คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือของจังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์อุทกภัยในช่วงวันที่ 13 ส.ค. 2548 — 22 ส.ค. 2548
1.1 พื้นที่ประสบภัย จำนวน 12 จังหวัด 69 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ 335 ตำบล 1,329 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน สุโขทัย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
1.2 ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ประชาชนเสียชีวิต 11 คน (จังหวัดแม่ฮ่องสอน 8 คน ลำปาง 2 คน และเชียงใหม่ 1 คน) สูญหาย 8 คน (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) บาดเจ็บ 85 คน เดือดร้อน 146,277 คน 41,455 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน สะพาน 170 แห่ง ถนน 388 สาย พื้นที่การเกษตร 262,663 ไร่ ฝาย/พนังกั้นน้ำ 176 แห่ง บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,135 หลัง ปสุสัตว์ 34,395 ตัว บ่อปลา 1,365 บ่อ
3) มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน
1) พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย น่าน ลำปาง พะเยา และลำพูน) ระดับน้ำลดลงและสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรบางพื้นที่
ขณะนี้เจ้าหน้าที่ของอำเภอ/กิ่งอำเภอและจังหวัดกำลังสำรวจความเสียหายในพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย เป็นค่าซ่อมแซมบ้านเรือนราษฎรที่เสียหาย ค่าชดเชยพื้นที่การเกษตร ปศุสัตว์ บ่อปลา ตลอดจนการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหายให้กลับคลืนสู่สภาพเดิม โดยใช้จ่ายจากงบทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท)
2) พื้นที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด (ข้อมูล ณ 22 ส.ค.2548) ได้แก่
ลุ่มน้ำยม จำนวน 1 จังหวัด
(1) จังหวัดสุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมขัง 1 อำเภอ ได้แก่ อ.กงไกรลาศ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่เกษตร ต.ท่าฉนวน ม.1,4,6 โดยระดับน้ำในแม่น้ำยมวัดได้ 7.89 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 1.11 เมตร (ระดับตลิ่ง 9.00 เมตร)
การให้ความช่วยเหลือ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยสั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อปพร. และอื่นๆ ในพื้นที่ เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
* ปริมาณน้ำในลำน้ำยมที่ไหลจาก จ.สุโขทัย ที่จังหวัดพิษณุโลก อ.บางระกำ (ฝายบางบ้า) วัดได้ระดับสูง 39.15 เมตร (ตลิ่งสูง 41.00 เมตร) ต่ำกว่าตลิ่ง 1.85 เมตร
ลุ่มน้ำโขง จำนวน 4 จังหวัด
(1) จังหวัดนครพนม ระดับน้ำในแม่น้ำโขง ณ จุดตรวจบ้านหนองแสง อ.เมือง วัดได้ 12.72 เมตร (ระดับตลิ่ง 12.45 เมตร) สูงกว่าตลิ่ง 0.27 เมตร เทศบาลเมืองนครพนมได้ปิดประตูระบายน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบายน้ำที่เอ่อล้นออกจากเขตเทศบาลแล้ว เนื่องจากน้ำโขงมีระดับสูง ทำให้น้ำจากแม่น้ำสงครามและลำห้วยสาขาที่ไหลลงแม่น้ำโขงเอ่อล้นเข้าพื้นที่เกษตรเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ
การให้ความช่วยเหลือ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้แจ้งเตือนราษฎรในพื้นที่เสี่ยงภัยริมฝั่งแม่น้ำโขง ระมัดระวังอันตรายจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น และอพยพขนย้ายสิ่งของไปอยู่ในที่สูงแล้ว พร้อมกับให้อำเภอ กิ่งอำเภอ เทศบาล อบต. จัดเจ้าหน้าที่ เรือท้องแบน อาหาร น้ำดื่ม สนับสนุนให้แก่หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ว
(2) จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในเขต อ.เมืองฯ วัดได้ 13.09 เมตร (ระดับตลิ่ง 12.60 เมตร) สูงกว่าตลิ่ง 0.49 เมตร น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่การเกษตรใน 7 อำเภอ สำหรับในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหารระดับน้ำโขงต่ำกว่าตลิ่ง ไม่มีปัญหาน้ำท่วมแต่อย่างใด
การให้ความช่วยเหลือ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารสั่งการให้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หน่วย นรข.(ทร.) อปพร. และอื่นๆ ในพื้นที่ เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว และให้แขวงการทางจังหวัด ทางหลวงชนบท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซ่อมแซมถนนที่ชำรุดเสียหายให้สามารถสัญจรได้โดยด่วน
(3) จังหวัดอำนาจเจริญ ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรของอำเภอ ชานุมาน ในที่ลุ่มเป็นบางพื้นที่ อำเภอได้จัดเจ้าหน้าที่พร้อมเรือท้องแบน เตรียมพร้อมช่วยเหลือ อพยพประชาชน หากระดับน้ำสูงขึ้นแล้ว
(4) จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่เอ่อท่วมถนนสายปากลา-คันท่าเกวียน จำนวน 2 จุด ในตำบลนาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม ขณะนี้ลดลงและสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังใน ที่ลุ่มเป็นบางพื้นที่ ประชาชนเดือดร้อน 315 คน 67 ครัวเรือน
การให้ความช่วยเหลือ อำเภอ/อบต. จัดเจ้าหน้าที่นำอาหาร น้ำดื่ม ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมประสานขอรับการสนับสนุนเรือท้องแบนจาก นรข.(ทร.) ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
* ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในจังหวัดนครพนม มุกดาหาร และอำนาจเจริญ (เมื่อ 22 ส.ค.48) มีปริมาณน้ำสูงขึ้น โดยที่ อ.เมือง จ.นครพนม วัดได้ 12.72 เมตร (ระดับน้ำตลิ่ง 12.45 เมตร) สูงกว่าตลิ่ง 0.27 เมตร ที่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร (นอกเขตเทศบาล) วัดได้ 13.09 เมตร (ระดับตลิ่ง 12.60 เมตร) สูงกว่าตลิ่ง 0.49 เมตร
2. การให้ความช่วยเหลือและการฟื้นฟูภายหลังน้ำลด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้ไปปฏิบัติงานอำนวยการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือและการฟื้นฟูภายหลังน้ำลดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนี้
2.1 จังหวัดเชียงใหม่
1) จังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนอื่นๆ ได้แจกจ่ายถุงยังชีพและน้ำดื่มให้แก่ประชาชนที่ประสบภัย ดังนี้
(1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานถุงยังชีพผ่านมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อนำไปมอบให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในอำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่แตง จำนวน 500 ถุง
(2) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารพระราชทานถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด
(3) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (นายโชดก วีระธรรม พูลสวัสดิ์) มอบถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด
(4) ผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์อำเภอแม่อายมอบถุงยังชีพพระราชทาน 300 ชุด
(5) นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะมอบถุงยังชีพให้อำเภอพร้าว 300 ชุด
(6) ผู้ว่าราชการจังหวัดแจกจ่ายถุงยังชีพแก่เทศบาลนครเชียงใหม่ 10,000 ชุด
(7) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ แจกจ่ายถุงยังชีพอำเภอเชียงดาว 1,100 ชุด อำเภอสารภี 5,000 อำเภอแม่ริม 1,500 อำเภอแม่แตง 1,100 ชุด อำเมืองฯ 1,600 ชุด
รวมแจกจ่ายถุงยังชีพทั้งหมด 24,400 ชุด
2) ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ฟื้นฟู รื้อซากเศษไม้ เก็บขยะมูลฝอย ทำความสะอาดล้าง ดินโคลนเส้นทางคมนาคม สถานที่ราชการ ที่พักอาศัยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ โดยมีกำลังพลเข้าร่วมปฏิบัติงาน ประมาณ 4,000 คน โดยดำเนินการตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา แบ่งเขตในการทำความสะอาดเป็น 4 เขต ได้แก่ แขวงเม็งราย แขวงนครพิงค์ แขวงกาวิละ และแขวงศรีวิชัย และมีหน่วยงานต่างๆ ให้การสนับสนุนรถบรรทุกน้ำเพิ่มเติม ผลการดำเนินงานขณะนี้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
3) หน่วยงานที่สนับสนุนเรือท้องแบนให้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี ศูนย์ เขต 8 กำแพงเพชร ศูนย์ เขต 9 พิษณุโลก ศูนย์ เขต 10 ลำปาง ตำรวจน้ำได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น รวม 42 ลำ
4) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนกระสอบทราย จำนวน 100,000 ใบมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ ปภ.เขต 10 ลำปาง เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทหารจาก ป.พัน 7. กรมรบพิเศษที่ 5 บรรจุทรายใส่กระสอบที่สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีสนับสนุนทราย
5) ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำกรมชลประทานสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 26 เครื่อง
6) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ประสานงานกับโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐและ ภาคเอกชน รวม 33 หน่วยงาน ออกให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขบริการอื่น ๆ ดังนี้
- ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัย จำนวน 4,886 ราย
- ให้บริการสุขศึกษา จำนวน 6,824 ราย
- แจกคลอรีนและแนะนำเรื่องสุขาภิบาลอาหารและสุขาภิบาล จำนวน 503 ราย
2.2 จังหวัดแม่ฮ่องสอน
1) จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์รับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงทุกแห่ง ขอรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ
2) จังหวัดได้ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อดำเนินการฟื้นฟูรื้อซากต้นไม้ เก็บขยะมูลฝอย ทำความสะอาดเส้นทางคมนาคม สถานที่ราชการ ที่พักอาศัยในพื้นที่ อ.ปาย อ.ปางมะผ้า และอ.เมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
3) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและโคลนถล่มจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มอบเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยและญาติของผู้เสียชีวิต ดังนี้
- ค่าวัสดุก่อสร้างบ้านที่ได้รับความเสียหายทั้งหลัง จำนวน 25 หลัง รวมเป็นเงิน 526,500 บาท ค่าซ่อมแซมบ้านเรือนเสียหายบางส่วน 398 หลัง เป็นเงิน 4,433,700 บาท
- ค่าจัดการศพ อ.ปางมะผ้า 5 ราย ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 75,000 บาท อ.ปาย 2 ราย ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท อีก 1 ราย อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล รวมเป็นเงิน 105,000 บาท
- ค่าชดเชยอื่น ๆ 18,000 บาท
4) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประสานงานกับโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมจัดส่งทีมแพทย์และพยาบาลเข้าไปตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ แนะนำการดูแลสุขภาพ ป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคฉี่หนู โรคเท้าเปลื่อย และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เกิดโรคระบาด
5) หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้บริจาคถุงยังชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัย ดังนี้
- สภากาชาดไทยบริจาคถุงยังชีพชุดธารน้ำใจ 600 ชุด
- ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง บริจาค 305 ชุด
- บริษัท AIS บริจาค 500 ชุด
6) หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสนับสนุนน้ำดื่มให้แก่ประชาชนที่ประสบภัย ดังนี้
- สภากาชาดไทยบริจาค 1,000 โหล
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน 600 โหล
- กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุน 2,225 โหล
7) เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวม 2,170 คน ประกอบด้วย แขวงการทาง ทางหลวงชนบท หน่วยทหาร ร.7. พัน 5. ทหารพราน ฉ.ก.ร.7 ตชด.336 หน่วย นพค.32 อ.เชียงดาว ศูนย์สร้างทางหมวดลำปาง ศูนย์สร้างและบูรณะสะพานจังหวัดพิจิตร ตำรวจท่องเที่ยว ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอปาย/อำเภอปางมะผ้า/อำเภอเมืองฯ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปาย/ปางมะผ้า/เมืองฯ เจ้าหน้าที่เทศบาล/อบต.เวียงใต้ เจ้าหน้าที่จากวิทยาลัยอาชีพอำเภอแม่สะเรียง บริษัทเชียงใหม่วิศวโยธาธิการจำกัด สมาชิกอาสารักษาดินแดนอำเภอปาย/ปางมะผ้า/เมืองฯ กองร้อย อส.จ.แม่ฮ่องสอนที่ 1 เจ้าหน้าที่มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่อ่องสอน และภาคเอกชนในพื้นที่ ฯลฯ
8) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ส่งเครื่องไซเรนสัญญาณเตือนภัยให้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพิ่มเติมอีก 20 เครื่อง โดยนำไปติดตั้งในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย โคลนถล่มแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2548 เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันในกรณีที่มีฝนตกหนักติดต่อกันหลาย ๆ วัน และจะจัดส่งไปให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพิ่มเติมอีก 40 เครื่องโดยเร็วต่อไป
3. การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
3.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดส่งถุงยังชีพเพิ่มเติมจำนวน 52,000 ชุด และรองเท้าบู๊ท 1,000 คู่เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย พร้อมกับจัดหากระสอบบรรจุทราย จำนวน 300,000 ใบ เพื่อเตรียมพร้อมนำไปแก้ไขปัญหาพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนไว้แล้ว
3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังในการขออนุมัติใช้จ่ายเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดให้กับหน่วยทหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้จ่ายเงินทดรองราชการให้กับหน่วยทหาร ตำรวจทุกเหล่าทัพได้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
3.3 กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งทุกจังหวัดที่ประสบอุทกภัย เร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนโดยจ่ายเงินชดเชยบ้านเรือนราษฎรที่เสียหาย
เงินช่วยเหลือค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต/ผู้บาดเจ็บ การสำรวจและซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ถนน สะพาน ทำนบ/เหมือง/ฝาย ภายหลังน้ำลดให้กลับคืนสู่สภาวะปกติและให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้ประสบภัยที่พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยเร็วต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--
1. สถานการณ์อุทกภัยในช่วงวันที่ 13 ส.ค. 2548 — 22 ส.ค. 2548
1.1 พื้นที่ประสบภัย จำนวน 12 จังหวัด 69 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ 335 ตำบล 1,329 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน สุโขทัย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
1.2 ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ประชาชนเสียชีวิต 11 คน (จังหวัดแม่ฮ่องสอน 8 คน ลำปาง 2 คน และเชียงใหม่ 1 คน) สูญหาย 8 คน (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) บาดเจ็บ 85 คน เดือดร้อน 146,277 คน 41,455 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน สะพาน 170 แห่ง ถนน 388 สาย พื้นที่การเกษตร 262,663 ไร่ ฝาย/พนังกั้นน้ำ 176 แห่ง บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,135 หลัง ปสุสัตว์ 34,395 ตัว บ่อปลา 1,365 บ่อ
3) มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน
1) พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย น่าน ลำปาง พะเยา และลำพูน) ระดับน้ำลดลงและสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรบางพื้นที่
ขณะนี้เจ้าหน้าที่ของอำเภอ/กิ่งอำเภอและจังหวัดกำลังสำรวจความเสียหายในพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย เป็นค่าซ่อมแซมบ้านเรือนราษฎรที่เสียหาย ค่าชดเชยพื้นที่การเกษตร ปศุสัตว์ บ่อปลา ตลอดจนการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหายให้กลับคลืนสู่สภาพเดิม โดยใช้จ่ายจากงบทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท)
2) พื้นที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด (ข้อมูล ณ 22 ส.ค.2548) ได้แก่
ลุ่มน้ำยม จำนวน 1 จังหวัด
(1) จังหวัดสุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมขัง 1 อำเภอ ได้แก่ อ.กงไกรลาศ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่เกษตร ต.ท่าฉนวน ม.1,4,6 โดยระดับน้ำในแม่น้ำยมวัดได้ 7.89 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 1.11 เมตร (ระดับตลิ่ง 9.00 เมตร)
การให้ความช่วยเหลือ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยสั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อปพร. และอื่นๆ ในพื้นที่ เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
* ปริมาณน้ำในลำน้ำยมที่ไหลจาก จ.สุโขทัย ที่จังหวัดพิษณุโลก อ.บางระกำ (ฝายบางบ้า) วัดได้ระดับสูง 39.15 เมตร (ตลิ่งสูง 41.00 เมตร) ต่ำกว่าตลิ่ง 1.85 เมตร
ลุ่มน้ำโขง จำนวน 4 จังหวัด
(1) จังหวัดนครพนม ระดับน้ำในแม่น้ำโขง ณ จุดตรวจบ้านหนองแสง อ.เมือง วัดได้ 12.72 เมตร (ระดับตลิ่ง 12.45 เมตร) สูงกว่าตลิ่ง 0.27 เมตร เทศบาลเมืองนครพนมได้ปิดประตูระบายน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบายน้ำที่เอ่อล้นออกจากเขตเทศบาลแล้ว เนื่องจากน้ำโขงมีระดับสูง ทำให้น้ำจากแม่น้ำสงครามและลำห้วยสาขาที่ไหลลงแม่น้ำโขงเอ่อล้นเข้าพื้นที่เกษตรเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ
การให้ความช่วยเหลือ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้แจ้งเตือนราษฎรในพื้นที่เสี่ยงภัยริมฝั่งแม่น้ำโขง ระมัดระวังอันตรายจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น และอพยพขนย้ายสิ่งของไปอยู่ในที่สูงแล้ว พร้อมกับให้อำเภอ กิ่งอำเภอ เทศบาล อบต. จัดเจ้าหน้าที่ เรือท้องแบน อาหาร น้ำดื่ม สนับสนุนให้แก่หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ว
(2) จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในเขต อ.เมืองฯ วัดได้ 13.09 เมตร (ระดับตลิ่ง 12.60 เมตร) สูงกว่าตลิ่ง 0.49 เมตร น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่การเกษตรใน 7 อำเภอ สำหรับในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหารระดับน้ำโขงต่ำกว่าตลิ่ง ไม่มีปัญหาน้ำท่วมแต่อย่างใด
การให้ความช่วยเหลือ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารสั่งการให้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หน่วย นรข.(ทร.) อปพร. และอื่นๆ ในพื้นที่ เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว และให้แขวงการทางจังหวัด ทางหลวงชนบท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซ่อมแซมถนนที่ชำรุดเสียหายให้สามารถสัญจรได้โดยด่วน
(3) จังหวัดอำนาจเจริญ ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรของอำเภอ ชานุมาน ในที่ลุ่มเป็นบางพื้นที่ อำเภอได้จัดเจ้าหน้าที่พร้อมเรือท้องแบน เตรียมพร้อมช่วยเหลือ อพยพประชาชน หากระดับน้ำสูงขึ้นแล้ว
(4) จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่เอ่อท่วมถนนสายปากลา-คันท่าเกวียน จำนวน 2 จุด ในตำบลนาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม ขณะนี้ลดลงและสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังใน ที่ลุ่มเป็นบางพื้นที่ ประชาชนเดือดร้อน 315 คน 67 ครัวเรือน
การให้ความช่วยเหลือ อำเภอ/อบต. จัดเจ้าหน้าที่นำอาหาร น้ำดื่ม ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมประสานขอรับการสนับสนุนเรือท้องแบนจาก นรข.(ทร.) ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
* ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในจังหวัดนครพนม มุกดาหาร และอำนาจเจริญ (เมื่อ 22 ส.ค.48) มีปริมาณน้ำสูงขึ้น โดยที่ อ.เมือง จ.นครพนม วัดได้ 12.72 เมตร (ระดับน้ำตลิ่ง 12.45 เมตร) สูงกว่าตลิ่ง 0.27 เมตร ที่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร (นอกเขตเทศบาล) วัดได้ 13.09 เมตร (ระดับตลิ่ง 12.60 เมตร) สูงกว่าตลิ่ง 0.49 เมตร
2. การให้ความช่วยเหลือและการฟื้นฟูภายหลังน้ำลด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้ไปปฏิบัติงานอำนวยการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือและการฟื้นฟูภายหลังน้ำลดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนี้
2.1 จังหวัดเชียงใหม่
1) จังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนอื่นๆ ได้แจกจ่ายถุงยังชีพและน้ำดื่มให้แก่ประชาชนที่ประสบภัย ดังนี้
(1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานถุงยังชีพผ่านมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อนำไปมอบให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในอำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่แตง จำนวน 500 ถุง
(2) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารพระราชทานถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด
(3) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (นายโชดก วีระธรรม พูลสวัสดิ์) มอบถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด
(4) ผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์อำเภอแม่อายมอบถุงยังชีพพระราชทาน 300 ชุด
(5) นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะมอบถุงยังชีพให้อำเภอพร้าว 300 ชุด
(6) ผู้ว่าราชการจังหวัดแจกจ่ายถุงยังชีพแก่เทศบาลนครเชียงใหม่ 10,000 ชุด
(7) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ แจกจ่ายถุงยังชีพอำเภอเชียงดาว 1,100 ชุด อำเภอสารภี 5,000 อำเภอแม่ริม 1,500 อำเภอแม่แตง 1,100 ชุด อำเมืองฯ 1,600 ชุด
รวมแจกจ่ายถุงยังชีพทั้งหมด 24,400 ชุด
2) ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ฟื้นฟู รื้อซากเศษไม้ เก็บขยะมูลฝอย ทำความสะอาดล้าง ดินโคลนเส้นทางคมนาคม สถานที่ราชการ ที่พักอาศัยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ โดยมีกำลังพลเข้าร่วมปฏิบัติงาน ประมาณ 4,000 คน โดยดำเนินการตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา แบ่งเขตในการทำความสะอาดเป็น 4 เขต ได้แก่ แขวงเม็งราย แขวงนครพิงค์ แขวงกาวิละ และแขวงศรีวิชัย และมีหน่วยงานต่างๆ ให้การสนับสนุนรถบรรทุกน้ำเพิ่มเติม ผลการดำเนินงานขณะนี้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
3) หน่วยงานที่สนับสนุนเรือท้องแบนให้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี ศูนย์ เขต 8 กำแพงเพชร ศูนย์ เขต 9 พิษณุโลก ศูนย์ เขต 10 ลำปาง ตำรวจน้ำได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น รวม 42 ลำ
4) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนกระสอบทราย จำนวน 100,000 ใบมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ ปภ.เขต 10 ลำปาง เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทหารจาก ป.พัน 7. กรมรบพิเศษที่ 5 บรรจุทรายใส่กระสอบที่สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีสนับสนุนทราย
5) ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำกรมชลประทานสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 26 เครื่อง
6) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ประสานงานกับโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐและ ภาคเอกชน รวม 33 หน่วยงาน ออกให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขบริการอื่น ๆ ดังนี้
- ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัย จำนวน 4,886 ราย
- ให้บริการสุขศึกษา จำนวน 6,824 ราย
- แจกคลอรีนและแนะนำเรื่องสุขาภิบาลอาหารและสุขาภิบาล จำนวน 503 ราย
2.2 จังหวัดแม่ฮ่องสอน
1) จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์รับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงทุกแห่ง ขอรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ
2) จังหวัดได้ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อดำเนินการฟื้นฟูรื้อซากต้นไม้ เก็บขยะมูลฝอย ทำความสะอาดเส้นทางคมนาคม สถานที่ราชการ ที่พักอาศัยในพื้นที่ อ.ปาย อ.ปางมะผ้า และอ.เมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
3) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและโคลนถล่มจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มอบเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยและญาติของผู้เสียชีวิต ดังนี้
- ค่าวัสดุก่อสร้างบ้านที่ได้รับความเสียหายทั้งหลัง จำนวน 25 หลัง รวมเป็นเงิน 526,500 บาท ค่าซ่อมแซมบ้านเรือนเสียหายบางส่วน 398 หลัง เป็นเงิน 4,433,700 บาท
- ค่าจัดการศพ อ.ปางมะผ้า 5 ราย ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 75,000 บาท อ.ปาย 2 ราย ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท อีก 1 ราย อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล รวมเป็นเงิน 105,000 บาท
- ค่าชดเชยอื่น ๆ 18,000 บาท
4) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประสานงานกับโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมจัดส่งทีมแพทย์และพยาบาลเข้าไปตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ แนะนำการดูแลสุขภาพ ป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคฉี่หนู โรคเท้าเปลื่อย และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เกิดโรคระบาด
5) หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้บริจาคถุงยังชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัย ดังนี้
- สภากาชาดไทยบริจาคถุงยังชีพชุดธารน้ำใจ 600 ชุด
- ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง บริจาค 305 ชุด
- บริษัท AIS บริจาค 500 ชุด
6) หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสนับสนุนน้ำดื่มให้แก่ประชาชนที่ประสบภัย ดังนี้
- สภากาชาดไทยบริจาค 1,000 โหล
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน 600 โหล
- กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุน 2,225 โหล
7) เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวม 2,170 คน ประกอบด้วย แขวงการทาง ทางหลวงชนบท หน่วยทหาร ร.7. พัน 5. ทหารพราน ฉ.ก.ร.7 ตชด.336 หน่วย นพค.32 อ.เชียงดาว ศูนย์สร้างทางหมวดลำปาง ศูนย์สร้างและบูรณะสะพานจังหวัดพิจิตร ตำรวจท่องเที่ยว ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอปาย/อำเภอปางมะผ้า/อำเภอเมืองฯ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปาย/ปางมะผ้า/เมืองฯ เจ้าหน้าที่เทศบาล/อบต.เวียงใต้ เจ้าหน้าที่จากวิทยาลัยอาชีพอำเภอแม่สะเรียง บริษัทเชียงใหม่วิศวโยธาธิการจำกัด สมาชิกอาสารักษาดินแดนอำเภอปาย/ปางมะผ้า/เมืองฯ กองร้อย อส.จ.แม่ฮ่องสอนที่ 1 เจ้าหน้าที่มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่อ่องสอน และภาคเอกชนในพื้นที่ ฯลฯ
8) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ส่งเครื่องไซเรนสัญญาณเตือนภัยให้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพิ่มเติมอีก 20 เครื่อง โดยนำไปติดตั้งในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย โคลนถล่มแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2548 เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันในกรณีที่มีฝนตกหนักติดต่อกันหลาย ๆ วัน และจะจัดส่งไปให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพิ่มเติมอีก 40 เครื่องโดยเร็วต่อไป
3. การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
3.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดส่งถุงยังชีพเพิ่มเติมจำนวน 52,000 ชุด และรองเท้าบู๊ท 1,000 คู่เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย พร้อมกับจัดหากระสอบบรรจุทราย จำนวน 300,000 ใบ เพื่อเตรียมพร้อมนำไปแก้ไขปัญหาพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนไว้แล้ว
3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังในการขออนุมัติใช้จ่ายเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดให้กับหน่วยทหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้จ่ายเงินทดรองราชการให้กับหน่วยทหาร ตำรวจทุกเหล่าทัพได้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
3.3 กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งทุกจังหวัดที่ประสบอุทกภัย เร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนโดยจ่ายเงินชดเชยบ้านเรือนราษฎรที่เสียหาย
เงินช่วยเหลือค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต/ผู้บาดเจ็บ การสำรวจและซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ถนน สะพาน ทำนบ/เหมือง/ฝาย ภายหลังน้ำลดให้กลับคืนสู่สภาวะปกติและให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้ประสบภัยที่พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยเร็วต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--