู่ที่ระดับ 52.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย สังคม/ ความมั่นคง และมาตรการของภาครัฐ
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 41.3มาอยู่ที่ระดับ 43.5