ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน2567 เท่ากับ 108.47(ปีฐาน 2562 =100)
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนพฤศจิกายน2566 (YoY)สูงขึ้น0.95 2. เดือนตุลาคม 2567 (MoM) ลดลง0.13 3. เฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ปี 2567
สูงขึ้น0.32 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) Highlight sดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนพฤศจิกายน 2567 เท่ากับ 108.47 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.95 (YoY)โดยปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล เป็นผลจากฐานราคาต่ำในปีก่อนหน้า และราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นจากราคาผลไม้สด เครื่องประกอบอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 0.13 (MoM)ตามการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผักสด เนื่องจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นหลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต และกลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการทำความสะอาด อาทิ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน และน้ำยาล้างห้องน้ำ เนื่องจากมีการส่งเสริมการตลาดของผู้ผลิตและผู้ประกอบการ และเมื่อเทียบเฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค. -พ.ย.) ของปี 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.32 (AoA)
ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.80 (YoY)เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.10 (MoM)และเมื่อเทียบเฉลี่ย 11เดือน (ม.ค. -พ.ย.) ของปี 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.55 (AoA)
1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 สูงขึ้นร้อยละ 0.95(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.28ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 0.86 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้าขนมอบ และอาหารธัญพืช กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 0.59 จากการสูงขึ้นของราคาปลานิล ไก่สด และกุ้งขาว กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 5.66 จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ มะม่วง และกล้วยน้ำว้า กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 1.96 จากการสูงขึ้นของราคา มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) น้ำตาลทราย และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 3.26จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม และกาแฟ (ร้อน/เย็น) กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.83จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 2.84 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.49 จากการลดลงของราคาไข่ไก่ นมเปรี้ยว และครีมเทียม และกลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 4.55จากการลดลงของราคาผักคะน้า มะนาว และมะละกอดิบ *หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.70 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.43 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า และค่าเช่าบ้านหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 1.38 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซลเป็นสำคัญ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.49จากการสูงขึ้นของราคาค่าเล่าเรียน -ค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น ค่าทัศนาจรต่างประเทศและค่าถ่ายเอกสาร และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.83 จากการสูงขึ้นของราคาสุรา และเบียร์ ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.51จากการลดลงของราคาเสื้อยืดบุรุษ กางเกงขายาวบุรุษ และเสื้อเชิ้ตบุรุษและหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.35จากการลดลงของราคา แชมพู สบู่ถูตัว และผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว
2. เทียบกับเดือนตุลาคม 2567 ลดลงร้อยละ 0.13 (MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.42 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 1.86 จากการลดลงของราคาไข่ไก่ นมเปรี้ยว และครีมเทียม กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 7.10 จากการลดลงของราคาผักกาดขาว ผักชี และกะหล่ำปลี และกลุ่มผลไม้สดลดลงร้อยละ 2.88 จากการลดลงของราคาส้มเขียวหวาน มะละกอสุก และกล้วยน้ำว้า ในขณะที่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 1.06 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 0.37จากการสูงขึ้นของราคาไก่ย่าง ปลานิล และปลาทู กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 1.24 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) และซอสหอยนางรม กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.50 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม กาแฟ (ร้อน/เย็น ) และเครื่องดื่มรสช็อกโกแลต และกลุ่มอาหารบริโภค -ในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.22 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารโทรสั่ง (delivery) กับข้าวสำเร็จรูป และข้าวแกง/ข้าวกล่อง สำหรับสินค้าในกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.09 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.09จากการสูงขึ้นของราคาครีมนวดผม แป้งทาผิวกาย และผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.21 จากการสูงขึ้นของราคาแก๊สโซฮอล์ เป็นสำคัญ ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.02 จากการลดลงของราคากางเกงขายาวสตรี และเสื้อยกทรง หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.01 จากการลดลงของราคาผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น (น้ำยาถูพื้น) และน้ำยารีดผ้า และหมวดการบันเทิง การอ่านการศึกษาฯลดลงร้อยละ 0.02 จากการลดลงของราคาค่าห้องพักโรงแรม เครื่องถวายพระและอาหารสัตว์เลี้ยง สำหรับสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง3. เฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค. -พ.ย.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.32(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.71 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 2.84จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 2.58 จากการสูงขึ้นของราคานมสด ไข่ไก่ และนมผง กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 2.98 จากการสูงขึ้นของราคาต้นหอม ขิง และมะเขือ กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 3.45 จากการสูงขึ้นของราคาทุเรียน มะม่วง และกล้วยน้ำว้า กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.68จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทราย และมะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 2.18จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ (ร้อน/เย็น) และน้ำหวาน กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.29 4. อัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค เดือนพฤศจิกายน 2567 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่องและผัดซีอิ๊ว/ราดหน้า และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.39 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง คือ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 3.09 จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร และปลาทูหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.05 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.16 จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน และค่าแต่งผมสตรี หมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.16 จากการสูงขึ้นของราคาค่ารถรับส่งนักเรียน และค่าโดยสารเครื่องบิน หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.56 จากการสูงขึ้นของราคาค่าเล่าเรียน -ค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้นและค่าถ่ายเอกสาร และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.27 จากการสูงขึ้นของราคาสุรา บุหรี่ และเบียร์ ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.39จากการลดลงของราคาเสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ และเสื้อเชิ้ต และหมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.24จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่มดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค
ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าสูงขึ้นทุกภูมิภาค โดยอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ เพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยสูงขึ้นร้อยละ 1.14รองลงมา ได้แก่ ภาคกลางสูงขึ้นร้อยละ 0.98 กรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้นร้อยละ 0.91ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 0.89และภาคเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 0.83
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันดีเซล ค่ากระแสไฟฟ้า และกาแฟผงสำเร็จรูป สำหรับสินค้าที่ปรับตัวลดลงในทุกภาค ได้แก่ ผักคะน้า และแก๊สโซฮอล์95
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์