แท็ก
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
แฟชั่น ไอส์แลนด์
กระทรวงคมนาคม
วันวิสาขบูชา
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้มีการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการเรือปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย
1. ความปลอดภัยเกี่ยวกับตัวเรือ โดยเรือที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ควรมีผนังสองชั้น มีอุปกรณ์ประจำเรือที่ใช้ในการขนถ่ายน้ำมันที่เหมาะสม มีอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้การได้ดี มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard of practice) ที่ได้รับการยอมรับ มีคนประจำเรือที่ได้รับการฝึกอบรมในการขนถ่ายน้ำมันเป็นอย่างดี
2. ความปลอดภัยที่ท่าเรือที่มีขนถ่ายน้ำมัน มีท่าเรือและอุปกรณ์ขนถ่ายน้ำมันที่เหมาะสม มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard of procedure) ที่ได้รับการยอมรับ มีพนักงานประจำท่าเรือที่ได้รับการฝึกอบรมในการขนถ่ายน้ำมันเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมรับข้อสังเกตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. การขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำสูงและบางชนิดใกล้สูญพันธุ์
2. เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุหรือมีการรั่วไหลจากการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง อันจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและระบบนิเวศโดยรวม ให้ดำเนินการดังนี้
2.1 จำแนกชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ขนส่ง เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมผลกระทบได้ตามลักษณะคุณสมบัติทางเคมีของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตามความแตกต่างของลักษณะการแพร่กระจายของผลิตภัณฑ์และความรุนแรงของผลกระทบ
2.2 ควรเพิ่มมาตรการการจัดการคราบน้ำมันโดยใช้ตาข่ายดักจับน้ำมันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดหรือเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้ในแม่น้ำ แทนการใช้ทุ่นกักน้ำมันที่มีความเหมาะสมกับการใช้ในทะเล
2.3 ให้มีการกำหนดมาตรการประเมินความเสี่ยงอันตราย โอกาสเกิดอุบัติเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งจัดทำแผนประสานการปฏิบัติงานร่วมกันในการป้องกันและระงับเหตุร่วมกับหน่วยงานในระดับพื้นที่
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. ในการประชุมคณะกรรมการประสานการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (ฝ่ายไทย) (JCCCN ฝ่ายไทย) ครั้งที่ 2/2549 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2549 ที่ประชุมเห็นว่าการที่ไทยขายน้ำมันให้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนน่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของไทย และควรดำเนินการให้มีการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและผลิตภัณฑ์น้ำมันในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ระหว่างไทย- จีน อย่างถูกต้องโดยเร็วเพื่อให้ฝ่ายไทยได้รับประโยชน์เต็มที่ มิฉะนั้น ฝ่ายจีนอาจใช้ทางเลือกอื่นในการนำเข้าและ/หรือขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและผลิตภัณฑ์น้ำมันแทน และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาพร้อมกับขอความเห็นชอบให้มีการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและผลิตภัณฑ์น้ำมันในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาร่างมาตรการความปลอดภัยสำหรับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและผลิตภัณฑ์น้ำมันในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง และเห็นชอบให้มีการจัดทำมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ มาตรการรองรับด้านความปลอดภัย และมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2. กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีได้ปรับปรุงร่างมาตรการความปลอดภัยสำหรับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและผลิตภัณฑ์น้ำมันในแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง ตามความเห็นของที่ประชุม JCCCN ฝ่ายไทย ครั้งที่ 2/2549 และได้กำหนดมาตรการความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการขนถ่ายและการขจัดมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำมัน ซึ่งเป็นไปตามประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 411/2543 เรื่อง มาตรการความปลอดภัยในการขนถ่ายน้ำมันและเคมีภัณฑ์ และประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 412/2543 เรื่อง แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการและขจัดมลพิษประจำท่าเรือสำหรับการขนถ่ายสินค้าอันตราย
ในส่วนของการดำเนินการแก้ไขหรือกู้ภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีจะทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งจัดทำขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน พ.ศ. 2547
3. สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เชิญผู้แทนไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหภาพพม่า เข้าร่วมการทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ระหว่างวันที่ 18-28 ธันวาคม 2549 จากท่าเรือ จิงหง-ท่าเรือเชียงแสน โดยเป็นการทดลองเฉพาะการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (น้ำมันดีเซล) ซึ่งกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีพิจารณาเห็นว่าเป็นการดำเนินการที่มีมาตรการความปลอดภัยเพียงพอและสามารถยอมรับได้ และในการทดลองครั้งนี้ไม่มีการทดลองขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวแต่อย่างใด ประกอบกับการกำหนดมาตรการความปลอดภัยและป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เป็นมาตรการเพื่อรองรับเฉพาะการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กระทรวงคมนาคม จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. ความปลอดภัยเกี่ยวกับตัวเรือ โดยเรือที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ควรมีผนังสองชั้น มีอุปกรณ์ประจำเรือที่ใช้ในการขนถ่ายน้ำมันที่เหมาะสม มีอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้การได้ดี มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard of practice) ที่ได้รับการยอมรับ มีคนประจำเรือที่ได้รับการฝึกอบรมในการขนถ่ายน้ำมันเป็นอย่างดี
2. ความปลอดภัยที่ท่าเรือที่มีขนถ่ายน้ำมัน มีท่าเรือและอุปกรณ์ขนถ่ายน้ำมันที่เหมาะสม มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard of procedure) ที่ได้รับการยอมรับ มีพนักงานประจำท่าเรือที่ได้รับการฝึกอบรมในการขนถ่ายน้ำมันเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมรับข้อสังเกตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. การขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำสูงและบางชนิดใกล้สูญพันธุ์
2. เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุหรือมีการรั่วไหลจากการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง อันจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและระบบนิเวศโดยรวม ให้ดำเนินการดังนี้
2.1 จำแนกชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ขนส่ง เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมผลกระทบได้ตามลักษณะคุณสมบัติทางเคมีของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตามความแตกต่างของลักษณะการแพร่กระจายของผลิตภัณฑ์และความรุนแรงของผลกระทบ
2.2 ควรเพิ่มมาตรการการจัดการคราบน้ำมันโดยใช้ตาข่ายดักจับน้ำมันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดหรือเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้ในแม่น้ำ แทนการใช้ทุ่นกักน้ำมันที่มีความเหมาะสมกับการใช้ในทะเล
2.3 ให้มีการกำหนดมาตรการประเมินความเสี่ยงอันตราย โอกาสเกิดอุบัติเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งจัดทำแผนประสานการปฏิบัติงานร่วมกันในการป้องกันและระงับเหตุร่วมกับหน่วยงานในระดับพื้นที่
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. ในการประชุมคณะกรรมการประสานการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (ฝ่ายไทย) (JCCCN ฝ่ายไทย) ครั้งที่ 2/2549 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2549 ที่ประชุมเห็นว่าการที่ไทยขายน้ำมันให้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนน่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของไทย และควรดำเนินการให้มีการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและผลิตภัณฑ์น้ำมันในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ระหว่างไทย- จีน อย่างถูกต้องโดยเร็วเพื่อให้ฝ่ายไทยได้รับประโยชน์เต็มที่ มิฉะนั้น ฝ่ายจีนอาจใช้ทางเลือกอื่นในการนำเข้าและ/หรือขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและผลิตภัณฑ์น้ำมันแทน และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาพร้อมกับขอความเห็นชอบให้มีการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและผลิตภัณฑ์น้ำมันในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาร่างมาตรการความปลอดภัยสำหรับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและผลิตภัณฑ์น้ำมันในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง และเห็นชอบให้มีการจัดทำมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ มาตรการรองรับด้านความปลอดภัย และมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2. กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีได้ปรับปรุงร่างมาตรการความปลอดภัยสำหรับการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและผลิตภัณฑ์น้ำมันในแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง ตามความเห็นของที่ประชุม JCCCN ฝ่ายไทย ครั้งที่ 2/2549 และได้กำหนดมาตรการความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการขนถ่ายและการขจัดมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำมัน ซึ่งเป็นไปตามประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 411/2543 เรื่อง มาตรการความปลอดภัยในการขนถ่ายน้ำมันและเคมีภัณฑ์ และประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 412/2543 เรื่อง แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการและขจัดมลพิษประจำท่าเรือสำหรับการขนถ่ายสินค้าอันตราย
ในส่วนของการดำเนินการแก้ไขหรือกู้ภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีจะทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งจัดทำขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน พ.ศ. 2547
3. สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เชิญผู้แทนไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหภาพพม่า เข้าร่วมการทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ระหว่างวันที่ 18-28 ธันวาคม 2549 จากท่าเรือ จิงหง-ท่าเรือเชียงแสน โดยเป็นการทดลองเฉพาะการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (น้ำมันดีเซล) ซึ่งกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีพิจารณาเห็นว่าเป็นการดำเนินการที่มีมาตรการความปลอดภัยเพียงพอและสามารถยอมรับได้ และในการทดลองครั้งนี้ไม่มีการทดลองขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวแต่อย่างใด ประกอบกับการกำหนดมาตรการความปลอดภัยและป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เป็นมาตรการเพื่อรองรับเฉพาะการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กระทรวงคมนาคม จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--