แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีองค์ประกอบ ประกอบด้วย รัฐมนตรีและผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ เป็นต้น รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านข้าว เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบายการผลิตและการตลาดข้าวอย่างเหมาะสมเป็นเอกภาพและบูรณาการ โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นฝ่ายเลขานุการ
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ จะมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ ต่อคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับข้าวในระยะสั้นและระยะยาวให้สอดรับกันทั้งระบบ
2. อนุมัติแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดข้าวที่คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตและคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาดเสนอ
3. ส่งเสริมและสนับสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อการพัฒนาการผลิตและการตลาดข้าว โดยผ่านกองทุนวิจัยพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและการตลาด หรือแหล่งทุนอื่นที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติจะเห็นสมควร
4. พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสีข้าว ผู้ค้าข้าวและผู้ส่งออกข้าว เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมสูงสุดและเกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
5. พิจารณาอนุมัติการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ของระเบียบนี้
6. ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย และมาตรการที่กำหนด
7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน เพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการด้านการผลิตและการตลาดที่เหมาะสมต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ
8. เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือขอเอกสารหลักฐาน โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการ
9. ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้พิจารณาถึงความสำคัญของสินค้าข้าวที่เป็นสินค้าเกษตรหลักที่มีความสำคัญทั้งในเชิงเศรษฐกิจในภาพรวมเป็นสินค้าอาหารและเป็นแหล่งรายได้ของเกษตรกรรายย่อยจำนวนมาก จึงเห็นควรมีกลไกระดับชาติรับผิดชอบอย่างเป็นเอกภาพ และครบวงจรทั้งด้านการกำหนดนโยบาย การกำกับการดำเนินมาตรการ และติดตามประเมินผล ดังนี้
1. หลักการและเหตุผล
1.1 ความสำคัญของสินค้าข้าว
ข้าวเป็นสินค้าที่มีความสำคัญของประเทศไทยมาโดยตลอด โดย
1) ข้าวเป็นความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก การผลิตข้าวจึงทำให้คนไทยมีหลักประกันที่จะมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง
2) การปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักและรายได้ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยปัจจุบันมีเกษตรกรกว่า 3.7 ล้านครัวเรือน หรือร้อยละ 66 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งประเทศ ปลูกข้าวเพื่อเป็นรายได้และส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย
3) ด้านการผลิตข้าว ประเทศไทยมีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีการลงทุนในด้านชลประทานกว่า 32 ล้านไร่ มีการลงทุนวิจัยด้านพันธุ์ข้าวและอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีปัญหาหลายด้าน เช่น ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ เมล็ดพันธุ์ดีไม่เพียงพอ การขาดแคลนน้ำ ปัญหาด้านคุณภาพข้าว รวมทั้งยังมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าไม่มากเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการด้านการผลิต รวมทั้งการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
4) ด้านการตลาด ยังคงมีปัญหาด้านราคาข้าวตกต่ำ ทำให้รัฐต้องใช้งบประมาณดำเนินการแทรกแซงตลาดข้าวกว่าปีละ 5,000 ล้านบาท ในการส่งออกมีปัญหาการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากคู่แข่งขัน เช่น เวียดนาม อินเดีย เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงนโยบายและกลไกด้านตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5) ด้านสิ่งแวดล้อม การผลิตข้าวมีการใช้ทรัพยากรดินและน้ำจำนวนมาก และยังเป็นแหล่งปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อภาวะโลกร้อน จึงจำเป็นต้องมีการดูแลเพื่อลดปัญหาการปล่อยก๊าซมีเทนของนาข้าวในอนาคต
1.2 ความจำเป็นในการบริหารจัดการ
การดำเนินการตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าข้าวและการบริหารจัดการที่ผ่านมายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาข้าวได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากยังมีจุดอ่อนที่สำคัญหลายประการ ดังนี้
1. หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบสินค้าข้าวในปัจจุบันมีหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ ทำให้การทำงานอาจมีการซ้ำซ้อนและไม่เกิดการประหยัดงบประมาณ
2. การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ยังมีลักษณะแยกส่วน ขาดการบูรณาการและเชื่อมโยงทั้งระบบ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการผลิตกับการตลาดเพื่อบรรเทาปัญหาราคาข้าวตกต่ำที่เกิดขึ้น ทำให้ภาครัฐยังต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการแทรกแซงราคาข้าวทุกปี
3. กลไกหลักในด้านนโยบายข้าวที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ คณะกรรมการนโยบายข้าวนั้น การดำเนินงานที่ผ่านมายังไม่สามารถบูรณาการทั้งระบบ โดยที่ผ่านมาจะเป็นการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำเป็นหลัก ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น โดยยังไม่ได้แก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างทั้งระบบ
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกลไกบริหารจัดการข้าวในระดับชาติที่สามารถบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายข้าว ตั้งแต้ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กำกับดูแลการดำเนินงาน การอนุมัติแผนงานและการใช้เงินให้เป็นไปในทิศทางของนโยบายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ จะมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ ต่อคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับข้าวในระยะสั้นและระยะยาวให้สอดรับกันทั้งระบบ
2. อนุมัติแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดข้าวที่คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตและคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาดเสนอ
3. ส่งเสริมและสนับสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อการพัฒนาการผลิตและการตลาดข้าว โดยผ่านกองทุนวิจัยพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและการตลาด หรือแหล่งทุนอื่นที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติจะเห็นสมควร
4. พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสีข้าว ผู้ค้าข้าวและผู้ส่งออกข้าว เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมสูงสุดและเกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
5. พิจารณาอนุมัติการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ของระเบียบนี้
6. ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย และมาตรการที่กำหนด
7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน เพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการด้านการผลิตและการตลาดที่เหมาะสมต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ
8. เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือขอเอกสารหลักฐาน โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการ
9. ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้พิจารณาถึงความสำคัญของสินค้าข้าวที่เป็นสินค้าเกษตรหลักที่มีความสำคัญทั้งในเชิงเศรษฐกิจในภาพรวมเป็นสินค้าอาหารและเป็นแหล่งรายได้ของเกษตรกรรายย่อยจำนวนมาก จึงเห็นควรมีกลไกระดับชาติรับผิดชอบอย่างเป็นเอกภาพ และครบวงจรทั้งด้านการกำหนดนโยบาย การกำกับการดำเนินมาตรการ และติดตามประเมินผล ดังนี้
1. หลักการและเหตุผล
1.1 ความสำคัญของสินค้าข้าว
ข้าวเป็นสินค้าที่มีความสำคัญของประเทศไทยมาโดยตลอด โดย
1) ข้าวเป็นความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก การผลิตข้าวจึงทำให้คนไทยมีหลักประกันที่จะมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง
2) การปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักและรายได้ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยปัจจุบันมีเกษตรกรกว่า 3.7 ล้านครัวเรือน หรือร้อยละ 66 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งประเทศ ปลูกข้าวเพื่อเป็นรายได้และส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย
3) ด้านการผลิตข้าว ประเทศไทยมีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีการลงทุนในด้านชลประทานกว่า 32 ล้านไร่ มีการลงทุนวิจัยด้านพันธุ์ข้าวและอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีปัญหาหลายด้าน เช่น ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ เมล็ดพันธุ์ดีไม่เพียงพอ การขาดแคลนน้ำ ปัญหาด้านคุณภาพข้าว รวมทั้งยังมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าไม่มากเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการด้านการผลิต รวมทั้งการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
4) ด้านการตลาด ยังคงมีปัญหาด้านราคาข้าวตกต่ำ ทำให้รัฐต้องใช้งบประมาณดำเนินการแทรกแซงตลาดข้าวกว่าปีละ 5,000 ล้านบาท ในการส่งออกมีปัญหาการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากคู่แข่งขัน เช่น เวียดนาม อินเดีย เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงนโยบายและกลไกด้านตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5) ด้านสิ่งแวดล้อม การผลิตข้าวมีการใช้ทรัพยากรดินและน้ำจำนวนมาก และยังเป็นแหล่งปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อภาวะโลกร้อน จึงจำเป็นต้องมีการดูแลเพื่อลดปัญหาการปล่อยก๊าซมีเทนของนาข้าวในอนาคต
1.2 ความจำเป็นในการบริหารจัดการ
การดำเนินการตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าข้าวและการบริหารจัดการที่ผ่านมายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาข้าวได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากยังมีจุดอ่อนที่สำคัญหลายประการ ดังนี้
1. หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบสินค้าข้าวในปัจจุบันมีหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ ทำให้การทำงานอาจมีการซ้ำซ้อนและไม่เกิดการประหยัดงบประมาณ
2. การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ยังมีลักษณะแยกส่วน ขาดการบูรณาการและเชื่อมโยงทั้งระบบ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการผลิตกับการตลาดเพื่อบรรเทาปัญหาราคาข้าวตกต่ำที่เกิดขึ้น ทำให้ภาครัฐยังต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการแทรกแซงราคาข้าวทุกปี
3. กลไกหลักในด้านนโยบายข้าวที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ คณะกรรมการนโยบายข้าวนั้น การดำเนินงานที่ผ่านมายังไม่สามารถบูรณาการทั้งระบบ โดยที่ผ่านมาจะเป็นการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำเป็นหลัก ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น โดยยังไม่ได้แก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างทั้งระบบ
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกลไกบริหารจัดการข้าวในระดับชาติที่สามารถบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายข้าว ตั้งแต้ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กำกับดูแลการดำเนินงาน การอนุมัติแผนงานและการใช้เงินให้เป็นไปในทิศทางของนโยบายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--