รายงานดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศประจำ เดือนมีนาคม 2553 และไตรมาสแรกของปี 2553

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday April 2, 2010 16:28 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

กระทรวงพาณิชย์ รายงานความเคลื่อนไหว ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมีนาคม 2553 โดยสรุป

จากการสำรวจและประมวลผลราคาสินค้าที่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ผลิตจำหน่ายทั่วประเทศ จำนวน 506 รายการ ครอบคลุม 3 หมวด คือ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยคำนวณเปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนี เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าที่ผู้ผลิตได้รับ สรุปผลดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมีนาคม 2553

ในปี 2543 ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เท่ากับ 100 สำหรับเดือนมีนาคม 2553 ดัชนีราคาเท่ากับ 164.0 และเดือน กุมภาพันธ์ 2553 ดัชนีราคาเท่ากับ 161.4

2. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมีนาคม 2553 เมื่อเทียบกับ

2.1 เดือนกุมภาพันธ์ 2553 สูงขึ้นร้อยละ 1.6

2.2 เดือนมีนาคม 2552 สูงขึ้นร้อยละ 12.6

2.3 เฉลี่ยช่วงไตรมาสแรก (มกราคม - มีนาคม) 2553 เทียบกับช่วงเดียวกัน (มกราคม - มีนาคม) 2552 สูงขึ้น ร้อยละ 12.0

3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมีนาคม 2553 เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2553 โดยเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 1.6 จาก การสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.6 0.9 และ0.4 ตามลำดับ

3.1 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.6 (เดือนกุมภาพันธ์ 2553 สูงขึ้น ร้อยละ 6.9) เป็นการ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการสูงขึ้นของราคาผลผลิตการเกษตรร้อยละ 8.2 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ พืชผัก เช่น มะนาว แตงกวา พริกสด ถั่วฝักยาว ต้นหอม ผักชี จากสภาพภูมิอากาศ ที่ร้อนจัดไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะมะนาว เป็น ช่วงนอกฤดูกาล ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย รวมถึง ไม้ดอก (ดอกกล้วยไม้) พืชไร่ และพืชน้ำมัน ที่มีราคาสูงขึ้น เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หัวมันสำปะหลังสด มะพร้าวผลแก่ และยางพารา มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และ อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูยางผลัดใบ สำหรับ ผลผลิตการเกษตรประเภทข้าวเปลือก และผลปาล์มสดราคาชะลอตัวลง

3.2 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.9 (เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ลดลง ร้อยละ 1.8) จากการสูงขึ้น ของราคาน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ แร่ตะกั่ว แร่สังกะสี และแร่ดีบุก เป็นสำคัญ

3.3 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.4 (เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ลดลง ร้อยละ 0.1) สาเหตุสำคัญ จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา และ น้ำมันก๊าด ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกปรับราคาสูงขึ้น เช่น เม็ดพลาสติก ถุงพลาสติก และขวดพลาสติก เป็นต้น สำหรับสินค้า สำคัญที่มีราคาลดลง ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมอื่นฯ ประเภทเครื่องประดับ และทองรูปพรรณ ผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ข้าวสาร แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว และน้ำตาลทราย เป็นต้น

4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมีนาคม 2553 เทียบกับเดือนมีนาคม 2552 สูงขึ้น ร้อยละ 12.6สาเหตุจากการสูงขึ้น ของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 23.6 ตามการสูงขึ้นของราคา ผลผลิตการเกษตร ร้อยละ 27.2 สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 14.2 ผลิตภัณฑ์จากป่าร้อยละ 3.4 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 11.6 จากการสูงขึ้นของราคาปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ) ก๊าซธรรมชาติ และแร่โลหะ หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 9.9 จากการสูงขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม ร้อยละ 39.8 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ร้อยละ 46.6 เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ร้อยละ 13.7 ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ร้อยละ 9.3 และสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ร้อยละ 6.5

5. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเฉลี่ย ไตรมาสแรกของปี 2553 เทียบกับไตรมาสแรกของปี 2552 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 12.0 โดยดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 21.8 จากการสูงขึ้นของราคาผลผลิตการเกษตร ร้อยละ 24.5 สัตว์มีชีวิต และผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 14.5 ปลาและสัตว์น้ำ ร้อยละ 4.8 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 11.3 จากการสูงขึ้นของ ราคาปิโตรเลียม(น้ำมันดิบ) ก๊าซธรรมชาติ และแร่โลหะ หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 9.7 จากการสูงขึ้นของ ราคาสินค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ สูงขึ้นตลอดไตรมาสแรกของปี 2553 เป็นการสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2552 ตามการ ฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก และของประเทศ เป็นการขยายตัวทั้งด้านผลผลิตและระดับราคาสินค้าเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม โดย มีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้

1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และมาตรการประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัว ดีขึ้นโดยพิจารณาจากยอดขายรถจักรยานยนต์และรถที่ใช้ในภาคการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น

2. การส่งออกมีการขยายตัวดีขึ้น โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงขึ้นต่อเนื่อง 3 เดือน คือ เดือนธันวาคม 2552 สูงขึ้นร้อยละ 26.1 มกราคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 30.8 และกุมภาพันธ์ 2553 สูงขึ้นร้อยละ 23.1

3. การใช้จ่ายภายในประเทศ มีการปรับตัวดีขึ้น ทั้งภาคการค้า การผลิต และการบริโภค โดยการลงทุนภาคการก่อสร้างมี ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

4. มีการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิกส์ โดยดัชนีแรงงานเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เท่ากับ 117.09

5. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ เท่ากับ 183.31 สูงขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 ร้อยละ 2.0 (เดือนมกราคม เท่ากับ 179.62)

ตารางดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศและอัตราเปลี่ยนแปลง

แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA)

มีนาคม 2553

2543 = 100

 หมวด                             สัดส่วน                   ดัชนี                              อัตราเปลี่ยนแปลง
                                   น้ำหนัก     มี.ค.53   ก.พ.53   มี.ค.52   ม.ค.-    มี.ค.53/  มี.ค.53/   ม.ค.-มี.ค.53/
                                                                        มี.ค.53   ก.พ.53   มี.ค.52    ม.ค.-มี.ค.52/
ดัชนีรวม                             100.0     164.0    161.4    145.6    161.7     1.6      12.6        12.0
ผลผลิตเกษตรกรรม                      21.2     367.5    344.9    297.3    345.0     6.6      23.6        21.8
ผลผลิตการเกษตร                       17.9     523.0    483.5    411.3    483.9     8.2      27.2        24.5
  สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์                   1.8     187.7    191.0    164.3    187.8    -1.7      14.2        14.5
  ผลิตภัณฑ์จากป่า                        0.1     117.7    117.4    113.8    117.2     0.3       3.4         3.1
  ปลาและสัตว์น้ำ                        1.4     103.8    104.9    103.8    106.9    -1.0       0.0         4.8
ผลิตภัณฑ์จากเหมือง                       2.3     147.4    146.1    132.1    147.4     0.9      11.6        11.3
  ลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ        1.5     144.2    142.6    131.6    143.7     1.1       9.6         8.5
  แร่โลหะและแร่อื่น ๆ                    0.8     175.6    174.7    151.6    176.7     0.5      15.8        17.2
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม                     76.5     141.7    141.2    128.9    141.4     0.4       9.9         9.7
  ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ        16.0     171.7    174.2    157.1    173.1    -1.4       9.3        10.2
  สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ                  7.1     108.7    108.2    104.2    108.2     0.5       4.3         4.1
  หนังฟอก ผลิตภัณฑ์หนังและรองเท้า          1.6     102.4    102.6    103.0    102.6    -0.2      -0.6        -0.6
  ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้                   0.6     147.0    147.5    144.0    147.3    -0.3       2.1         2.2
  เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์     1.6     107.9    106.9    102.2    107.2     0.9       5.6         4.6
  ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม                     9.8     212.1    207.3    151.7    210.1     2.3      39.8        34.8
  เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมี                   3.9     131.0    129.2    115.2    129.0     1.4      13.7        12.7
  ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก                 4.3     164.9    159.3    112.5    161.0     3.5      46.6        43.1
  ผลิตภัณฑ์อโลหะ                        2.0     126.5    126.9    125.4    126.8    -0.3       0.9         1.0
  โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะ           3.7     166.8    165.2    165.5    166.0     1.0       0.8        -1.5
  เครื่องจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์         2.7     112.5    112.8    114.8    112.6    -0.3      -2.0        -1.8
  เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 10.6     101.1    101.1    100.7    101.1     0.0       0.4         0.2
  ยานพาหนะและอุปกรณ์                   5.2     109.3    109.2    108.3    109.2     0.1       0.9         0.8
  สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ                  7.5     216.9    217.7    203.7    218.5    -0.4       6.5        10.7

ตารางดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศและอัตราเปลี่ยนแปลง

แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP)

มีนาคม 2553

2543 = 100

 หมวด                              สัดส่วน                   ดัชนี                           อัตราเปลี่ยนแปลง
                                   น้ำหนัก   มี.ค.53   ก.พ.53   มี.ค.52   ม.ค.-    มี.ค.53/  มี.ค.53/   ม.ค.-มี.ค.53/
                                                                      มี.ค.53   ก.พ.53   มี.ค.52    ม.ค.-มี.ค.52/
สินค้าสำเร็จรูป                        100.0    163.2    160.2    149.6    160.2    1.9       9.1         8.7
 สินค้าอุปโภคบริโภค                     86.2    173.3    169.6    156.7    169.7    2.2      10.6        10.3
  สินค้าบริโภค                         37.8    264.2    252.0    231.8    251.2    4.8      14.0        11.9
  สินค้าอุปโภค                         48.3    136.7    136.6    126.6    136.9    0.1       8.0         8.9
 สินค้าทุน                             13.9    119.2    119.2    118.7    119.2    0.0       0.4         0.4
สินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป)              100.0    152.1    150.1    129.9    150.5    1.3      17.1        14.9
 สินค้ากึ่งสำเร็จรูปสำหรับอุตสาหกรรม        80.4    151.7    149.4    125.0    149.9    1.5      21.4        18.9
  สินค้าอาหารและอาหารสัตว์              12.9    203.0    206.8    177.1    204.5   -1.8      14.6        15.3
  สินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่ไม่ใช่อาหาร           67.5    144.4    141.3    117.7    142.1    2.2      22.7        19.6
 สินค้ากึ่งสำเร็จรูปก่อสร้าง                19.6    149.9    148.9    146.5    149.3    0.7       2.3         0.9
สินค้าวัตถุดิบ                          100.0    215.8    214.3    177.9    215.2    0.7      21.3        23.1
 วัตถุดิบสำหรับอาหาร                    57.0    211.7    216.7    197.5    216.1   -2.3       7.2        11.9
 วัตถุดิบที่ไม่ใช่อาหาร                    43.0    230.4    219.7    156.8    222.6    4.9      46.9         43.2

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5808 โทรสาร. 0 2507 5825


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ