ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพฤศจิกายน 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 4, 2024 14:44 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนพฤศจิกายน 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.2 จากระดับ 52.9 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับเพิ่มมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 45.1 จากระดับ 44.8 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 58.5 จากระดับ 58.3 สาเหตุของการปรับเพิ่มคาดว่ามาจาก 1) การดาเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ช่วยส่งเสริมการบริโภคในประเทศ 2) การส่งออกขยายตัวดีตามความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารที่เพิ่มขึ้น และ 3) ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวช่วงปลายปีส่งผลดีต่อภาคธุรกิจบริการและสร้างรายได้เข้าประเทศ อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อและมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกาอาจเพิ่มแรงกดดันต่อสงครามการค้า ประกอบกับหนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับสูงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

เมื่อพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า เศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 49.81 รองลงมา คือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 14.72 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 8.62 ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 7.20เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 6.71 การเมือง คิดเป็นร้อยละ 4.98 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 4.21 ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 1.98 และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 1.77 ตามลำดับ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายภาค

เมื่อพิจารณารายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น 4 ภูมิภาค ขณะที่ภาคกลางปรับลดลง

กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ55.8 มาอยู่ที่ระดับ 56.0 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคง และมาตรการของภาครัฐ

ภาคเหนือ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 50.4 มาอยู่ที่ระดับ 51.6 และภาคใต้จากระดับ 48.9 มาอยู่ที่ระดับ 50.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และราคาสินค้าเกษตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 56.0 มาอยู่ที่ระดับ 56.2 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และเศรษฐกิจโลก

ภาคกลาง ปรับตัวลดลงจากระดับ 52.7 มาอยู่ที่ระดับ 51.6 แต่ยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่น โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และราคาสินค้าเกษตร

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ

เมื่อพิจารณาจำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ พนักงานเอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ52.1 มาอยู่ที่ระดับ 52.7 ผู้ประกอบการ จากระดับ 54.2 มาอยู่ที่ระดับ 54.6 และพนักงานของรัฐ จากระดับ 55.0 มาอยู่ที่ระดับ 57.4โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และสังคม/ความมั่นคง

ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 47.3 มาอยู่ที่ระดับ 49.1 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และการเมือง

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง แต่ยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่นได้แก่ เกษตรกร ปรับตัวลดลงจากระดับ 53.2 มาอยู่ที่ระดับ 52.8 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย ราคาสินค้าเกษตร และมาตรการของภาครัฐ และนักศึกษา ปรับตัวลดลงจากระดับ 55.3 มาอยู่ที่ระดับ 54.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคงและเศรษฐกิจโลก

รับจ้างอิสระ ปรับตัวลดลงจากระดับ 50.9 มาอยู่ที่ระดับ 49.8 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจไทย มาตรการของภาครัฐ และสังคม/ความมั่นคง

เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 48.4 มาอยู่ที่ระดับ 49.7

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ