ดัชนีวัฏจักรเงินเฟ้อ เดือนมกราคม 2553

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday March 3, 2010 15:28 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

เงินเฟ้อของไทยยังคงเพิ่มขึ้น

ดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อ U (Leading Inflation Index) เป็นดัชนีที่คำนวณจากตัวแปรชี้นำ 7 รายการ ในเดือนมกราคม 2553 มีค่า 104.7 (ปี 2545 = 100) ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 1.8 ทั้งนี้เนื่องจากการลดลงของตัวแปรชี้นำ 7 รายการ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของอัตราการใช้กำลังการผลิต อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินที่แท้จริงตามความหมายกว้าง อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาน้ำมันโลก อัตราการขยายตัวของสิทธิเรียกร้องในประเทศ อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้านำเข้า อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลก และ ส่วนกลับของดัชนี Terms of Trade ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8

ดัชนีอ้างอิงวัฏจักรเงินเฟ้อ U (Reference Inflation Index) เป็นดัชนีที่คำนวณจากอัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภค (ปี 2545 =100) ซึ่งแสดงถึงวัฏจักรเงินเฟ้อในปัจจุบัน ในเดือนกุมพาพันธ์ 2553 เท่ากับ 4.8 (เดือนมกราคม เท่ากับ 4.7 และ เดือนธันวาคม 2552 เท่ากับ 4.3)

          ตัวแปรชี้นำ                                อัตราการเปลี่ยนแปลง

เทียบกับเดือนก่อน (ร้อยละ)

อัตราการขยายตัวของอัตราการใช้กำลังการผลิต                      -12.2
อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินที่แท้จริงตามความหมายกว้าง (BM)        -3.2
อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาน้ำมันโลก                            -1.8
อัตราการขยายตัวของสิทธิเรียกร้องในประเทศ                        -1.0
อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้านำเข้า                          -1.0
อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลก              -0.6
ส่วนกลับของดัชนี Terms of Trade                               -0.4
    อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อ                  -1.8
    อัตราการขยายตัวของดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อ                     10.8


หมายเหตุ:

1. ดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อ เป็นดัชนีที่ใช้เป็นแนวทางในการคาดการณ์ทิศทางเงินเฟ้อในอนาคต สามารถคาดการณ์ทิศทางภาวะเงินเฟ้อของประเทศล่วงหน้า 7-9 เดือน

2. ตัวแปรที่ใช้เป็นตัวแปรที่ขจัดปัจจัยฤดูกาล (seasonal adjustment) โดยใช้โปรแกรม X-12

3. ตัวแปรที่อยู่ในรูปมูลค่า จะใช้มูลค่าที่แท้จริง (real value) โดยใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปเป็นตัวปรับ

4. อัตราการขยายตัว (six-month smoothed annualized growth rate) คำนวณจากสัดส่วนของดัชนีปัจจุบันเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาแล้วปรับเป็นรายปี

5. ในการอ้างอิง อัตราเงินเฟ้อของไทย ควรใช้อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก Inflation   NFL  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ