คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัยและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุโซนร้อน“วีเซนเต” จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 26 กันยายน 2548) ดังนี้
1. พื้นที่ประสบภัย รวม 16 จังหวัด 50 อำเภอ 89 ตำบล ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เลย ศรีสะเกษ ลำปาง ระนอง อุตรดิตถ์ เชียงราย สุโขทัย แพร่ ลำพูน พะเยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
2. ความเสียหาย
2.1) ด้านชีวิต ราษฎรเสียชีวิต 2 คน (จ.ลำปาง 1 คน และเชียงใหม่ 1 คน) บาดเจ็บ 7 คน (จ.ลำปาง) ราษฎรเดือดร้อน 158,650 คน 47,177 ครัวเรือน
2.2) ด้านทรัพย์สิน ถนน 28 สาย สะพาน 11 แห่ง โรงเรียน 7 แห่ง ฝาย 8 แห่ง พื้นที่การเกษตร 302,702 ไร่
2.3) มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
3. สถานการณ์ปัจจุบัน
3.1 พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย ศรีสะเกษ ระนอง อุตรดิตถ์ อ่างทอง แพร่ ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรบางพื้นที่
โดยเจ้าหน้าที่ของอำเภอ/กิ่งอำเภอและจังหวัด ได้นำเครื่องอุปโภค บริโภค ถุงยังชีพแจกจ่ายผู้ประสบภัยและเร่งสำรวจความเสียหายในพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย เป็นค่าซ่อมแซมบ้านเรือนราษฎรที่เสียหาย ค่าชดเชยพื้นที่การเกษตร ปศุสัตว์ บ่อปลา ตลอดจนการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหายให้กลับสู่คืนสภาพเดิม โดยใช้จ่ายจากงบทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท)
3.2 พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา สุโขทัย และปราจีนบุรี ดังนี้
1) จังหวัดปราจีนบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 2 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง ระดับน้ำจากแม่น้ำปราจีนบุรี สูงเกือบล้นตลิ่ง ได้ท่วมขังบริเวณที่ลุ่มใน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่างาม และตำบลบางบริบูรณ์
อำเภอกบินทร์บุรี บริเวณที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี มีน้ำท่วมขังที่ตำบลวังดาล และเทศบาลตำบลกบินทร์ เพียงเล็กน้อย เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมซ้ำซาก
2) จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร จำนวน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามชุก อำเภอศรีประจันต์ อำเภออู่ทอง อำเภอเมือง อำเภอบางปลาม้า อำเภอด่านช้าง อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอหนองหญ้าไซ
3) จังหวัดฉะเชิงเทรา น้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร จำนวน 3 อำเภอ คือ อำเภอพนมสารคาม ที่ตำบลหนองแหน ประมาณ 10,000 ไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ ในเขตตำบลสิบเอ็ดศอกและอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ในเขตตำบลโยธกา
4) จังหวัดสุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มพื้นที่การเกษตรของอำเภอศรีสำโรง ที่ตำบลวังทอง หมู่ 3 น้ำเอ่อล้นเล็กน้อย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
4. การให้ความช่วยเหลือและการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
4.1 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานกับกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และได้มีวิทยุแจ้งเตือนไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก และศูนย์ ปภ. เขต ในพื้นที่แล้วตั้งแต่วันที่ 16 ,17 และ 18 ก.ย. 2548 เพื่อให้ติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และให้เตรียมการช่วยเหลือประชาชน พร้อมกับระดมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เรือท้องแบนจากทุกหน่วยงาน ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันที เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นรวมทั้งจัดเตรียมอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค สำหรับแจกจ่ายแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยและจุดที่เป็นสถานที่รองรับการอพยพ
4.2 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งให้จังหวัดทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและโคลนถล่ม และสาธารณภัยอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลทางเวบไซต์ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามการพยากรณ์อากาศ รายงานอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด ปริมาณน้ำฝน ข้อมูลกลุ่มฝนจากเรดาร์ ฯลฯ โดยผ่านทางเวบไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี กรมพัฒนาที่ดิน หน่วยงานสำรวจเชิงภูมิศาสตร์ประเทศสหรัฐอเมริกา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำชับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบติดตามสภาพกลุ่มฝนจากเรดาร์ตรวจอากาศจากเวบไซต์ ของกรมอุตุนิยมวิทยาทุกชั่วโมง เพื่อให้ทราบข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ ประเมินและคาดการณ์แนวโน้มการเกิดอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
4.3 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 เวลา 16.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.อ.อ คงศักดิ์ วันทนา) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะได้เดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เพื่ออำนวยการวางแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งมีการจัดประชุมคณะกรรมการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไทย-จีน ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2548 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) อำนวยการแก้ไขปัญหาภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นจนกว่าการประชุมดังกล่าวจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ได้สั่งการให้จังหวัดเชียงใหม่เร่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาฝายหินทิ้งในลำน้ำปิง จำนวน 3 แห่ง ที่กีดขวางทางน้ำโดยพิจารณาความเหมาะสมการจัดทำฝายยางทดแทน เพื่อจะได้เสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการดังกล่าวโดยเร็ว
4.4 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ได้เดินทางไปตรวจสภาพความเสียหาย จากอุทกภัยและการฟื้นฟูความสะอาดในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่และมอบถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด ให้กับประชาชนที่ประสบภัยที่ชุมชนบ้านป่าพร้าวนอก และที่ อบต.ป่าแดด
5. สถานการณ์ พายุไต้ฝุ่น “ดอมเรย”
5.1 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเตือน เรื่องพายุไต้ฝุ่น “ดอมเรย” ฉบับที่ 8(65/2548) ณ วันที่ 26 กันยายน 2548 เวลา 06.00 น. ว่าพายุไต้ฝุ่น“ดอมเรย” ( DAMREY) ในทะเลจีนใต้ตอนบน ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีนแล้ว เมื่อเวลา 04.00 น. (26 ก.ย. 2548) มีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูด 19.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก
5.2 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์แล้ว คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในเช้าวันที่ 27 กันยายน 2548 ผ่านประเทศลาว อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นในวันที่ 28 กันยายน 2548 และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยแนวจังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ในวันที่ 27 กันยายน 2548 ต่อจากนั้นจะมีฝนเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 28-29 กันยายน 2548 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเตรียมการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
5.3 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งเตือนให้จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก แจ้งอำเภอ/ กิ่งอำเภอ เทศบาล อบต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อน “ดอมเรย” (DAMREY) และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีเมื่อเกิดอุทกภัย
5.4 สำหรับการเตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการ ดังนี้
1) จัดทำแนวกระสอบทรายป้องกันน้ำปิงเอ่อล้นตลิ่ง โดยซ่อมแซมคันป้องกันที่เป็นจุดอ่อนที่ทำให้น้ำปิงไหลทะลักเข้าท่วมในพื้นที่เศรษฐกิจ
2) ให้ผันน้ำจากแม่น้ำปิงลงสู่คลองชลประทานแม่แตง เพื่อลดปริมาณน้ำปิงที่จะผ่านเมืองเชียงใหม่
3) เปิดช่องทางน้ำบริเวณปากคลองแม่ข่าที่ลงสู่แม่น้ำปิงให้กว้างขึ้นและกำจัดสวะ/ผักตบที่กีดขวางทางน้ำให้เสร็จโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
1. พื้นที่ประสบภัย รวม 16 จังหวัด 50 อำเภอ 89 ตำบล ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เลย ศรีสะเกษ ลำปาง ระนอง อุตรดิตถ์ เชียงราย สุโขทัย แพร่ ลำพูน พะเยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
2. ความเสียหาย
2.1) ด้านชีวิต ราษฎรเสียชีวิต 2 คน (จ.ลำปาง 1 คน และเชียงใหม่ 1 คน) บาดเจ็บ 7 คน (จ.ลำปาง) ราษฎรเดือดร้อน 158,650 คน 47,177 ครัวเรือน
2.2) ด้านทรัพย์สิน ถนน 28 สาย สะพาน 11 แห่ง โรงเรียน 7 แห่ง ฝาย 8 แห่ง พื้นที่การเกษตร 302,702 ไร่
2.3) มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
3. สถานการณ์ปัจจุบัน
3.1 พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย ศรีสะเกษ ระนอง อุตรดิตถ์ อ่างทอง แพร่ ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรบางพื้นที่
โดยเจ้าหน้าที่ของอำเภอ/กิ่งอำเภอและจังหวัด ได้นำเครื่องอุปโภค บริโภค ถุงยังชีพแจกจ่ายผู้ประสบภัยและเร่งสำรวจความเสียหายในพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย เป็นค่าซ่อมแซมบ้านเรือนราษฎรที่เสียหาย ค่าชดเชยพื้นที่การเกษตร ปศุสัตว์ บ่อปลา ตลอดจนการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหายให้กลับสู่คืนสภาพเดิม โดยใช้จ่ายจากงบทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท)
3.2 พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา สุโขทัย และปราจีนบุรี ดังนี้
1) จังหวัดปราจีนบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 2 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง ระดับน้ำจากแม่น้ำปราจีนบุรี สูงเกือบล้นตลิ่ง ได้ท่วมขังบริเวณที่ลุ่มใน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่างาม และตำบลบางบริบูรณ์
อำเภอกบินทร์บุรี บริเวณที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี มีน้ำท่วมขังที่ตำบลวังดาล และเทศบาลตำบลกบินทร์ เพียงเล็กน้อย เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมซ้ำซาก
2) จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร จำนวน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามชุก อำเภอศรีประจันต์ อำเภออู่ทอง อำเภอเมือง อำเภอบางปลาม้า อำเภอด่านช้าง อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอหนองหญ้าไซ
3) จังหวัดฉะเชิงเทรา น้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร จำนวน 3 อำเภอ คือ อำเภอพนมสารคาม ที่ตำบลหนองแหน ประมาณ 10,000 ไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ ในเขตตำบลสิบเอ็ดศอกและอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ในเขตตำบลโยธกา
4) จังหวัดสุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มพื้นที่การเกษตรของอำเภอศรีสำโรง ที่ตำบลวังทอง หมู่ 3 น้ำเอ่อล้นเล็กน้อย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
4. การให้ความช่วยเหลือและการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
4.1 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานกับกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และได้มีวิทยุแจ้งเตือนไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก และศูนย์ ปภ. เขต ในพื้นที่แล้วตั้งแต่วันที่ 16 ,17 และ 18 ก.ย. 2548 เพื่อให้ติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และให้เตรียมการช่วยเหลือประชาชน พร้อมกับระดมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เรือท้องแบนจากทุกหน่วยงาน ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันที เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นรวมทั้งจัดเตรียมอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค สำหรับแจกจ่ายแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยและจุดที่เป็นสถานที่รองรับการอพยพ
4.2 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งให้จังหวัดทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและโคลนถล่ม และสาธารณภัยอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลทางเวบไซต์ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามการพยากรณ์อากาศ รายงานอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด ปริมาณน้ำฝน ข้อมูลกลุ่มฝนจากเรดาร์ ฯลฯ โดยผ่านทางเวบไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี กรมพัฒนาที่ดิน หน่วยงานสำรวจเชิงภูมิศาสตร์ประเทศสหรัฐอเมริกา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำชับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบติดตามสภาพกลุ่มฝนจากเรดาร์ตรวจอากาศจากเวบไซต์ ของกรมอุตุนิยมวิทยาทุกชั่วโมง เพื่อให้ทราบข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ ประเมินและคาดการณ์แนวโน้มการเกิดอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
4.3 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 เวลา 16.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.อ.อ คงศักดิ์ วันทนา) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะได้เดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เพื่ออำนวยการวางแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งมีการจัดประชุมคณะกรรมการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไทย-จีน ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2548 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) อำนวยการแก้ไขปัญหาภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นจนกว่าการประชุมดังกล่าวจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ได้สั่งการให้จังหวัดเชียงใหม่เร่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาฝายหินทิ้งในลำน้ำปิง จำนวน 3 แห่ง ที่กีดขวางทางน้ำโดยพิจารณาความเหมาะสมการจัดทำฝายยางทดแทน เพื่อจะได้เสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการดังกล่าวโดยเร็ว
4.4 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ได้เดินทางไปตรวจสภาพความเสียหาย จากอุทกภัยและการฟื้นฟูความสะอาดในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่และมอบถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด ให้กับประชาชนที่ประสบภัยที่ชุมชนบ้านป่าพร้าวนอก และที่ อบต.ป่าแดด
5. สถานการณ์ พายุไต้ฝุ่น “ดอมเรย”
5.1 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเตือน เรื่องพายุไต้ฝุ่น “ดอมเรย” ฉบับที่ 8(65/2548) ณ วันที่ 26 กันยายน 2548 เวลา 06.00 น. ว่าพายุไต้ฝุ่น“ดอมเรย” ( DAMREY) ในทะเลจีนใต้ตอนบน ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีนแล้ว เมื่อเวลา 04.00 น. (26 ก.ย. 2548) มีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูด 19.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก
5.2 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์แล้ว คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในเช้าวันที่ 27 กันยายน 2548 ผ่านประเทศลาว อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นในวันที่ 28 กันยายน 2548 และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยแนวจังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ในวันที่ 27 กันยายน 2548 ต่อจากนั้นจะมีฝนเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 28-29 กันยายน 2548 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเตรียมการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
5.3 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งเตือนให้จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก แจ้งอำเภอ/ กิ่งอำเภอ เทศบาล อบต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อน “ดอมเรย” (DAMREY) และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีเมื่อเกิดอุทกภัย
5.4 สำหรับการเตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการ ดังนี้
1) จัดทำแนวกระสอบทรายป้องกันน้ำปิงเอ่อล้นตลิ่ง โดยซ่อมแซมคันป้องกันที่เป็นจุดอ่อนที่ทำให้น้ำปิงไหลทะลักเข้าท่วมในพื้นที่เศรษฐกิจ
2) ให้ผันน้ำจากแม่น้ำปิงลงสู่คลองชลประทานแม่แตง เพื่อลดปริมาณน้ำปิงที่จะผ่านเมืองเชียงใหม่
3) เปิดช่องทางน้ำบริเวณปากคลองแม่ข่าที่ลงสู่แม่น้ำปิงให้กว้างขึ้นและกำจัดสวะ/ผักตบที่กีดขวางทางน้ำให้เสร็จโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--