ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2567 เท่ากับ 112.4 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดวัสดุฉาบผิว หมวดสุขภัณฑ์ โดยมีสาเหตุจากต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นจากน้ำมันดีเซล และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ (ทองแดง) ปรับสูงขึ้น และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นจากยางมะตอย เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านคมนาคมภาครัฐเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ที่มีปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกจากการก่อสร้างในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น สำหรับหมวดที่ดัชนีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก จากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังไม่ฟื้นตัวทำให้มีอุปทานเหล็กสูงกดดันให้ราคาเหล็กลดลง หมวดซีเมนต์ และหมวดกระเบื้อง ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากอัตราดอกเบี้ยและภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง รวมทั้งหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุน
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.4 โดยมีสาเหตุจากการลดลงของหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยืดเยื้อ และความต้องการใช้เหล็กในประเทศชะลอตัว หมวดกระเบื้อง ลดลงจากการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงจากยางมะตอยที่ลดลงตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สำหรับหมวดที่ดัชนีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดวัสดุฉาบผิว และหมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่ง ขณะที่หมวดซีเมนต์ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2566 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้แบบ วงกบประตู และบานประตู จากต้นทุนวัตถุดิบ ค่าดำเนินการ และค่าขนส่งสูงขึ้น
หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.8 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบสำเร็จรูป และปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากมีการแข่งขันสูง
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ชีทไพล์คอนกรีต และคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.2 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย เหล็กตัวซี และลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังไม่ฟื้นตัวทำให้มีอุปทานเหล็กสูงกดดันให้ราคาเหล็กในประเทศลดลง
หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 1.2 จากการลดลงของกระเบื้องเคลือบบุผนัง กระเบื้องเคลือบปูพื้น และกระเบื้องยาง PVCปูพื้น เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.8 จากการสูงขึ้นของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง และน้ำมันเคลือบแข็ง เนื่องจากราคาวัตถุดิบ (ผงสี กาว) ปรับราคาสูงขึ้น รวมทั้งมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านคมนาคมของภาครัฐและการใช้เพื่อปรับปรุงอาคารเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก อ่างล้างหน้าเซรามิก และที่ใส่สบู่ เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมอาคารในธุรกิจการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 2.8 จากการสูงขึ้นของสายส่งกำลังไฟฟ้า NYY สายไฟฟ้า VCTเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ และถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ทองแดง เม็ดพลาสติก) และมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคของภาครัฐเพิ่มขึ้น
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 7.0 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านคมนาคมของภาครัฐเพิ่มขึ้น
หมวดซีเมนต์ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของแผ่นไม้อัด วงกบประตูและบานประตู เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบและค่าดำเนินการสูงขึ้น
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 1.1 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย เหล็กตัวซี เหล็กตัว Hและท่อเหล็กกลวงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เนื่องจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังไม่ฟื้นตัวทำให้มีอุปทานเหล็กสูงกดดันให้ราคาเหล็กในประเทศลดลง และความต้องการใช้เหล็กในประเทศชะลอตัว
หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของกระเบื้องเคลือบปูพื้น และ กระเบื้องยาง PVCปูพื้น เป็นผลจากการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากความเข้มงวดใน การอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากการสูงขึ้นของสีน้ำอะคริลิคทาภายนอกสีรองพื้นปูนและสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (ผงสี กาว) ปรับสูงขึ้น รวมทั้งมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านคมนาคมของภาครัฐและการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเชิงพาณิชย์ในธุรกิจการท่องเที่ยว
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก ที่ปัสสาวะเซรามิก และราวแขวนผ้าติดผนัง ตามการสูงขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ (แร่ยิปซั่ม อลูมิเนียม)
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 0.5 จากการลดลงของยางมะตอยที่ลดลงตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และฉนวนกันความร้อน ลดลงเนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย3. เฉลี่ย 12 เดือน (ม.ค. -ธ.ค.)ปี 2567 เทียบกับ (ม.ค.-ธ.ค.) ปี 2566 (AoA)ลดลงร้อยละ 0.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 3.9 จากการสูงขึ้นของไม้แบบ เสาเข็มไม้ วงกบประตู และบานประตู จากต้นทุนวัตถุดิบ ค่าดำเนินการ และค่าขนส่งสูงขึ้น
หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.5 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากมีการแข่งขันสูง
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ท่อระบายน้ำคอนกรีต ถังซีเมนต์สำเร็จรูป และคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า รวมทั้งมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐทั้งโครงการใหม่และโครงการต่อเนื่อง
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 2.6 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย เหล็กตัวซี เหล็กตัว Hและชีทไพล์เหล็ก จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังไม่ฟื้นตัวทำให้มีอุปทานเหล็กสูงกดดันให้ราคาเหล็กในประเทศลดลง
หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.5 จากการลดลงของกระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องเคลือบปูพื้น และกระเบื้องยาง PVCปูพื้น ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากการสูงขึ้นของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง สีรองพื้นโลหะ สีน้ำอะคริลิคทาภายใน และสีน้ำอะคริลิคทาภายนอก เนื่องจากราคาวัตถุดิบ (ผงสี กาว) ปรับสูงขึ้น
หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 2.4 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก ฝักบัวอาบน้ำ และราวจับสแตนเลส ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 2.1 จากการสูงขึ้นของสายส่งกำลังไฟฟ้า NYY สายไฟฟ้า VCTถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส และถังดักไขมัน เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบ (ทองแดง เม็ดพลาสติก) สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเพิ่มขึ้น
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านคมนาคมของภาครัฐเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้แบบ วงกบประตู และบานประตู จากต้นทุนวัตถุดิบ ค่าดำเนินการ และค่าขนส่งสูงขึ้น
หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.9 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากมีการแข่งขันสูง
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ถังซีเมนต์สำเร็จรูป และคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการต่อเนื่อง
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 2.8 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย เหล็กตัวซี และท่อเหล็กกลวงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังไม่ฟื้นตัวทำให้มีอุปทานเหล็กสูงกดดันให้ราคาเหล็กลดลง
หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.9 จากการลดลงของกระเบื้องเคลือบปูพื้น กระเบื้องเคลือบบุผนัง กระเบื้องลอนคู่ และกระเบื้องยาง PVCปูพื้น ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของสีน้ำอะคริลิคทาภายนอก สีรองพื้นปูน และสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง สูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ (ผงสี กาว) รวมทั้งมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านคมนาคมของภาครัฐเพิ่มขึ้น
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก อ่างล้างหน้าเซรามิก ที่ปัสสาวะเซรามิก และที่ใส่สบู่ เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างงานอาคารของภาครัฐและปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเชิงพาณิชย์ในธุรกิจการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 2.8 จากการสูงขึ้นของสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYสายไฟฟ้า VCTถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส และถังดักไขมัน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (ทองแดง เม็ดพลาสติก) ราคาสูงขึ้น
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 5.8 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านคมนาคมของภาครัฐเพิ่มขึ้น5.ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)ลดลงร้อยละ 0.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้แบบ วงกบประตู และบานประตู เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากมีการแข่งขันสูง รวมทั้งมีการเร่งระบายสต๊อกสินค้า
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ถังซีเมนต์สำเร็จรูป และคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 1.7 จากการลดลงของเหล็กตัวซี เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย ท่อเหล็กกลวงสี่เหลี่ยมจัตุรัส และท่อเหล็กดำ เนื่องจากมีอุปทานเหล็กสูงจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน
หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของกระเบื้องยาง PVCปูพื้น และกระเบื้องเคลือบปูพื้น ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน
หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.5 จากการลดลงของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง และสีน้ำอะคริลิคทาภายนอก เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก ที่ปัสสาวะเซรามิก ราวจับสแตนเลส และสายฉีดชำระ ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 0.3 จากการลดลงของสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYและสายไฟฟ้า VCTจากการลดลงของราคาวัตถุดิบ (ทองแดง เม็ดพลาสติก)
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 1.4 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย เนื่องจากมีความต้องใช้ในการก่อสร้างด้านคมนาคมของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปี 2567 เฉลี่ยทั้งปีหดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 โดยมีปัจจัยลบจากสถานการณ์ราคาเหล็กที่ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2566จนถึงปัจจุบัน จากผลกระทบของปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน แม้ว่าจีนจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ฟื้นตัวได้ ทำให้ปริมาณเหล็กที่ผลิตในจีนต้องระบายออกนอกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ทำให้มีอุปทานเหล็กในตลาดสูงกดดันให้ราคาเหล็กในเอเชียและประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวต่อเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง รวมทั้งหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ต้องชะลอการลงทุนโครงการใหม่ และผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ การพิจารณางบประมาณที่ล่าช้า ทำให้โครงการก่อสร้างที่เป็นโครงการใหม่ของภาครัฐไม่สามารถดำเนินการได้ในช่วงครึ่งแรกของปี อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทำให้มีการก่อสร้างในโครงการเชิงพาณิชย์ของธุรกิจการท่องเที่ยวขยายตัว เช่น โรงแรม อาคาร และพื้นที่ค้าปลีก เป็นต้น นอกจากนี้ การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในช่วงไตรมาสที่ 3 รวมทั้งการออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ อาทิ มาตรการลดค่าโอนและจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ เหลือร้อยละ 0.01 มาตรการสินเชื่อซื้อ -สร้าง เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางมีที่อยู่อาศัย ฯลฯ ส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยทั้งปีหดตัวลงเพียงร้อยละ 0.2 7. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ปี 2568
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวเมื่อเทียบปี 2567 จาก (1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ และการลงทุนในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ ทั้งโครงการใหม่และโครงการต่อเนื่อง (2) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่มีแนวโน้มลดลง การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัว (3) แรงหนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่จะส่งผลให้การก่อสร้างและการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องขยายตัวเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่ทำให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวกว่าที่คาดไว้ ดังนี้ (1) มาตรการปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐอเมริกาโดยการขึ้นภาษีศุลกากรในสินค้าเหล็กนำเข้า อาจส่งผลให้ทั้งเหล็กของจีนและญี่ปุ่นทะลักเข้าสู่ภูมิภาคอื่นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียนรวมทั้งไทย ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกและในประเทศปรับลดลง (2) การแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรงจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับราคาลดลงเพื่อให้แข่งขันได้ (3) ราคาน้ำมันและพลังงานของโลกมีแนวโน้มลดลงตามอุปสงค์ที่ชะลอตัว และการเพิ่มกำลังการผลิตของสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกจากนโยบายสนับสนุนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์