รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 2/2553 (เมษายน - มิถุนายน 2553)

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday June 3, 2010 14:32 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

เศรษฐกิจไตรมาส 2/2553 ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจมีทิศทางอ่อนตัวลงจากภาวะการเมือง

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 2/2553 ( เมษายน — มิถุนายน 2553 ) จากการสอบถามนักธุรกิจใน 76 จังหวัด จำนวน 1,868 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 35.7 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 45.2 และไม่ดี ร้อยละ 19.1 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 58.3 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 แสดงว่านักธุรกิจส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปัจจัยพื้นฐานยังดีอยู่ซึ่งสะท้อนได้จากดัชนีคาดการณ์รายภาคและรายสาขาที่มีค่าอยู่เหนือเส้น 50

อนึ่ง การคาดการณ์ต่ำกว่าไตรมาสก่อนตามความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศและราคาน้ำมันเชื่อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น

ดัชนีคาดการณ์ไตรมาสที่ 2/2553
การสำรวจ                        ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น         ไม่เปลี่ยนแปลง    ไม่ดี/ลดลง   ดัชนี
                                    (%)               (%)           (%)
1. ผลประกอบการของกิจการ             35.7              46.5          17.8     58.9
2. ต้นทุนหลักต่อหน่วยสินค้าหรือบริการ       50.8              43.0           6.2     72.3
3. การจ้างงานในธุรกิจ                 16.6              74.2           9.2     53.7
4. การขยายกิจการของธุรกิจ             14.9              77.7           7.4     53.8
ดัชนีคาดการณ์รายภาค
            ภาค              จำนวน    ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น    ไม่เปลี่ยนแปลง     ไม่ดี     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล          216       42.2          45.0        12.8     64.7
2. ภาคกลาง                    303       34.7          46.3        19.0     57.8
3.ภาคเหนือ                     439       34.8          42.0        22.6     56.1
4.ภาคตะวันออก                   96       44.8          39.6        15.6     64.6
5.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ          444       30.8          49.5        19.7     55.5
6.ภาคใต้                       370       37.2          44.0        18.8     59.2
ดัชนีคาดการณ์รายสาขา
        สาขา                 จำนวน    ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น    ไม่เปลี่ยนแปลง     ไม่ดี     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)
1. เกษตรกรรม                  181        40.3         50.8         8.9     65.7
2. อุตสาหกรรม                  505        38.8         48.4        12.8     63.0
3. พาณิชยกรรม                  709        33.3         49.9        16.8     58.2
4. ก่อสร้าง                      55        37.0         48.1        14.9     61.1
5. การเงินและประกันภัย            92        60.4         34.1         5.5     77.5
6. บริการ                      326        32.9         46.8        20.3     56.3
สรุปความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ไตรมาสที่ 1/2553

1. ภาวะธุรกิจทั่วไปปัญหาการเมืองภายในประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร

2. ภาวะธุรกิจรายสาขา

  • เกษตรกรรมภัยแล้งจากภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร
  • อุตสาหกรรม ค่าเงินบาทแข็งเกินไปส่งผลต่อการแข่งขันในตลาด
  • พาณิชยกรรม การประหยัดการใช้จ่ายของประชาชนส่งผลให้ภาวะการค้าซบเซา
  • ก่อสร้าง การก่อสร้างโครงการใหญ่มีน้อย และค่าครองชีพสูงทำให้การซ่อมแซมบ้านน้อย
  • การเงิน ภาคการเงินเข้มแข็ง มีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจ
  • บริการ ด้านการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมือง

3. ผลประกอบการคู่แข่งทางการค้ามากขึ้น กำไรต่อหน่วยน้อยลง ต้องใช้เงินมากกว่าเดิมในการลงทุน

4. ต้นทุนต่อหน่วยวัตถุดิบขาดแคลนทำให้ราคาสูงขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็มีความผันผวนและมีแนวโน้มสูงขึ้น

5. การจ้างงานขาดแคลนแรงงานในหลายอุตสาหกรรม ประกอบกับค่าจ้างงานสูง บุคลากรไม่มีคุณภาพเพียงพอต่องานในบางตำแหน่ง

6. การขยายกิจการมีการขยายธุรกิจน้อยจากความไม่มั่นใจต่อสภาพการเมืองและเศรษฐกิจ

ข้อเสนอแนะ

1. ค่าเงินบาทแข็งเกินไป กระทบต่อภาคการส่งออก ขอให้ภาครัฐเข้ามากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

2. ควรหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดย่อม

3. ควรเข้ามาแก้ไขปัญหามาบตาพุดโดยเร่งด่วน

4. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น การปลูกป่า วิถีชีวิต และวัฒนธรรม

5. ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ และพัฒนาโครงการต่าง ๆ แบบถาวรและยั่งยืน

6. รัฐบาลควรประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนและภาคธุรกิจมั่นใจในเสถียรภาพและการเติบโตภาคเศรษฐกิจในปีนี้อย่างสม่ำเสมอ

7. หามาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสำคัญ เพราะกระทบต่อค่าครองชีพ

8. เตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเชียน (2553-2558) ให้ข้อมูลกับธุรกิจเพื่อเตรียมความพร้อมและให้ความรู้ถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

9. รัฐต้องเน้นรักษาความสงบสุขของบ้านเมืองให้มากขึ้น 10. ขอให้เร่งรัดออกกฎหมายค้าปลีก-ค้าส่ง เพื่อช่วยคุ้มครองค้าปลีกรายย่อย ๆ อยู่รอดได้ 11. ควรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน Logistic เพื่อให้สินค้ามีค่าใช้จ่ายด้านนี้ลดลง 12. กระตุ้นเศรษฐกิจ เร่งรัดงบประมาณสู่ท้องถิ่น โดยเน้นความโปร่งใสและคุ้มค่า 13. ควรหามาตรการป้องกันและแก้ไขภาวะภัยแล้ง โดยจัดระบบน้ำให้ดี

ภาคผนวก

จังหวัดที่ทำการสำรวจ ประกอบด้วย
กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และ นนทบุรี จำนวน 216 ราย
ภาคกลาง            13 จังหวัด  ได้แก่ สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม อ่างทอง ชัยนาท

ประจวบคีรีขันธ์ และ นครนายก จำนวน 303 ราย

ภาคเหนือ            17 จังหวัด  ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก พิษณุโลก แพร่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ ลำพูน น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน

อุทัยธานี สุโขทัย พิจิตร และ กำแพงเพชร จำนวน 439 ราย

ภาคตะวันออก          7 จังหวัด  ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา และ สระแก้ว จำนวน 96 ราย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด  ได้แก่ อุบลราชธานี หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา มุกดาหาร สุรินทร์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์

บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยภูมิ สกลนคร นครพนม หนองบัวลำภู เลย อำนาจเจริญ และ มหาสารคาม จำนวน 444 ราย

ภาคใต้              14 จังหวัด  ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรัง ภูเก็ต สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส ยะลา ชุมพร พังงา ระนอง สตูล พัทลุง

และ ปัตตานี จำนวน 370 ราย

ระยะเวลาการสำรวจ

ดำเนินการสำรวจทุก ๆ 3 เดือน สำหรับไตรมาสนี้ ( ไตรมาสที่ 1/2553 ระหว่างเดือนมกราคม — มีนาคม 2553) ทำการสำรวจในเดือนมีนาคม 2553 โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับ จำนวน 1,874 ชุด มีแบบเสีย 6 ชุด คิดเป็นร้อยละ 0.3 รวมแบบสอบถามที่ใช้ในการประมวลผลจำนวน 1,868 ชุด

การประมวลผลและการคำนวณดัชนี

ไตรมาสที่ 1/2553ได้ทำการประมวลผลในวันที่ 21 เมษายน 2553 และทำเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. การคิดสัดส่วนร้อยละ

เป็นการประมวลผลโดยนำผลการสำรวจมาคำนวณร้อยละของผู้ตอบในแต่ละคำตอบ (ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี)

2. การคำนวณดัชนี

เป็นการนำผลการสำรวจที่ได้มาจัดทำเป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงเฉพาะทิศทางของภาวะธุรกิจ ( ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง หรือไม่ดี)

การคำนวณดัชนีมีขั้นตอนดังนี้

1. แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ดังนี้

ถ้าตอบว่า ดีขึ้นหรือเพิ่มขึ้นจะให้คะแนนเท่ากับ1

ถ้าตอบว่า ไม่เปลี่ยนแปลง จะให้คะแนนเท่ากับ0.5

ถ้าตอบว่า ไม่ดีหรือลดลงจะให้คะแนนเท่ากับ0

2. นำร้อยละของผู้ตอบว่าดีบวกกับร้อยละของผู้ตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงที่คูณด้วย 0.5 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลาดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และต่ำสุดเท่ากับ 0

การอ่านค่าดัชนี
          ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น         100          แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจดี
          ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น          50          แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง
          ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น           0          แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่ดี

หากระดับดัชนีเหนือเส้น 50 แสดงว่าภาวะธุรกิจยังคงขยายตัว ทั้งนี้ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึงว่า ภาวะธุรกิจไม่ดีหรือชะลอตัว

หากระดับดัชนีต่ำกว่าเส้น 50 แสดงว่าเป็นช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าค่าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจจะดีขึ้นหรือฟื้นตัว

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โทร.0-2507-5811-3 โทรสาร.0-2507-5806 www.price.moc.go.th


แท็ก นักธุรกิจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ