แท็ก
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
กรมการขนส่งทางบก
คณะรัฐมนตรี
ภาคตะวันตก
รังสีวิทยา
ภาคกลาง
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการจัดสัมมนาโครงการ “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 3 ตามที่ สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นปัญหาที่สื่อท้องถิ่นภาคกลางและภาคตะวันตกได้นำเสนอในการสัมมนา ไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของรัฐบาลให้สื่อมวลชนได้รับทราบอย่างถูกต้องชัดเจนและทั่วถึงต่อไป
สำนักโฆษกและกรมประชาสัมพันธ์ได้ร่วมกันจัดสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 3 เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2550 ณ โรงแรมเอกไพลิน ริเวอร์แคว จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบแนวนโยบายของรัฐบาลเรื่อง “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” รวมทั้งชี้แจงทำความเข้าใจนโยบายการบริหารงานของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยสื่อมวลชนในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก 16 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการสัมมนาและมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายมรกต กรเกษม) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย ชุ่มรัตน์) นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คณะโฆษกกระทรวง ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด และรองผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าร่วมสัมมนาและร่วมชี้แจงสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ได้ถ่ายทอดการสัมมนาให้ประชาชนในเขตพื้นที่ได้รับชมและรับฟัง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ด้วย
ผลการจัดสัมมนา
สรุปผลการจัดสัมมนาภาคเช้า สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม” จำนวน 6 กลุ่ม สื่อมวลชนให้ความสนใจแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง มีการเสนอแนะแนวทางอันเป็นประโยชน์ รวมทั้งเน้นย้ำบทบาทและความร่วมมือของทั้งสื่อมวลชนและภาครัฐที่จะนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดยที่ประชุมได้ให้ความสำคัญถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของสื่อมวลชนทุกแขนงที่จะต้องร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความปรองดองและความสมานฉันท์อย่างแท้จริง เช่น สื่อต้องมีจรรยาบรรณ จริยธรรม และคุณธรรมในการทำหน้าที่ สื่อต้องเป็นกลางไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐและทุน การเสนอข้อมูลข่าวสารต้องเป็นไปในเชิงบวก สร้างสรรค์ เน้นการสร้างสามัคคีของคนในชาติ สื่อต้องตรวจสอบข้อมูลข่าวสารก่อนนำเสนอสู่สังคมและเปิดโอกาสให้บุคคลในข่าวสามารถชี้แจงข้อเท็จจริงผ่านสื่อได้
รวมทั้งได้เสนอให้รัฐบาลให้การสนับสนุนเยาวชน ผู้รู้ หรือปราชญ์ชาวบ้านมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารมากขึ้น นอกจากนี้ที่ประชุมยังเสนอให้รัฐบาลและสื่อร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลใช้หอกระจายข่าวระดับหมู่บ้าน ในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน โดยรัฐควรให้การสนับสนุนในด้านการดำเนินการด้วย
สรุปผลการสัมมนาภาคบ่าย นายกรัฐมนตรีพบสื่อมวลชนท้องถิ่น ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาพบกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในเวลา 15.00 น. นายกิตติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอสรุปหลักการสำคัญของยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาว่ารัฐบาลไม่เพียงต้องการนำทรัพยากรและงบประมาณลงไปสู่ประชาชนฐานรากเท่านั้น แต่ต้องการสร้างกระบวนการเรียนรู้ภาคประชาชนโดยใช้ทรัพยากรและงบประมาณเป็นเครื่องมือในการปรับ วิธีคิด วิธีการแก้ปัญหาของคนในชุมชน ให้ประชาชนมีความคิดริเริ่ม รวมทั้งหาทางออกในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยส่วนราชการจะทำหน้าที่เพียงการสนับสนุนและให้ข้อมูล เพื่อให้ชุมชนสามารถแก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการอนุมัติโครงการไปแล้วทั้งสิ้นประมาณ 4.7 พันล้านบาทจากงบประมาณ 5 พันล้าน หรือประมาณร้อยละ 94 โดยทุกจังหวัดมีการอนุมัติโครงการและจัดสรรงบประมาณลงในระดับพื้นที่แล้ว
ในส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายมรกต กรเกษม) ได้รายงานสรุปความคืบหน้าผลการดำเนินงานด้านงบประมาณและการดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง ซึ่งจากการติดตามการดำเนินโครงการพบว่าสามารถตอบสนองต่อแผนงานของรัฐบาลครบทั้ง 5 ด้าน
เมื่อนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเดินทางมาถึง สื่อมวลชนได้ซักถามปัญหาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในพื้นที่ เช่น ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจะสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืนอย่างไร เกณฑ์ที่ใช้ในการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข มาตรการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรและสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนตกต่ำ การแก้ไขปัญหา การขยายตัวของห้างสรรพสินค้ารายใหญ่และการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ปัญหาแรงงานต่างด้าว ยุทธศาสตร์การค้าชายแดนจังหวัดราชบุรี-พม่า ปัญหายาเสพติด การส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย การแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชน ซึ่งคำถามส่วนใหญ่นายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องได้ชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่สื่อมวลชนในเบื้องต้นแล้ว ยังคงมีเพียงบางคำถามที่เป็นปัญหาในพื้นที่คือกรณีที่ดินทำกินบริเวณบ้านหมอเฒ่า บ้านแก่งแคน กิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรีเกิดปัญหาน้ำท่วม ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่ในพื้นที่ราชการและอุทยาน จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประเด็นหน่วยงานราชการมีแนวทางแก้ปัญหามลพิษทางน้ำจากการปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรสาครอย่างไร และกรณีสื่อมวลชนขอให้รัฐบาลสนับสนุนการดำเนินงานของหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านเท่านั้นที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่สื่อมวลชนเสนอแนะ โดยเสนอให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขผ่านช่องทางฟรีทีวีเพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งในประเด็นนี้ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย ชุ่มรัตน์) แจ้งว่าจะนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาต่อไป
การประเมินผลการสัมมนา
(ก) ผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น จำนวน 476 คน แบ่งเป็นรัฐมนตรี 4 ท่าน สื่อมวลชนท้องถิ่น 223 คน คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกกระทรวง 20 คน ผู้ตรวจราชการกระทรวง 19 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด 18 คน ผู้บริหารส่วนราชการ 3 คน เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ 48 คน เจ้าหน้าที่สำนักโฆษก 18 คน ผู้ติดตามและผู้สังเกตการณ์ 123 คน
(ข) ความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการจัดสัมมนา จากการสำรวจโดยแบบสอบถามพบว่าสื่อมวลชนพอใจกับการชี้แจงและสร้างความเขาใจเรื่องยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของรัฐบาล เพราะทำให้ เข้าใจแนวทางการดำเนินการมากขึ้น และเห็นว่าการสัมมนาในครั้งนี้ทำให้ได้รับประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นและทัศนะคติที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เกิดเครือข่ายด้านสื่อประชาสัมพันธ์ ได้ข้อมูลที่ถูกต้องจากรัฐบาลโดยตรงเพื่อนำไปสร้างความเข้าใจกับประชาชน รวมทั้งได้ทราบวัตถุประสงค์การดำเนินงานของรัฐบาลชัดเจนและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองเพิ่มขึ้น ส่วนการสัมมนาเรื่อง “บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม”นั้น สื่อมวลชนให้ความเห็นว่าเป็นการกระตุ้นการทำหน้าที่ บทบาท และจรรยาบรรณของสื่อมวลชนให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อร่วมมือในการสร้างสรรค์สังคมไทยต่อไป
นอกจากนี้สื่อมวลชนยังได้เสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดสัมมนาว่าควรเปิดเวทีในการซักถามรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงให้มากขึ้นกว่าเดิม และควรจัดสัมมนาให้ครอบคลุมในทุกภูมิภาคอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงควรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดจัดรายการพบสื่อมวลชนทุกเดือน เพื่อสร้างความเข้าใจและแก้ปัญหาในท้องถิ่นด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--
สำนักโฆษกและกรมประชาสัมพันธ์ได้ร่วมกันจัดสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 3 เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2550 ณ โรงแรมเอกไพลิน ริเวอร์แคว จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบแนวนโยบายของรัฐบาลเรื่อง “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” รวมทั้งชี้แจงทำความเข้าใจนโยบายการบริหารงานของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยสื่อมวลชนในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก 16 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการสัมมนาและมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายมรกต กรเกษม) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย ชุ่มรัตน์) นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คณะโฆษกกระทรวง ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด และรองผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าร่วมสัมมนาและร่วมชี้แจงสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ได้ถ่ายทอดการสัมมนาให้ประชาชนในเขตพื้นที่ได้รับชมและรับฟัง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ด้วย
ผลการจัดสัมมนา
สรุปผลการจัดสัมมนาภาคเช้า สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม” จำนวน 6 กลุ่ม สื่อมวลชนให้ความสนใจแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง มีการเสนอแนะแนวทางอันเป็นประโยชน์ รวมทั้งเน้นย้ำบทบาทและความร่วมมือของทั้งสื่อมวลชนและภาครัฐที่จะนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดยที่ประชุมได้ให้ความสำคัญถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของสื่อมวลชนทุกแขนงที่จะต้องร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความปรองดองและความสมานฉันท์อย่างแท้จริง เช่น สื่อต้องมีจรรยาบรรณ จริยธรรม และคุณธรรมในการทำหน้าที่ สื่อต้องเป็นกลางไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐและทุน การเสนอข้อมูลข่าวสารต้องเป็นไปในเชิงบวก สร้างสรรค์ เน้นการสร้างสามัคคีของคนในชาติ สื่อต้องตรวจสอบข้อมูลข่าวสารก่อนนำเสนอสู่สังคมและเปิดโอกาสให้บุคคลในข่าวสามารถชี้แจงข้อเท็จจริงผ่านสื่อได้
รวมทั้งได้เสนอให้รัฐบาลให้การสนับสนุนเยาวชน ผู้รู้ หรือปราชญ์ชาวบ้านมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารมากขึ้น นอกจากนี้ที่ประชุมยังเสนอให้รัฐบาลและสื่อร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลใช้หอกระจายข่าวระดับหมู่บ้าน ในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน โดยรัฐควรให้การสนับสนุนในด้านการดำเนินการด้วย
สรุปผลการสัมมนาภาคบ่าย นายกรัฐมนตรีพบสื่อมวลชนท้องถิ่น ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาพบกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในเวลา 15.00 น. นายกิตติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอสรุปหลักการสำคัญของยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาว่ารัฐบาลไม่เพียงต้องการนำทรัพยากรและงบประมาณลงไปสู่ประชาชนฐานรากเท่านั้น แต่ต้องการสร้างกระบวนการเรียนรู้ภาคประชาชนโดยใช้ทรัพยากรและงบประมาณเป็นเครื่องมือในการปรับ วิธีคิด วิธีการแก้ปัญหาของคนในชุมชน ให้ประชาชนมีความคิดริเริ่ม รวมทั้งหาทางออกในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยส่วนราชการจะทำหน้าที่เพียงการสนับสนุนและให้ข้อมูล เพื่อให้ชุมชนสามารถแก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการอนุมัติโครงการไปแล้วทั้งสิ้นประมาณ 4.7 พันล้านบาทจากงบประมาณ 5 พันล้าน หรือประมาณร้อยละ 94 โดยทุกจังหวัดมีการอนุมัติโครงการและจัดสรรงบประมาณลงในระดับพื้นที่แล้ว
ในส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายมรกต กรเกษม) ได้รายงานสรุปความคืบหน้าผลการดำเนินงานด้านงบประมาณและการดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง ซึ่งจากการติดตามการดำเนินโครงการพบว่าสามารถตอบสนองต่อแผนงานของรัฐบาลครบทั้ง 5 ด้าน
เมื่อนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเดินทางมาถึง สื่อมวลชนได้ซักถามปัญหาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในพื้นที่ เช่น ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจะสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืนอย่างไร เกณฑ์ที่ใช้ในการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข มาตรการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรและสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนตกต่ำ การแก้ไขปัญหา การขยายตัวของห้างสรรพสินค้ารายใหญ่และการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ปัญหาแรงงานต่างด้าว ยุทธศาสตร์การค้าชายแดนจังหวัดราชบุรี-พม่า ปัญหายาเสพติด การส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย การแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชน ซึ่งคำถามส่วนใหญ่นายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องได้ชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่สื่อมวลชนในเบื้องต้นแล้ว ยังคงมีเพียงบางคำถามที่เป็นปัญหาในพื้นที่คือกรณีที่ดินทำกินบริเวณบ้านหมอเฒ่า บ้านแก่งแคน กิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรีเกิดปัญหาน้ำท่วม ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่ในพื้นที่ราชการและอุทยาน จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประเด็นหน่วยงานราชการมีแนวทางแก้ปัญหามลพิษทางน้ำจากการปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรสาครอย่างไร และกรณีสื่อมวลชนขอให้รัฐบาลสนับสนุนการดำเนินงานของหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านเท่านั้นที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่สื่อมวลชนเสนอแนะ โดยเสนอให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขผ่านช่องทางฟรีทีวีเพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งในประเด็นนี้ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย ชุ่มรัตน์) แจ้งว่าจะนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาต่อไป
การประเมินผลการสัมมนา
(ก) ผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น จำนวน 476 คน แบ่งเป็นรัฐมนตรี 4 ท่าน สื่อมวลชนท้องถิ่น 223 คน คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกกระทรวง 20 คน ผู้ตรวจราชการกระทรวง 19 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด 18 คน ผู้บริหารส่วนราชการ 3 คน เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ 48 คน เจ้าหน้าที่สำนักโฆษก 18 คน ผู้ติดตามและผู้สังเกตการณ์ 123 คน
(ข) ความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการจัดสัมมนา จากการสำรวจโดยแบบสอบถามพบว่าสื่อมวลชนพอใจกับการชี้แจงและสร้างความเขาใจเรื่องยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของรัฐบาล เพราะทำให้ เข้าใจแนวทางการดำเนินการมากขึ้น และเห็นว่าการสัมมนาในครั้งนี้ทำให้ได้รับประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นและทัศนะคติที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เกิดเครือข่ายด้านสื่อประชาสัมพันธ์ ได้ข้อมูลที่ถูกต้องจากรัฐบาลโดยตรงเพื่อนำไปสร้างความเข้าใจกับประชาชน รวมทั้งได้ทราบวัตถุประสงค์การดำเนินงานของรัฐบาลชัดเจนและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองเพิ่มขึ้น ส่วนการสัมมนาเรื่อง “บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม”นั้น สื่อมวลชนให้ความเห็นว่าเป็นการกระตุ้นการทำหน้าที่ บทบาท และจรรยาบรรณของสื่อมวลชนให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อร่วมมือในการสร้างสรรค์สังคมไทยต่อไป
นอกจากนี้สื่อมวลชนยังได้เสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดสัมมนาว่าควรเปิดเวทีในการซักถามรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงให้มากขึ้นกว่าเดิม และควรจัดสัมมนาให้ครอบคลุมในทุกภูมิภาคอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงควรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดจัดรายการพบสื่อมวลชนทุกเดือน เพื่อสร้างความเข้าใจและแก้ปัญหาในท้องถิ่นด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--