รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 3/2553( กรกฎาคม - กันยายน 2553)

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday August 4, 2010 13:31 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ทิศทางเศรษฐกิจยังเป็นไปด้วยดี แต่มีความวิตกกังวลทางการเมือง

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 3/2553( กรกฎาคม - กันยายน 2553)จากการสอบถามนักธุรกิจใน 76 จังหวัด จำนวน 1,932 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 36.9 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 42.4 และไม่ดี ร้อยละ 20.7คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 58.1 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 นักธุรกิจส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสหน้ายังมีทิศทางที่ดีแต่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่สงบทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน

ดัชนีคาดการณ์ไตรมาสที่ 3/2553
การสำรวจ                        ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น         ไม่เปลี่ยนแปลง    ไม่ดี/ลดลง   ดัชนี
                                    (%)               (%)           (%)
1. ผลประกอบการของกิจการ             34.6               44.2          21.2    56.8
2. ต้นทุนหลักต่อหน่วยสินค้าหรือบริการ       47.0               46.3           6.7    70.2
3. การจ้างงานในธุรกิจ                 15.3               76.7           8.0    53.6
4. การขยายกิจการของธุรกิจ             12.5               79.4           8.1    52.2
ดัชนีคาดการณ์รายภาค
            ภาค              จำนวน    ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น    ไม่เปลี่ยนแปลง     ไม่ดี     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล          226        47.1         42.1        10.8     68.1
2. ภาคกลาง                    301        33.7         45.0        21.3     56.2
3. ภาคเหนือ                    474        34.5         40.7        24.8     54.9
4. ภาคตะวันออก                  96        41.7         37.5        20.8     60.4
5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ         459        31.0         46.2        22.8     54.1
6. ภาคใต้                      376        42.4         39.2        18.4     62.0
ดัชนีคาดการณ์รายสาขา
        สาขา                 จำนวน    ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น    ไม่เปลี่ยนแปลง     ไม่ดี     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)
1. เกษตรกรรม                  169       44.8          46.7         8.5    68.2
2. อุตสาหกรรม                  499       37.0          47.2        15.8    60.6
3. พาณิชยกรรม                  762       29.8          47.4        22.8    53.5
4. ก่อสร้าง                      66       27.7          56.9        15.4    56.2
5. การเงินและประกันภัย            106      53.8          42.5         3.7    75.0
6. บริการ                      330       30.8          47.0        22.2    54.3
ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจ ไตรมาส 2/2553

1. ภาวะธุรกิจทั่วไป

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมือง ประกอบกับเศรษฐกิจทั้งในสหรัฐ-ยุโรปไม่ดีขึ้น ทิศทางส่งออกดีและ ยังคงเป็นตัวนำพาเศรษฐกิจของประเทศ

2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ

  • เกษตรกรรม พืชผลการเกษตรเสียหายจากภัยแล้ง ผลผลิตขาดแคลนไม่มีเข้าโรงงาน เช่น สับปะรด ข้าวโพด มะพร้าว ฯลฯ
  • อุตสาหกรรม ทิศทางส่งออกดี แต่ค่าเงินบาทแข็งเกินไป ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก
  • พาณิชยกรรม ธุรกิจมีการแข่งขันสูง การค้าซบเซา กำลังซื้อลดลง จากการประหยัดการใช้จ่าย
  • ก่อสร้าง การก่อสร้างน้อย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน
  • การเงิน ธุรกิจประกันชีวิตมีทิศทางดี ขณะที่สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
  • บริการ การท่องเที่ยวถูกกระทบจากการเมืองที่ไม่สงบ และภาคการขนส่งซบเซาตามฤดูกาล

3. ผลประกอบการของธุรกิจ

กำไรจากการประกอบกิจการลดลง ธุรกิจส่วนใหญ่ต่างประคองตัว

4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ

ต้นทุนสูงขึ้นจากค่าแรง วัตถุดิบ และพลังงาน

5. การจ้างงานในธุรกิจ

ขาดแคลนแรงงานระดับปฏิบัติการและแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อัญมณี สิ่งทออิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ฯลฯ

6. การขยายกิจการของธุรกิจ

เกิดสภาวะทางการเมืองทำให้เจ้าของกิจการยังไม่กล้าที่จะเสี่ยงลงทุนในด้านต่าง ๆ

ข้อเสนอแนะ

1. ภาครัฐต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมแก่นักลงทุน

2. รัฐควรดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพราะปัจจุบันค่าเงินแข็งเกินจริงส่งผลต่อภาคการส่งออก

3. จากนโยบายประกันโดยชดเชยราคาให้เกษตรกร แต่ไม่แทรกแซงตลาดทำให้ราคาข้าวตกต่ำลง จึงควรมีการแทรกแซงตลาดบ้าง

4. ดูแลให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ให้รายเล็กอยู่ได้เพื่อการกระจายรายได้ที่เหมาะสม

5. รัฐบาลควรเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองและกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

6. โครงสร้างภาษีมีความซ้ำซ้อน ควรลดการจัดเก็บภาษีตามสภาพเศรษฐกิจ

7. ควรเร่งการบริหารจัดการน้ำทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว

8. ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างงาน และกระตุ้นการพัฒนาส่วนภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

9. จัดหาติดต่อประเทศการค้าใหม่ ๆ เพื่อช่วยส่งออกสินค้าทางการเกษตร ช่วยผู้ประกอบการโดยหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ

10. มีมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพ เพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อ

11. ควรปรับปรุงระเบียบพิธีการขั้นตอนต่าง ๆ ในการนำเข้า-ส่งออก เพื่อให้รวดเร็วโปร่งใส

12. ให้ความสำคัญกับด้านโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5811-3 โทรสาร.0-2507-5806 www.price.moc.go.th


แท็ก นักธุรกิจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ