คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ มาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกเชิงรุก ดังนี้
1. จัดทำโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (x-ray) เพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม — 17 พฤศจิกายน 2548 โดยให้ทุกจังหวัดดำเนินการค้นหาโรคไข้หวัดนกในทุกพื้นที่ และรายงานผลการดำเนินการไปยังกรมปศุสัตว์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทุกวัน
2. ดำเนินการทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยงได้แก่ พื้นที่เกิดโรคไข้หวัดนก พื้นที่รอบจังหวัดที่เกิดโรค (Buffer Zone) และพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไข้หวัดนก รวม 21 จังหวัด โดยให้เน้นสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ฟาร์มสัตว์ปีก สถานที่ฆ่าสัตว์ปีก และโรงฆ่าสัตว์ปีก ระหว่างวันที่ 17-31 ตุลาคม 2548
3. ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะไก่ชนและเป็นไล่ทุ่ง โดยในกรณีของเป็ดไล่ทุ่งให้เลี้ยงห่างจากสัตว์ปีกชนิดอื่น
4. ให้ทุกจังหวัดดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ชนิดต่าง ๆ อย่างกว้างขวางให้เข้าถึงประชาชนระดับหมู่บ้าน โดยบูรณาการการดำเนินงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัด ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น ให้เน้นการลดความตื่นตระหนกและการกระตุ้นให้ประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก
5. ปรับระบบการเลี้ยงสัตว์ปีก โดยเริ่มใช้กับการปรับระบบการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งก่อน โดยจะมีมาตรการสนับสนุนให้มีการสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยในขณะนี้ให้เข้มงวดในการตรวจ X-ray เป็ดไล่ทุ่ง หากพบเชื้อไข้หวัดนกให้ทำการทำลายทั้งฝูงทันที
6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การเลี้ยงสัตว์มิให้การเลี้ยงสัตว์หลายชนิด (Species) ภายในบริเวณฟาร์มหรือโรงเรือนเดียวกัน เพื่อป้องกันปัญหาการติดต่อของเชื้อโรคข้ามชนิดสัตว์ (Species) และโอกาสในการกลายพันธุ์ (Mutation) ของเชื้อโรค ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศเตือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
1. จัดทำโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (x-ray) เพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม — 17 พฤศจิกายน 2548 โดยให้ทุกจังหวัดดำเนินการค้นหาโรคไข้หวัดนกในทุกพื้นที่ และรายงานผลการดำเนินการไปยังกรมปศุสัตว์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทุกวัน
2. ดำเนินการทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยงได้แก่ พื้นที่เกิดโรคไข้หวัดนก พื้นที่รอบจังหวัดที่เกิดโรค (Buffer Zone) และพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไข้หวัดนก รวม 21 จังหวัด โดยให้เน้นสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ฟาร์มสัตว์ปีก สถานที่ฆ่าสัตว์ปีก และโรงฆ่าสัตว์ปีก ระหว่างวันที่ 17-31 ตุลาคม 2548
3. ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะไก่ชนและเป็นไล่ทุ่ง โดยในกรณีของเป็ดไล่ทุ่งให้เลี้ยงห่างจากสัตว์ปีกชนิดอื่น
4. ให้ทุกจังหวัดดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ชนิดต่าง ๆ อย่างกว้างขวางให้เข้าถึงประชาชนระดับหมู่บ้าน โดยบูรณาการการดำเนินงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัด ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น ให้เน้นการลดความตื่นตระหนกและการกระตุ้นให้ประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก
5. ปรับระบบการเลี้ยงสัตว์ปีก โดยเริ่มใช้กับการปรับระบบการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งก่อน โดยจะมีมาตรการสนับสนุนให้มีการสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยในขณะนี้ให้เข้มงวดในการตรวจ X-ray เป็ดไล่ทุ่ง หากพบเชื้อไข้หวัดนกให้ทำการทำลายทั้งฝูงทันที
6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การเลี้ยงสัตว์มิให้การเลี้ยงสัตว์หลายชนิด (Species) ภายในบริเวณฟาร์มหรือโรงเรือนเดียวกัน เพื่อป้องกันปัญหาการติดต่อของเชื้อโรคข้ามชนิดสัตว์ (Species) และโอกาสในการกลายพันธุ์ (Mutation) ของเชื้อโรค ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศเตือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--