ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม2567 เท่ากับ 108.28(ปีฐาน 2562 =100)
เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนธันวาคม2566 (YoY)สูงขึ้น1.23 2. เดือนพฤศจิกายน 2567 (MoM) ลดลง0.18 3. เฉลี่ย 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.) ปี 2567
สูงขึ้น0.40 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) 4. ไตรมาสที่ 4ปี 2567เทียบกับไตรมาสเดียวกัน
สูงขึ้น1.00 ของปีก่อน (YoY) 5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า(QoQ) ลดลง0.26 Highlight sดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนธันวาคม 2567 เท่ากับ 108.28 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 1.23 (YoY)โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นผลจากฐานราคาต่ำในปีก่อน รวมทั้งราคาสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มฯ สูงขึ้น จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มผลไม้สด เครื่องประกอบอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 0.18 (MoM)ตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มผักสด เนื่องจากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปี 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.40 (AoA) โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่มฯ โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูป ผลไม้สด และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตามมีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันดีเซล
ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.79 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.05 (MoM) และเฉลี่ยทั้งปี 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.56 (AoA)1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2566 สูงขึ้นร้อยละ 1.23(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.28 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 1.43 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 0.26 จากการสูงขึ้นของราคาปลานิล กุ้งขาว และปลาทูนึ่งกลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 5.08จากการสูงขึ้นของราคาเงาะ มะม่วง และกล้วยน้ำว้า กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 1.90 จากการสูงขึ้นของราคามะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ซอสหอยนางรม และน้ำพริกแกง กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 3.34 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ (ร้อน/เย็น) และน้ำอัดลม กลุ่มอาหารบริโภค -ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 1.88 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภค -นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 2.91 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.96 จากการลดลงของราคาไข่ไก่ และนมเปรี้ยว และกลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 3.91 จากการลดลงของราคาพริกสด มะเขือเทศ และมะนาว*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.21 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.39จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน และค่าแรงกระเบื้องปูพื้น หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 2.71 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.37จากการสูงขึ้นของราคาค่าเล่าเรียน -ค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น และค่าทัศนาจรต่างประเทศ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.82 จากการสูงขึ้นของราคาสุรา และเบียร์ ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.51 จากการลดลงของราคาเสื้อยืดบุรุษ กางเกงขายาวบุรุษ และเสื้อเชิ้ตบุรุษ และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.37จากการลดลงของราคา แชมพู สบู่ถูตัว และผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว
2. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน2567 ลดลงร้อยละ 0.18 (MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.51 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.98 จากการลดลงของราคาไข่ไก่ นมสด และนมผง กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 7.23 จากการลดลงของราคาต้นหอม พริกสด และผักกาดขาว และกลุ่มผลไม้สดลดลงร้อยละ 1.57 จากการลดลงของราคาส้มเขียวหวาน แตงโม และองุ่น ในขณะที่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 0.25จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ขนมอบ และขนมปังปอนด์ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาปลานิล ปลาทู และปลาดุก กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.30 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซอสหอยนางรม และกะทิสำเร็จรูป กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.12 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม และน้ำผลไม้ กลุ่มอาหารบริโภค -ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.11จากการสูงขึ้นของราคาก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และผัดซีอิ๊ว/ราดหน้า และกลุ่มอาหารบริโภค -นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.18จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.07 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของราคาแชมพู โฟมล้างหน้า และแป้งทาผิวกาย และหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.17 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.09 จากการลดลงของราคา เสื้อเชิ้ตบุรุษ เสื้อยืดบุรุษ และกางเกงขายาวสตรี และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯลดลงร้อยละ 0.02จากการลดลงของราคาเครื่องถวายพระ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ในส่วนของหมวดเคหสถานและหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง3. เฉลี่ย 12 เดือน (ม.ค. -ธ.ค.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.40(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลงของสินค้าและบริการ ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.76 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 2.72 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 2.27 จากการสูงขึ้นของราคานมสด ไข่ไก่ และนมผง กลุ่มผักสดสูงขึ้นร้อยละ 2.43 จากการสูงขึ้นของราคาต้นหอม ขิง และมะเขือ กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 3.58 จากการสูงขึ้นของราคาทุเรียน มะม่วง และกล้วยน้ำว้า กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.78 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลทราย มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) และกะทิสำเร็จรูป กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 2.27 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ (ร้อน/เย็น) และน้ำหวาน กลุ่มอาหารบริโภค -ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 1.34 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภค -นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.52 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 2.82จากการลดลงของราคาเนื้อสุกร ปลาทู และกระดูกซี่โครงหมูหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.14 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.12 จากการสูงขึ้นของราคาแป้งทาผิวกาย ค่าแต่งผมสตรี และค่าแต่งผมชาย หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.37จากการสูงขึ้นของราคาค่ารถรับส่งนักเรียน ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง และน้ำมันเชื้อเพลิง หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.56 จากการสูงขึ้นของราคาค่าเล่าเรียน -ค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น ค่าถ่ายเอกสาร และค่าทัศนาจรต่างประเทศ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.23 จากการสูงขึ้นของราคาสุรา บุหรี่ และเบียร์ ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.40จากการลดลงของราคาเสื้อยืดบุรุษและสตรี เสื้อเชิ้ตบุรุษ และหมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.19 จากการลดลงของราคา ค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่ม
4. ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.00 (YoY) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.51 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 0.86 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 0.39 กลุ่มผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 5.75 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 1.69 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 3.15 กลุ่มอาหารบริโภค -ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 1.85 และกลุ่มอาหารบริโภค -นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 2.92 ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.01 และกลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 1.10 ของสินค้าในหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.41 หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 1.27 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯสูงขึ้นร้อยละ 0.48 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.84 ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.50 และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.44 หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.65ตามการสูงขึ้น5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.26 (QoQ) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.14 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 1.57 กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 6.74 และกลุ่มผลไม้สดลดลงร้อยละ 4.29ในขณะที่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 1.27 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 0.38 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 1.30 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.36 กลุ่มอาหารบริโภค -ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.49 และกลุ่มอาหารบริโภค -นอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 1.08 หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.33 ตามการลดลงของสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.06 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.19 หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ 0.80 และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯลดลงร้อยละ 0.03 ในขณะที่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.03 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.01
ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าสูงขึ้นทุกภูมิภาค โดยอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ เพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยสูงขึ้นร้อยละ 1.71รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง สูงขึ้นร้อยละ 1.33 ภาคเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 1.19 กรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้นร้อยละ 1.17และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นร้อยละ 0.95
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับสินค้าที่ปรับตัวลดลงในทุกภาค ได้แก่ ไก่ย่าง พริกสด และมะนาว7. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อปี 2568
กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2568อยู่ระหว่างร้อยละ 0.3-1.3และค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ปรับตัวสูงขึ้นจากคาดการณ์ร้อยละ 0.5 (ค่ากลาง) ในปี 2567 โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นประกอบด้วย (1) เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากปี 2567 ทั้งการขยายตัวของการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงแนวโน้มนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้อุปสงค์ต่อสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น และ (2) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศที่กำหนดเพดานไม่เกิน 33บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2567
สำหรับปัจจัยสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงประกอบด้วย (1) ภาครัฐมีแนวโน้มดำเนินมาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับลดค่าไฟฟ้าและการตรึงราคาก๊าซ LPG(2) ฐานราคาผักและผลไม้สดในปี 2567 อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์เอลนีโญและลานีญาขณะที่ในปี 2568คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่รุนแรง และส่งผลกระทบต่อราคาไม่มากนัก และ (3) การชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์และการจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศ จะส่งผลให้ราคาค่าเช่าบ้านและรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างจำกัด
อย่างไรก็ตามมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงหรือต่ำกว่าการคาดการณ์ประกอบด้วย (1) ความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายการกีดกันทางการค้าของประเทศสำคัญและสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (geo-politics)ซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมทั้งส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ (2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น ข้าว และปาล์มน้ำมัน ทำให้ราคาภายในประเทศของไทยได้รับผลกระทบไปด้วย และ (3) ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเฉพาะภาคการผลิตที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามความชัดเจนของช่วงเวลาและจำนวนเงินค่าจ้างที่จะปรับเพิ่มขึ้น
โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ร้อยละ 0.3 -1.3 ในปี 2568 ภายใต้สมมติฐานและเหตุผลประกอบ ดังนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบคาดว่าทั้งปี 2568 จะเฉลี่ยอยู่ในช่วง 70 -80เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากปี 2567 โดยคาดว่าความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางจะอยู่ในระดับจำกัด และจะไม่ขยายความขัดแย้งจนส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐฯ หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้สถานการณ์ที่มีความยืดเยื้อมีแนวโน้มยุติลงหรือลดความรุนแรงลง
อัตราแลกเปลี่ยน คาดว่าจะอยู่ในช่วง 34.0 -35.0 บาทต่อเหรียญสหรัฐ มีแนวโน้มอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดีขึ้น แต่ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐฯ และผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูงของพันธบัตรสหรัฐฯ ยังเป็นปัจจัยสำคัญให้เงินทุนไหลออกในบางช่วงเวลา ซึ่งทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าในช่วงดังกล่าว
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทย (GDP)ได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออก การบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการกลับมาขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่า GDP ในปี 2568 จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 -3.3 ปรับตัวดีขึ้นจากคาดการณ์ในปี 2567 ที่ร้อยละ 2.6 ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์