ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก ( Export Business Index ) เดือนกุมภาพัน 2553

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday April 5, 2010 11:59 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

จากผลการตอบแบบสอบถามภาวะธุรกิจส่งออก จากผู้ประกอบการ จำนวน 224 ราย ได้ผลดังนี้

ดัชนีมูลค่าส่งออก

ดัชนีมูลค่าส่งออก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 มีค่าเท่ากับ 55.0 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก/เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้สด/ แช่เย็น/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็งเชื้อเพลิงและพลังงาน สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน และ ข้าว

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 มีค่า 60.7 สินค้าที่มีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก/เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน ส่วนสินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และ ข้าว

ดัชนีการจ้างงาน
            เดือน           %ดีขึ้น      %เท่าเดิม       %ลดลง     ผลต่าง       ดัชนี
          กุมภาพันธ์ 53       23.5        60.6         15.9      7.6       53.8
          มกราคม 53        24.6        60.7         14.7      9.9       55.0
          ธันวาคม 52        17.1        66.8         16.1      1.0       50.5

ดัชนีการจ้างงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 มีค่าเท่ากับ 53.8 แสดงว่าการจ้างงานภาคการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ดัชนีสินค้าคงคลัง

ดัชนีสินค้าคงคลังในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 มีค่า 49.8 มูลค่า สินค้าคงคลังที่ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เหล็ก/เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และ อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ส่วนมูลค่าสินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ ยางพารา และ อาหารสำเร็จรูป

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

ปัญหา

  • ค่าเงินบาทแข็งค่าเกินไป
  • ขาดแคลนตู้สินค้า ค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าระวางเรือไปยุโรป และสหรัฐอเมริกา ปรับตัว สูงขึ้นมาก
  • การดำเนินงานของส่วนราชการบางแห่งยังมีความล่าช้า ทำให้ธุรกิจดำเนินไปด้วยความยากลำบาก
  • ขาดแคลนแรงงานทั้งแรงงานมีฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันกับความต้องการของลูกค้า
  • ขาดแคลนแป้งมันสำปะหลัง
  • สภาวะการแข่งขันที่รุนแรงจากต่างประเทศ โดยที่คู่แข่ง เช่น จีนและอินเดีย ได้รับการสนับสนุนจากการคืนภาษีสูงกว่าประเทศไทย ที่ยังคงอัตราการสนับสนุนผู้ประกอบการในอัตราภาษีเหมือนเดิม

ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • ดูแลเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ
  • ควรรีบแก้ไขสภาวะการขาดแคลนน้ำตาลทรายภายในประเทศ
  • ควรเร่งกระตุ้นให้ต่างประเทศ เกิดความเชื่อมั่นที่จะมาลงทุนและสั่งซื้อของจากไทยมากกว่านี้
  • ควบคุมภาษีน้ำมัน เพื่อให้ต้นทุนการขนส่งต่ำลง-ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยการให้สิทธิพิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากการยกเว้นภาษี

หมายเหตุ : การจัดทำดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกจะมีการปรับปรุงข้อมูลดัชนีย้อนหลัง 1 เดือน

ภาคผนวก

1. กลุ่มสินค้าเป้าหมายที่ทำการสำรวจ มีจำนวน 86 กลุ่มสินค้า

2. การคำนวณดัชนี เป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่มีคุณสมบัติเด่นในการเป็นตัวชี้นำ (leading indicator) และแสดงทิศทางการเติบโต (growth) ของภาวะธุรกิจ จากการแปลงข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative) ให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative) โดยกำหนดค่าคำตอบที่ได้รับจากผู้ตอบแบบสอบถาม คือ เพิ่มขึ้นให้คะแนน เท่ากับ 1เท่าเดิมให้คะแนน เท่ากับ 0.5 และลดลงให้คะแนนเท่ากับ 0 จากนั้นนำคะแนนทั้งหมดมารวมกัน หารด้วยจำนวนผู้ตอบแบบทั้งหมด แล้วคูณด้วย 100 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลา ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และค่าต่ำสุดเท่ากับ 0

3. การนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อแสดงทิศทางเศรษฐกิจภาคการส่งออก ใช้เส้นค่า 50 (break even point) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ถ้าผลการคำนวณดัชนีอยู่เหนือเส้น50 แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจดีขึ้น ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 50แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง และถ้าดัชนีอยู่ใต้เส้น 50แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจแย่ลง

ทั้งนี้ ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว หากดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึง ภาวะธุรกิจแย่ลงหรือชะลอตัว สำหรับในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจดีขึ้นหรือขยายตัว

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โทร.0 2507 5811-13, โทรสาร 0 2507 5806,0 2507 5825

www.price.moc.go.thEmail: neworders@moc.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ