คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีและการขยายเวลาเบิกจ่ายเงินตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2544 — 2548 โดยเคร่งครัด ดังนี้
1. เงินงบประมาณปี พ.ศ. 2544 — 2547 จำนวน 43,964 ล้านบาท (148,184 — 104,220) ในหลักการต้องพับไปแล้ว เว้นแต่กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจแจ้งรายละเอียดการก่อหนี้ผูกพันให้กรมบัญชีกลางทราบเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเป็นกรณี ๆ ไป ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548
2. เงินงบประมาณปี พ.ศ. 2548 ในหลักการจะให้กันเงินเฉพาะกรณีที่ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว กรณีที่ก่อหนี้ ผูกพันไม่ทันก็อนุมัติให้ทำสัญญาผูกพันได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เท่านั้น ยกเว้นงบประมาณงบกลางที่คณะรัฐมนตรีอาจมีมติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้เป็นกรณีพิเศษ
ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารจัดการและควบคุมการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้สามารถสนองตอบต่อแนวนโยบายของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตรงตามความต้องการของประชาชนและสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. เงินงบประมาณปี พ.ศ. 2544 — 2547 จำนวน 43,964 ล้านบาท (148,184 — 104,220) ในหลักการต้องพับไปแล้ว เว้นแต่กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจแจ้งรายละเอียดการก่อหนี้ผูกพันให้กรมบัญชีกลางทราบเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเป็นกรณี ๆ ไป ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548
2. เงินงบประมาณปี พ.ศ. 2548 ในหลักการจะให้กันเงินเฉพาะกรณีที่ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว กรณีที่ก่อหนี้ ผูกพันไม่ทันก็อนุมัติให้ทำสัญญาผูกพันได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เท่านั้น ยกเว้นงบประมาณงบกลางที่คณะรัฐมนตรีอาจมีมติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้เป็นกรณีพิเศษ
ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารจัดการและควบคุมการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้สามารถสนองตอบต่อแนวนโยบายของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตรงตามความต้องการของประชาชนและสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--