รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ เดือนมิถุนายน 2553 และระยะ 6 เดือนแรกของปี 2553

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday July 2, 2010 12:31 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่มีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน 2553 เท่ากับ 108.15 เป็นการรายงานโดยใช้ ตัวเลขหลังจุดทศนิยม 2 ตำแหน่งเป็นเดือนที่ 6 ตั้งแต่จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคมานานกว่า 60 ปี โดยยังคงเป็นบวกอย่าง ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.3 และยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3.5 ซึ่งอยู่ในช่วงที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้นปี(โดยคาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นระหว่าง ร้อยละ 3.0 - 3.5) และคาดว่าไตรมาสที่ 2 ดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ยจะอยู่ประมาณร้อยละ 3.5

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลกทำให้อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบกับเดือน เดียวกันของปีที่ผ่านมาปรับสูงขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2552 และปรับตัวเข้าสู่เสถียรภาพตั้งแต่ต้นปีนี้ คือ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.1 ในเดือน ม.ค. ร้อยละ3.7 ในเดือน ก.พ. ร้อยละ 3.4 ในเดือนมี.ค. และร้อยละ 3.0 ในเดือนเม.ย. จนอยู่ในระดับร้อยละ 3.5 ในเดือนพ.ค. และร้อยละ 3.3 ในเดือนมิ.ย. ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาทางการเมือง ภายในประเทศ แต่จากข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคแสดงให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2553 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมามีปัจจัยหลักมา จากราคาอาหารสด โดยผักสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ผลไม้สดเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น ร้อยละ 9.4 เนื้อสัตว์ต่างๆ ร้อยละ 4.2 ไข่ไก่ ร้อยละ 8.1 น้ำตาลทราย ร้อยละ 5.3 นอกจากนี้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 26.7 สินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 10.2

มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐบาลได้แก่ ค่าไฟฟ้า รถเมล์ฟรี การตรึงราคาแก๊สหุงต้ม และการช่วยเหลือ ค่าชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน และการดูแลราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิด ยังคงมีส่วนช่วยทำให้ค่าครองชีพ ของประชาชนให้อยู่ในภาวะที่แสดงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายนและ ระยะ 6 เดือนแรกของ ปี 2553 โดยสรุปเป็นดังนี้

จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 417 รายการครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2553

ในปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมิถุนายน 2553 เท่ากับ 108.15 ( เดือน พฤษภาคม 2553 คือ 107.87 )

2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2553 เมื่อเทียบกับ

2.1 เดือนพฤษภาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.26

2.2 เดือนมิถุนายน 2552 สูงขึ้นร้อยละ 3.3

2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ6 เดือน ( มกราคม - มิถุนายน ) ปี 2552 สูงขึ้นร้อยละ 3.5

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2553 เทียบกับ เดือนพฤษภาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.26 (เดือนพฤษภาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.20 ) เป็นภาวะที่ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก่อนหน้า โดยมีผลกระทบมาจากปัจจัยที่สำคัญ คือ ราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและสินค้าอุปโภคปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ผักและผลไม้ ไข่ เนื้อสุกร ไก่สด ข้าวสารเหนียว ปลาและสัตว์น้ำ อาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ค่าเช่าบ้าน ค่าของใช้ส่วน บุคคล ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา ในขณะที่สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ โดยเฉลี่ยปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องค่า โดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 2 ในต่างจังหวัด ข้าวสารเจ้า นมและผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.01 (เดือนพฤษภาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.97) สาเหตุ สำคัญเป็นผลจากราคาสินค้าอาหารสดมีระดับราคาสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ประกอบด้วย ผักและผลไม้ ร้อยละ 5.64 ได้แก่ ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักชี ผักคะน้า พริกสด ต้นหอม หัวผักกาดขาว หัวหอมแดง กระเทียม ส้มเขียวหวาน มะม่วง กล้วยน้ำว้า แตงโม ชมพู่และส้มโอ ซึ่งเป็นผลจากภาวะภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำและอากาศร้อนจัด ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกหลายแห่งได้รับความ เสียหายและเป็นช่วงปลายฤดูกาลของผลไม้บางชนิด ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาด ลดน้อยลง ไข่ ร้อยละ 5.64 ( ไข่ไก่ ไข่เป็ด ) เป็นผลจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและการขาดแคลน พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่จากการจำกัดโควต้าการนำเข้า ทำให้จำเป็นต้องยืดอายุการ เลี้ยงไก่แก่ยืนกรงออกไป ส่งผลกระทบต่อการให้ไข่ของแม่ไก่ลดลงร้อยละ 50-60 เนื้อสุกร ร้อยละ 0.47 และไก่สด ร้อยละ 0.63 สุกรและไก่สดมีชีวิตเติบโตช้าและมีขนาดเล็กลง จากภาวะภัยแล้งและอากาศที่ร้อนจัด ปลาและสัตว์น้ำ ร้อยละ 0.56 ( ปลาช่อน ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก ) ข้าวสารเหนียว ร้อยละ 1.27 อาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 0.12 ( ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว อาหารว่าง อาหารเช้า ) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.07 ( กาแฟผงสำเร็จรูป ชา น้ำดื่มบริสุทธิ์ น้ำผลไม้ ) สำหรับ สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวสารเจ้า 0.10 ผลกระทบจากภาวะการส่งออกข้าวของไทยในตลาดต่างประเทศลดลง นมและผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 0.14 ( นมสด นมเปรี้ยว ครีมเทียม นมถั่วเหลือง ) และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.01 ( สุรา ไวน์ )

3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.19 เป็นอัตราที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ก่อนหน้า ( เดือนพฤษภาคม 2553 ลดลงร้อยละ 0.25) สาเหตุสำคัญเป็นผลกระทบจากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ โดยเฉลี่ยปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 2.84 เป็นผลจากภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลง อย่างต่อเนื่อง ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 2 ในต่างจังหวัด ร้อยละ 0.36 และค่าของใช้ส่วนบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวกับ ทำความสะอาดบางชนิด ( แป้งทาผิวกาย น้ำยาระงับกลิ่นกาย น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ) สำหรับสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ค่าเช่าบ้าน ร้อยละ 0.36 ค่าของใช้ส่วนบุคคล ร้อยละ0.19 (สบู่ถูตัว ยาสีฟัน แชมพูสระผม ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว ใบมีดโกน กระดาษชำระ ครีมนวดผม ) ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา ร้อยละ 0.31 (ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา เอกชน )

4. ถ้าพิจารณาดัชนีเทียบกับเดือนมิถุนายน 2552 สูงขึ้นร้อยละ 3.3 เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 9 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น ร้อยละ 6.1 ได้รับผลกระทบมาจาก ดัชนีหมวด ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 10.2 เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ร้อยละ 2.0 ไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 3.2 ผักและผลไม้ ร้อยละ 33.3 เครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 2.7 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.3 และอาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 0.9 รวมทั้งผลกระทบจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ หมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร ร้อยละ 2.1 (ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง) หมวดเคหสถาน ร้อยละ 2.0 (ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำประปา ) หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคล ร้อยละ 0.8 (ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าของใช้ส่วนบุคคล ) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 0.2 ( ผ้าและเสื้อผ้า) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ร้อยละ 0.1 ( การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ) และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.5 ( ผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์)

5. ถ้าพิจารณาดัชนีเฉลี่ยเทียบกับช่วงระยะ6 เดือน (มกราคม - มิถุนายน ) ปี 2552 สูงขึ้นร้อยละ 3.5 สาเหตุ สำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 26.7 ค่าน้ำประปา ร้อยละ 47.5 ค่ากระแสไฟฟ้า ร้อยละ 2.0 ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ร้อยละ 15.4 เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 6.2 และค่าเช่าบ้าน ร้อยละ 0.2 และจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่ อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.9 ในขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 4.5 เป็นผลจากการสูงขึ้นของ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 9.4 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ 3.2 ไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 3.2 ผัก และผลไม้ ร้อยละ 19.0 เครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 2.1 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.4 และอาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 0.8 เป็นสำคัญ

6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ ( คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 300 รายการ) คือ ดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 117 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายน 2553 เท่ากับ 103.63 เมื่อเทียบกับ

6.1 เดือนพฤษภาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.12

6.2 เดือนมิถุนายน 2552 สูงขึ้นร้อยละ 1.1

6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 6 เดือน ( มกราคม - มิถุนายน ) ปี 2552 สูงขึ้นร้อยละ 0.7

ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ เดือนมิถุนายน 2553 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.12 ( เดือนพฤษภาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.06 ) โดยมีผลกระทบ มาจากราคาสินค้าหลายชนิดปรับตัวทั้งสูงขึ้นและลดลง สินค้าที่ มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ค่าเช่าบ้านและ ค่าของใช้ส่วนบุคคล ขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง คือ ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 2 และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

ดัชนีราคาผู้บริโภค...ชุดทั่วไปประเทศ....

เดือน มิถุนายน ปี 2553

(2550=100)

Code    หมวด                        สัดส่วนน้ำหนัก               ดัชนี                    อัตราการเปลี่ยนแปลง               GROUP AND SUBGROUP
                                       ปีฐาน      มิ.ย.53    พ.ค.53    มิ.ย.52   มิ.ย.53/   มิ.ย.53/   ม.ค.-มิ.ย.53/
                                                                              พ.ค.53    มิ.ย.52    ม.ค.-มิ.ย.52
0000    รวมทุกรายการ                   100.00     108.15    107.87     104.7    0.26      3.3          3.5          ALL COMMODITIES
1000    หมวดอาหารและเครื่องดื่ม            33.01     123.53    122.29     116.4    1.01      6.1          4.5          FOOD AND BEVERAGES
1110    ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง          2.88     137.99    137.91     125.2    0.06     10.2          9.4          RICE, FLOUR AND CEREAL PRODUCTS
1120    เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ           5.73     124.51    123.96     122.1    0.44      2.0          3.2          MEATS, POULTRY AND FISH
1121    เนื้อสัตว์                          2.29     132.58    132.06     131.5    0.39      0.8          4.2          MEATS
1122    เป็ด ไก่                          1.08     125.98    125.58     120.1    0.32      4.9          4.9          DUCK, CHICKEN AND FROG
1123    ปลาและสัตว์น้ำ                     2.37     116.96    116.31     114.8    0.56      1.9          1.5          FISH AND AQUATIC ANIMALS
1130    ไข่และผลิตภัณฑ์นม                   2.10     120.89    119.39     117.1    1.26      3.2          3.2          EGGS AND DAIRY PRODUCTS
1140    ผักและผลไม้                       3.90     156.91    148.54     117.7    5.64     33.3         19.0          VEGETABLES AND FRUITS
1150    เครื่องประกอบอาหาร                1.95     119.36    119.32     116.3    0.03      2.7          2.1          SEASONINGS AND CONDIMENTS
1160    เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์              2.00     107.99    107.92     106.6    0.07      1.3          1.4          NON-ALCOHOLIC BEVERAGES
1200    อาหารสำเร็จรูป                   14.45     112.54    112.41     111.5    0.12      0.9          0.8          PREPARED FOOD
1210    อาหารบริโภค-ในบ้าน                7.93     114.19    114.03     113.1    0.14      1.0          0.9          PREPARED FOOD AT HOME
1220    อาหารบริโภค-นอกบ้าน               6.52     111.44    111.35     110.3    0.08      1.0          0.8          FOOD AWAY FROM HOME
2000    หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า          2.96      97.17     97.15      97.0    0.02      0.2         -2.2          APPAREL AND FOOTWARE
3000    หมวดเคหสถาน                    23.48      97.36     97.12      95.5    0.25      2.0          2.0          HOUSING AND FURNISHING
3100    ค่าที่พักอาศัย                      15.91     101.15    100.80     100.6    0.35      0.5          0.2          SHELTER
3110    ค่าเช่า                          15.19     100.99    100.63     100.5    0.36      0.5          0.1          HOUSE RENT
3200    ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง  5.10      84.77     84.77      77.7    0.00      9.1         10.7          ELECTRICITY, FUEL AND WATER SUPPLY
3300    สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน                0.18     101.55    101.56     101.5   -0.01      0.0          0.0          TEXTILE - HOUSE FURNISHING
3600    สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด            1.43     110.33    110.23     110.5    0.09     -0.2          0.0          CLEANIMG SUPPLIES
4000    หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล  6.87     103.07    102.97     102.3    0.10      0.8          0.8          MEDICAL AND PERSONAL CARE
4100    ค่าตรวจรักษาและค่ายา               2.17     101.05    101.03     100.9    0.02      0.1          0.1          MEDICAL CARE
4200    ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล                  3.80     104.82    104.64     103.4    0.17      1.4          1.4          PERSONAL CARE EXPENDITURES
5000    หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร  26.80      98.75     99.48      96.8   -0.73      2.1          6.3          TRANSPORTATION AND COMMUNICATION
5100    ค่าโดยสารสาธารณะ                 5.22      93.66     93.68      92.9   -0.02      0.9          0.5          PUBLIC TRANSPORTATION SERVICES
5200    ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง         13.56     101.81    103.22      98.3   -1.37      3.6         12.1          VEHICLES AND VEHICLE OPERATION
5400    การสื่อสาร                        4.48      99.46     99.39      99.4    0.07      0.1          0.0          COMMUNICATION AND EQUIPMENTS
6000    หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา
         และการศาสนา                    5.21      91.45     91.33      91.4    0.13      0.1         -7.1          RECREATION AND EDUCATION
7000    หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์     1.66     117.15    117.17     116.6   -0.02      0.5         10.2          TOBACCO AND ALCOHOLIC BEVERAGES
8000    หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม  66.99      98.71     98.90      97.2   -0.19      1.5          2.9          NON-FOOD AND BEVERAGES
9000    กลุ่มอาหารสดและพลังงาน            24.54     122.61    121.86     112.2    0.62      9.3         11.8          RAW FOOD AND ENERGY
9100    อาหารสด                        14.61     136.06    133.39     121.6    2.00     11.9          8.6          RAW FOOD
9200    พลังงาน                          9.93     101.64    103.73      97.4   -2.02      4.3         18.2          ENERGY
9300    ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน             75.46     103.63    103.51     102.5    0.12      1.1          0.7          EXCLUDE RAW FOOD AND ENERGY

หมายเหตุ.....: ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน หมายถึง ดัชนีผู้บริโภคชุดทั่วไปที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงาน

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0-2507-5850 โทรสาร. 0-2507-5825


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ