ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA:Classificationof ProductsbyActivity)เดือนธันวาคม 2567 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 111.0เทียบกับเดือนธันวาคม 2566 สูงขึ้นร้อยละ 0.9 (YoY)ประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้น ร้อยละ 0.5 จากกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ และกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ และหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 6.0 เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ยางพารา ผลปาล์มสด ทุเรียน และสับปะรดโรงงาน สุกรมีชีวิต และกุ้งแวนนาไมในขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 5.3จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ได้จากการทำเหมือง
ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing)ประกอบด้วย ดัชนีราคาหมวดสินค้าสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.6 จากราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ทองคำ ทุเรียน ฝรั่ง สับปะรดโรงงาน ต้นหอม น้ำสับปะรด และกุ้งแวนนาไม และดัชนีหมวดสินค้าวัตถุดิบ สูงขึ้นร้อยละ 0.7 โดยมีสินค้าสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ข้าวเปลือกเหนียว มะพร้าวผล ขณะที่ดัชนีหมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป) ลดลงร้อยละ 2.1 จากการลดลงของสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเครื่องบิน มันเส้น และปลาป่น 1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.9 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้นเนื่องจากผลผลิตมีน้อยแต่มีอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ เคลื่อนไหวตามราคากลไกตลาดโลก และอุปกรณ์กีฬา (ลูกเทนนิส ลูกวอลเลย์บอล ไม้แบดบินตัน) ปรับราคาขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้นเนื่องจากผลผลิตมีน้อยแต่มีอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ เคลื่อนไหวตามราคากลไกตลาดโลก และอุปกรณ์กีฬา (ลูกเทนนิส ลูกวอลเลย์บอล ไม้แบดบินตัน) ปรับราคาขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา น้ำมันก๊าดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เอทานอล สารพอลิเมอร์ (เอทีลีน โพรพีลีน) สารเคมี (โพรพิลีน เบนซีน เพียวเทเรฟธาลิคแอซิด) เม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น (โพลีสไตริน โพลีเอทีลีน โพลีโพรพิลีน)ปรับราคาตามวัตถุดิบที่ลดลง กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แผงวงจรพิมพ์ IntegratedCircuit(IC)อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์หน่วยรับข้อมูล/แสดงผล กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแท่ง เหล็กแผ่นท่อเหล็กกล้า เหล็กเส้น เหล็กฉาก เหล็กรูปตัวซี ลวดเหล็ก ตามปัจจัยอุปสงค์ที่ชะลอตัวและต้นทุนการผลิตที่ลดลง กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เนื้อสุกร เนื้อปลาสดแช่แข็ง ปลาหมึกแช่แข็ง ปลาป่น ข้าวโพดหวานกระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง มันเส้นและน้ำตาล เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออกราคาลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาท 1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.9 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 6.0 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย ยางพารา เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของประเทศคู่ค้าปรับตัว ดีขึ้น ประกอบกับการเปิดตลาดส่งออกในภูมิภาคใหม่ ทำให้ความต้องการสินค้าสำหรับส่งออกเพิ่มขึ้น ผลปาล์มสด เนื่องจากปริมาณผลผลิตในตลาดโลกที่มีน้อย ในขณะที่ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นจากทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ ทุเรียน และสับปะรดโรงงาน เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สุกรมีชีวิต จากฐานของราคาในปีก่อนที่ต่ำจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในปริมาณมาก ประกอบกับความต้องการบริโภคในปีนี้ปรับตัวดีขึ้น และกุ้งแวนนาไม เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่มีน้อยจากต้นทุนการเพาะเลี้ยงที่สูงขึ้น สำหรับสินค้าที่ราคาปรับลดลง ประกอบด้วย ข้าวเปลือกเจ้า จากฐานราคาของปีก่อนที่สูง ประกอบกับประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญยกเลิกมาตรการระงับการส่งออก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคปศุสัตว์ลดลงกว่าปีก่อน หัวมันสำปะหลังสด จากคุณภาพผลผลิตในปีนี้ลดลงจากโรคใบด่าง และสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปีที่ผ่านมา พืชผัก (มะนาว คะน้าพริกแห้ง) จากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตออกมาก โคมีชีวิต เนื่องจากความต้องการบริโภคยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มลดลง
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 5.3 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว (คอนเดนเสท) แร่เหล็ก และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ได้จากการทำเหมือง ได้แก่ ยิปซัม โดโลไมต์ ทราย เกลือสมุทร ซึ่งราคาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของราคาสินค้าที่สำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันก๊าด และยางมะตอย ราคาเคลื่อนไหวลดลงตามทิศทางตลาดโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แผงวงจรพิมพ์ IntegratedCircuit(IC)อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หน่วยรับข้อมูล/แสดงผล ราคาลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาท กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ ตามอัตราแลกเปลี่ยนและอุปสงค์ที่ลดลงขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น ความเคลื่อนไหวตามราคาตลาดอ้างอิง กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถยนต์ส่วนบุคคลและรถบรรทุกขนาดเล็ก ปรับราคาเพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่สูงขึ้น
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมงลดลงร้อยละ 1.5 จากการลดลงของสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า จากการที่ประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญยกเลิกมาตรการระงับการส่งออก ประกอบกับ การเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวในภูมิภาค ทำให้ปริมาณผลผลิตในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น อ้อย เนื่องจากการเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ประกอบกับปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นทำให้ผลผลิตมาก ราคารับซื้อจึงปรับลดลง พืชผัก (มะนาว คะน้า กะหล่ำปลี) เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ยางพารา จากปัญหาอุทกภัยในบางพื้นที่เพาะปลูกทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ ปริมาณผลผลิตลดลงส่งผลให้ราคารับซื้อสูงขึ้น สัตว์น้ำจาก การประมง (ปลากะพง ปลานิล กุ้งแวนนาไม) เนื่องจากความต้องการบริโภคที่สูงขึ้นในช่วงเทศกาล
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ (NG)คอนเดนเสท และสินแร่โลหะ เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 8.4 โดยราคาสินค้าสำคัญ ที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย ข้าวเปลือกเจ้า อ้อย ยางพารา ผลปาล์มสด มะพร้าว ทุเรียน สับปะรด และกุ้งแวนนาไม ส่วนราคาสินค้าสำคัญที่ลดลง ประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หัวมันสำปะหลังสด สุกรมีชีวิต และโคมีชีวิต
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง น้ำยางข้นและยางแผ่นรมควัน ผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว น้ำมันปาล์มดิบ น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง น้ำตาลทราย และไก่สดแช่เย็นหรือแช่แข็ง เครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 12.8 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันปิโตรเลียมดิบ4. ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)ลดลงร้อยละ 0.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.7 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 น้ำมันเตา และน้ำมันเครื่องบิน กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก และเอทานอล ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Integrated Circuit (IC) และหน่วยรับข้อมูล/แสดงผล และกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ มันเส้นและมันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง ปลาป่น พรีมิกซ์ ข้าวนึ่ง เกลือบริโภค และน้ำตาล
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 12.6 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ และสินแร่โลหะ (สังกะสี)
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 8.5 โดยราคาสินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว อ้อย ยางพารา พืชผัก ทุเรียนและสับปะรด ส่วนราคาสินค้าสำคัญที่ลดลง ประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มะนาว สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต โคมีชีวิต และกุ้งแวนนาไม
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.9 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 น้ำมันเตา และน้ำมันเครื่องบิน กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก และเอทานอล ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Integrated Circuit (IC)และหน่วยรับข้อมูล/แสดงผล และกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ มันเส้นและมันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง ปลาป่น พรีมิกซ์ ข้าวสารเจ้า ข้าวนึ่ง ไก่สดแช่เย็นหรือแช่แข็ง และน้ำตาล
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 6.6 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 0.7 โดยราคาสินค้าสำคัญ ที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย ยางพารา ผลปาล์มสด มะพร้าว สุกรมีชีวิต และสัตว์น้ำจาก การประมง (ปูม้า ปลานิล กุ้งแวนนาไม) ส่วนราคาสินค้าสำคัญที่ลดลง ประกอบด้วย ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชผัก (มะนาว กะหล่ำปลีคะน้า) และโคมีชีวิต 6. ภาพรวมดัชนีราคาผู้ผลิตปี 2567
ดัชนีราคาผู้ผลิต เฉลี่ยทั้งปี 2567 สูงขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยในช่วงต้นปีถึงกลางปีที่มีการขยายตัวในระดับค่อนข้างสูง เป็นผลจากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ฟื้นตัวดี ทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรสำคัญและกลุ่มอาหารสูงขึ้น ประกอบกับปัจจัยราคาพลังงานและราคาทองคำในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 2 ไตรมาสแรก ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 2 อยู่ในช่วงที่สูงที่สุดของปี สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตในช่วงครึ่งปีหลังเริ่มหดตัวลงเนื่องจากราคาพลังงานที่ลดต่ำลงตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่อ่อนแอ และการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าราคาถูกที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตภายในประเทศ ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่งผลกระทบกับราคาผู้ผลิตเพื่อการส่งออกส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตหดตัวลง ก่อนที่จะกลับมาขยายตัวอย่างช้า
1ๆ อีกครั้งในช่วงท้ายปีจากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว และค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนตัวลงส่งผลให้ภาคการส่งออกปรับตัวดีขึ้น7. แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิตปี 2568
ดัชนีราคาผู้ผลิต ปี 2568 มีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2567 และทรงตัวในทิศทางที่เป็นบวกตลอดทั้งปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะปรับลดลง ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัว ส่วนปัจจัยกดดันที่สำคัญยังคงเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดผู้ส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศที่มีแนวโน้มเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ ผลกระทบของสงครามการค้าและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงมีความไม่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในทิศทางใด ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด