คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ตามที่คณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ได้มีการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2550 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานและแนวทางในการดำเนินงาน ซึ่งที่ประชุมได้กำหนดมาตรการและแนวทางแก้ปัญหาหมอกควัน ดังนี้
1) การดำเนินการในระยะสั้น
- แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการแก้ไขปัญหา ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน
- กระทรวงมหาดไทยจะจัดประชุมชี้แจง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทาง VDO Conference เพื่อแจ้งให้ประชาชนในจังหวัดทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากการเผา
- ให้ศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือสามารถสั่งการไปที่จังหวัดได้โดยตรง ทั้งนี้ให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประสานขอรายชื่อรองผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งจะเป็นผู้ประสานงานกับศูนย์อำนวยการต่อไป
- ให้สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งบินสำรวจการทำฝนหลวงทุกวัน ช่วยแจ้งจุด Hot Spot มาที่ศูนย์อำนวยการฯ เพื่อที่จะได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการต่อไป
- ให้จังหวัดประชาสัมพันธ์อย่างเต็มรูปแบบและเต็มกำลัง ทางวิทยุชุมชน และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ตลอดจนวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์
- ก่อนการประกาศและการยกเลิกการประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉิน ขอให้จังหวัดแจ้งมาที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย และศูนย์อำนวยการฯ ทุกครั้ง
- ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตรวจสอบและหาข้อเท็จจริงจากการเผาว่ามีสาเหตุมาจากการทำ Contact Farming หรือไม่อย่างไร
- ให้กระทรวงการต่างประเทศประสานความร่วมมือกับประเทศอาเซียนเพื่อประชุมหารือร่วมกันในการแก้ปัญหา Hot Spot และหมอกควัน
2) การดำเนินการในระยะกลาง
- แจ้งข้อมูลในการตรวจวัดระดับฝุ่นละอองให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อเป็นการป้องกันและเพิ่มความระมัดระวัง อาทิ การขึ้นป้ายแจ้งคุณภาพอากาศและจำนวนผู้ป่วย เช่นเดียวกับป้ายแจ้งอุบัติเหตุในจังหวัด
- การใช้สื่อ โดยเฉพาะสื่อวิทยุ เพื่อสื่อสารและขอความร่วมมือให้ประชาชนในพื้นที่ได้เฝ้าระวังการจุดไฟทั้งการเผาป่า และการเผาในที่โล่ง
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
- การจัดหาอาสาสมัครพิทักษ์ไฟในชุมชน พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการดับไฟ
3) การดำเนินการในระยะยาว
- การให้ความรู้ตามหลักวิชาการเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติแก่เกษตรกรในการทำเกษตรกรรม
- การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตอำเภอเมือง หรือเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น
- การกำหนดเทศบัญญัติ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เรื่องการเผาขยะและวัชพืช ให้มีบทลงโทษและปฏิบัติอย่างจริงจัง
- การศึกษาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาไฟป่าอย่างรอบด้าน เพื่อการวางแผนแก้ไขปัญหาที่ครบวงจร
- การส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์การบริหารส่วนตำบล ได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า รวมทั้งภัยพิบัติอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
- การจัดการฝึกอบรมชาวบ้านให้มีความรู้ในเรื่องของไฟป่า
- การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงก่อนถึงฤดูแล้ง
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ภัยแล้ง น้ำท่วม และดินถล่ม ไปพร้อมๆ กัน โดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาประชุมและจัดทำแผนร่วมกันอย่างบูรณาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
1) การดำเนินการในระยะสั้น
- แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการแก้ไขปัญหา ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน
- กระทรวงมหาดไทยจะจัดประชุมชี้แจง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทาง VDO Conference เพื่อแจ้งให้ประชาชนในจังหวัดทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากการเผา
- ให้ศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือสามารถสั่งการไปที่จังหวัดได้โดยตรง ทั้งนี้ให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประสานขอรายชื่อรองผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งจะเป็นผู้ประสานงานกับศูนย์อำนวยการต่อไป
- ให้สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งบินสำรวจการทำฝนหลวงทุกวัน ช่วยแจ้งจุด Hot Spot มาที่ศูนย์อำนวยการฯ เพื่อที่จะได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการต่อไป
- ให้จังหวัดประชาสัมพันธ์อย่างเต็มรูปแบบและเต็มกำลัง ทางวิทยุชุมชน และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ตลอดจนวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์
- ก่อนการประกาศและการยกเลิกการประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉิน ขอให้จังหวัดแจ้งมาที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย และศูนย์อำนวยการฯ ทุกครั้ง
- ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตรวจสอบและหาข้อเท็จจริงจากการเผาว่ามีสาเหตุมาจากการทำ Contact Farming หรือไม่อย่างไร
- ให้กระทรวงการต่างประเทศประสานความร่วมมือกับประเทศอาเซียนเพื่อประชุมหารือร่วมกันในการแก้ปัญหา Hot Spot และหมอกควัน
2) การดำเนินการในระยะกลาง
- แจ้งข้อมูลในการตรวจวัดระดับฝุ่นละอองให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อเป็นการป้องกันและเพิ่มความระมัดระวัง อาทิ การขึ้นป้ายแจ้งคุณภาพอากาศและจำนวนผู้ป่วย เช่นเดียวกับป้ายแจ้งอุบัติเหตุในจังหวัด
- การใช้สื่อ โดยเฉพาะสื่อวิทยุ เพื่อสื่อสารและขอความร่วมมือให้ประชาชนในพื้นที่ได้เฝ้าระวังการจุดไฟทั้งการเผาป่า และการเผาในที่โล่ง
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
- การจัดหาอาสาสมัครพิทักษ์ไฟในชุมชน พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการดับไฟ
3) การดำเนินการในระยะยาว
- การให้ความรู้ตามหลักวิชาการเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติแก่เกษตรกรในการทำเกษตรกรรม
- การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตอำเภอเมือง หรือเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น
- การกำหนดเทศบัญญัติ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เรื่องการเผาขยะและวัชพืช ให้มีบทลงโทษและปฏิบัติอย่างจริงจัง
- การศึกษาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาไฟป่าอย่างรอบด้าน เพื่อการวางแผนแก้ไขปัญหาที่ครบวงจร
- การส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์การบริหารส่วนตำบล ได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า รวมทั้งภัยพิบัติอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
- การจัดการฝึกอบรมชาวบ้านให้มีความรู้ในเรื่องของไฟป่า
- การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงก่อนถึงฤดูแล้ง
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ภัยแล้ง น้ำท่วม และดินถล่ม ไปพร้อมๆ กัน โดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาประชุมและจัดทำแผนร่วมกันอย่างบูรณาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--