ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA:Classificationof ProductsbyActivity)เดือนพฤศจิกายน 2567 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ111.2 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 ลดลงร้อยละ 0.1 (YoY)ประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.4 จากกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี โลหะขั้นมูลฐาน (เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก) ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหาร และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 17.2 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ได้จากการทำเหมือง ในขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 8.8 เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน สับปะรดโรงงาน สุกรมีชีวิต และกุ้งแวนนาไม
ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing)ประกอบด้วย ดัชนีราคาหมวดสินค้าสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.6 จากราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ทองคำกุ้งแวนนาไม สับปะรดโรงงาน ทุเรียน และต้นหอม ขณะที่ดัชนีหมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป) ลดลงร้อยละ 4.3 จากการลดลงของสินค้าสำคัญ ได้แก่น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน มันเส้น ปลาป่น น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง และดัชนีหมวดสินค้าวัตถุดิบ ลดลงร้อยละ 2.1 โดยมีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสท1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 (YoY)ลดลงร้อยละ 0.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา น้ำมันก๊าด น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เอทานอล สารพอลิเมอร์ (เอทีลีน โพรพีลีน) สารเคมี (เบนซีน ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เพียวเทเรฟธาลิคแอซิด) เม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น (โพลีไวนิลคลอไรด์ โพลีเอทีลีน โพลีโพรพิลีน)ปรับราคาตามวัตถุดิบที่ลดลง กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแท่ง เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ท่อเหล็กกล้า เหล็กเส้นกลมข้ออ้อย เหล็กฉาก เหล็กรูปตัวซี ตามปัจจัยความต้องการชะลอตัวและต้นทุนการผลิตที่ลดลง กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แผงวงจรพิมพ์ IntegratedCircuit(IC)อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์หน่วยรับข้อมูล/แสดงผล กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ปลาป่น เนื้อปลาบด กุ้งแช่แข็ง ปลาหมึกแช่แข็ง ข้าวโพดหวานกระป๋อง ข้าวนึ่ง มันเส้นแป้งมันสำปะหลัง น้ำตาลทราย เกลือป่น เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออกราคาลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทซึ่งแข็งค่ามากกว่าปีที่แล้ว ขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น เนื่องจากผลผลิตมีน้อยแต่มีอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ และกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ เคลื่อนไหวตามราคากลไกตลาดโลก และอุปกรณ์กีฬา (ลูกเทนนิส ลูกฟุตบอล ไม้แบดบินตัน) ปรับราคาขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้น 1. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 (YoY)ลดลงร้อยละ 0.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 17.2 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว (คอนเดนเสท) และแร่เหล็ก ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ได้จากการทำเหมือง ได้แก่ ยิปซัม โดโลไมต์ ทราย เกลือสมุทร ซึ่งราคาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 8.8 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย อ้อย เนื่องจากปริมาณผลผลิตในตลาดโลกมีน้อยจากภาวะแล้ง ปาล์มน้ำมัน จากความต้องการเชื้อเพลิงไบโอดีเซลในตลาดโลกสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณผลผลิตมีน้อยจากภาวะแล้ง ยางพารา เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการเปิดตลาดส่งออกในภูมิภาคใหม่ ทำให้ความต้องการสินค้าสำหรับส่งออกเพิ่มขึ้น ทุเรียน และสับปะรดโรงงาน จากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สุกรมีชีวิต จากต้นทุนการเพาะเลี้ยงที่สูงขึ้น และฐานของราคาในปีก่อนที่ต่ำจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในปริมาณมาก และกุ้งแวนนาไม จากปริมาณผลผลิตที่มีน้อยจากต้นทุนการเพาะเลี้ยงที่สูงขึ้น สำหรับสินค้าที่ราคาปรับลดลง ประกอบด้วย ข้าวเปลือกเจ้า จากฐานราคาของปีก่อนที่สูง ประกอบกับประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญยกเลิกมาตรการระงับการส่งออก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคปศุสัตว์ลดลงกว่าปีก่อน หัวมันสำปะหลังสด จากคุณภาพผลผลิตในปีนี้ลดลงจากโรคใบด่าง และสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปีที่ผ่านมา พืชผัก (มะนาว คะน้า กวางตุ้ง) จากฐานของปีก่อนที่สูงจากภาวะแล้ง โคมีชีวิต และไก่มีชีวิต จากความต้องการบริโภคยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มลดลง2. เทียบกับเดือนตุลาคม 2567 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าที่สำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา น้ำมันก๊าด และก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG)ราคาเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นตามทิศทางตลาดโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แผงวงจรพิมพ์ IntegratedCircuit(IC)อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หน่วยรับข้อมูล/แสดงผล ราคาปรับสูงขึ้นตามอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาท กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ ตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแท่ง เหล็กเส้นกลม ตามอุปสงค์ของตลาดที่ลดลง กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น ถุงพลาสติก กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ คลอรีน เอทานอล สารเคมี (ไซลีน เบนซีน ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เพียวเทเรฟธาลิคแอซิด) เม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น (โพลีไวนิลคลอไรด์ โพลีเอทีลีน)ปรับราคาตามต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมงลดลงร้อยละ 1.9 จากการลดลงของสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า จากการที่ประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญยกเลิกมาตรการระงับการส่งออก ประกอบกับการเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวในภูมิภาค ทำให้ปริมาณผลผลิตในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ฝนที่ตกในหลายพื้นที่ทำให้คุณภาพผลผลิตลดลง ยางพารา จากราคารับซื้อที่ลดลงจากช่วงก่อนหน้าที่ราคาอยู่ในระดับสูง ประกอบกับฝนที่ตกในหลายพื้นที่ทำให้คุณภาพผลผลิตลดลง พืชผัก (มะนาว คะน้า กะหล่ำปลี) จากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดมาก และราคาที่สูงในเดือนก่อนจากเทศกาลกินเจ สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นได้แก่ หัวมันสำปะหลังสด จากคุณภาพของผลผลิตที่เพิ่มขึ้นหลังสิ้นสุดช่วงฤดูฝนในพื้นที่เพาะปลูก ปาล์มน้ำมัน จากการที่ความต้องการด้านพลังงานของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงใกล้สิ้นปี ในขณะที่ปริมาณสินค้าคงเหลือภาพรวมในตลาดโลกลดลง สัตว์น้ำจากการประมง (ปลากะพง ปลาทูสด หมึกกล้วย) จากความต้องการบริโภคที่สูงขึ้นในช่วงใกล้สิ้นปี และกุ้งแวนนาไม ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงจากต้นทุนการเพาะเลี้ยงที่สูงขึ้น
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 2.5 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และก๊าซธรรมชาติ (NG)เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก 3. เฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค. -พ.ย.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 1.7 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 8.7 โดยราคาสินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย ข้าวเปลือกเจ้า อ้อย ยางพารา ผลปาล์มสด มะพร้าวทุเรียน สับปะรด และกุ้งแวนนาไมส่วนราคาสินค้าสำคัญที่ลดลง ประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หัวมันสำปะหลังสด สุกรมีชีวิต และโคมีชีวิต
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน ผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว น้ำมันปาล์มดิบ น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง น้ำตาลทราย และไก่สดแช่เย็นหรือแช่แข็ง เครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 13.4 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันปิโตรเลียมดิบ4. แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนธันวาคม 2567
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนธันวาคม ปี 2567มีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย จากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (1) การเข้าสู่เทศกาลในช่วงสิ้นปี ส่งผลให้ความต้องการสินค้าจากทั้งภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจและภาคการท่องเที่ยวสูงขึ้น (2) ปัจจัยค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากช่วงที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าส่งออกและต้นทุนวัตถุดิบนำเข้า (3) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในหลายภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่กดดันที่สำคัญ ได้แก่ (1) ปริมาณของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศที่เข้ามาเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของสงครามการค้าทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และ (2) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ยังไม่ ฟื้นตัวตามที่คาด ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์