การรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาไก่ไข่

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 20, 2010 15:18 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาไก่ไข่ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอทั้ง 2 ข้อ ดังนี้

1. รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการแก้ไขปัญหาไก่ไข่

2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขยายเวลาการรายงานผลการศึกษาปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเดิมกำหนดไว้ 60 วัน คือภายในวันที่ 4 กันยายน 2553 ออกไปอีก 30 วัน

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) รายงานว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (6 กรกฎาคม 2553 และ 13 กรกฎาคม 2553) กษ. โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้

มาตรการแก้ไขปัญหาไข่ไก่ตามมติคณะรัฐมนตรี                ผลการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม  2553
มาตรการระยะสั้น                                    มาตรการระยะสั้น
1. ให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ขยายเวลาการปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง          1. ให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ขยายเวลาการปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรงเพื่อผลผลิต
ออกไปอีกอย่างน้อย 4 สัปดาห์ จากเดิมที่กำหนดปลด           ไข่ไก่ช่วงเดือนกรกฎาคม — สิงหาคม 2553 ข้อมูลการปลด
แม่ไก่ไข่ยืนกรงที่อายุ 78 สัปดาห์ เป็น 82 สัปดาห์            แม่ไก่ไข่ผ่านระบบการเคลื่อนย้ายอิเล็กทรอนิกส์ลดลงจากช่วง
หรือจนกว่าสถานการณ์ตลาดไข่ไก่จะเข้าสู่ภาวะปกติ            เดียวกันของปีที่แล้วจำนวน 3 แสนตัว/เดือน  สามารถเพิ่ม
                                                 ผลผลิตไก่ไข่ 5 แสนฟอง/เดือน  ปัจจุบันสถานการณ์ตลาดไข่ไก่
                                                 เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ
2. ให้ผู้ส่งออกไข่ไก่ชะลอการส่งออกเป็นการชั่วคราว          2. ให้ผู้ส่งออกชะลอส่งออกไข่ไก่ชั่วคราว ยกเว้นกรณีที่มีสัญญา
ยกเว้นกรณีที่มีสัญญาผูกพัน                               ผูกพัน  ข้อมูลกรมศุลกากรรายงานล่าสุดเดือนกรกฎาคม 2553
                                                 ปริมาณส่งออกไข่ไก่เดิมเฉลี่ยเดือนละ 12 ล้านฟอง  ลดลง
                                                 เหลือเดือนละ 6 ล้านฟอง  ทำให้มีผลผลิตไข่ไก่บริโภค
                                                 ภายในประเทศเพิ่มขึ้น 6 ล้านฟอง/เดือน
3. ให้กรมปศุสัตว์บริหารจัดการกระจายลูกไก่ไข่จำนวน         3. ให้ปศุสัตว์จังหวัดแจ้งมาตรการแก้ไขปัญหาไข่ไก่ตามมติ
50,000 ตัวต่อเดือนให้แก่เกษตรกรที่ขาดแคลนลูกไก่ไข่         คณะรัฐมนตรีและรับปัญหาจากเกษตรกรเรื่องลูกไก่ไข่ขาด
ทั้งนี้ ให้กรมปศุสัตว์ประสานแผนการผลิตและการ              แคลน  ช่วงเดือนกรกฎาคม — สิงหาคม 2553 เกษตรกรแสดง
กระจายลูกไก่ไข่ร่วมกับภาคเอกชนผู้ผลิตลูกไก่ไข่              ความจำนงต้องการลูกไก่ไข่ทดแทนและขยายการเลี้ยงทั้งหมด
                                                 37 ราย  จำนวน 74,000 ตัว ได้ประสานผู้เลี้ยงไก่ไข่พันธุ์จัดหา
                                                 ลูกไก่ไข่จัดส่งให้เกษตรกรที่มีแผนนำเข้าไก่ไข่แน่นอน  ถึงสิ้นปี
                                                 2553 จำนวน 16 ราย  เหลืออีก 11 ราย  เกษตรกรยังไม่ได้
                                                 กำหนดแผนนำเข้าไก่ไข่เข้าเลี้ยงที่แน่นอน
4. ให้กรมปศุสัตว์ กษ. ในฐานะเลขา                     4. การติดตามเฝ้าระวังราคาพันธุ์สัตว์และไข่ไก่ได้ขอความ
คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์เฝ้า             ร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ไข่พันธุ์ปรับราคาพันธุ์สัตว์ให้สอดคล้องกับ
ระวังและติดตามภาวะราคาลูกไก่ ไก่สาว อย่าง              สถานการณ์และต้นทุนการผลิต  ดำเนินการ 2 ระยะ ครั้งที่ 1
ต่อเนื่องและเสนอคณะกรรมการฯ ให้กำหนดแนวทาง           ปรับราคาลูกไก่ไข่และไก่สาว จากตัวละ 30 และ 154 บาท
ในการปรับราคาจำหน่ายให้สอดคล้องกับต้นทุนการ             เหลือ 28 และ 149 บาท ครั้งที่ 2 ปรับราคาลูกไก่ไข่เหลือตัวละ
ผลิตที่เหมาะสม                                      25 บาท  และไก่ไข่สาวตัวละ 144 บาท ยืนราคาถึงปัจจุบัน
                                                 ส่วนราคาไข่ไก่ให้ปรับตัวตามกลไกตลาด  ปัจจุบัน (กันยายน
                                                 2553) เหลือ 2.60 บาท  ลดลงจากฟองละ 2.80 บาท
                                                 เมื่อเดือนกรกฎาคม  2553
                                                 5. การรายงานผลการดำเนินงานมาตรการแก้ไขปัญหาไก่ไข่
5. ให้กรมปศุสัตว์รายงานผลการดำเนินงานต่อ               ต่อคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 1
คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์                เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 และครั้งที่ 2 วันที่ 24 กันยายน
ภายใน 30 วัน                                      2553
                                                 มาตรการระยะกลาง
มาตรการระยะกลาง                                  1. ประสานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อดำเนินการศึกษา
1. ให้กรมปศุสัตว์ประสาน                              ปรับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และการดำเนินงานของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ดำเนินการศึกษาปรับปรุง          คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ตามมติ
โครงสร้างอำนาจหน้าที่และการดำเนินงานของ               คณะรัฐมนตรีกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน  ตั้งแต่วันที่ 7
คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ให้              กรกฎาคม — 4 กันยายน 2553 โดยทำบันทึกข้อตกลงโครงการ
แล้วเสร็จภายใน 60 วัน                               ความร่วมมือการศึกษาปรับปรุงโครงสร้าง
                                                 คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์กับประธาน
                                                 คณะทำงานรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                                                 (รศ.ดร.สามัคคี  บุณยะวัฒน์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                                                 กำหนดระยะเวลา 50 วัน  นับแต่วันที่ได้ลงนามข้อตกลงวันที่
                                                 15 กรกฎาคม 2553 — วันที่ 3 กันยายน  2553
                                                 2.ประธานคณะทำงาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
                                                 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รศ.ดร.สามัคคี  บุณยะวัฒน์) ขอ
                                                 เลื่อนส่งผลการศึกษาปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการนโยบาย
                                                 พัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ จากวันที่ 3 กันยายน 2553 เป็นวัน
                                                 อังคารที่ 14 กันยายน 2553
                                                 มาตรการระยะยาว
มาตรการระยะยาว                                   ให้มีพ่อ-แม่พันธุ์ไก่ไข่ (P.S.) ส่วนกลางที่กรมปศุสัตว์
ให้มีพ่อ-แม่พันธุ์ไก่ไข่ไว้เป็นส่วนกลางที่กรมปศุสัตว์             เพื่อบริหารจัดการ กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินงานตามมติคณะ
เพื่อการบริหารจัดการดุลยภาพการผลิตและการตลาด           รัฐมนตรีวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 ซึ่งมอบหมายให้ กษ.
ในอุตสาหกรรมไก่ไข่ และแก้ไขปัญหาเกษตรกรในกรณี          (กรมปศุสัตว์) ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ถูกต้องตาม
ที่ไม่มีลูกไก่ไข่เลี้ยง  โดยเกษตรกรที่รวมตัวกันเป็น            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์แจ้งเกษตรผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้
สหกรณ์หรือสมาคมต้องเสนอแผนการผลิตแผนการ              แสดงความจำนงขอนำเข้า พ่อ-แม่พันธุ์ไก่ไข่ (P.S.) ตั้งแต่วันที่
ตลาดประกอบการพิจารณาปริมาณการนำเข้าพ่อแม่             13 กรกฎาคม — 17 กันยายน 2553 ทั้งหมด 11 ราย  จำนวน
พันธุ์ไก่ไข่  ทั้งนี้มอบให้กรมปศุสัตว์ตรวจสอบ                 90,888 ตัว  โดยนำเข้าในปี 2553 จำนวน 62,888 ตัว
ข้อเท็จจริงและร่วมกับสมาคมผู้ผลิตไก่ไข่พันธุ์กำหนด            ปี 2554  จำนวน 28,000 ตัว
ปริมาณพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ที่จะให้กรมปศุสัตว์ ถือสิทธิใน
ปริมาณที่เหมาะสม

ส่วนผลจากการดำเนินมาตรการด้านราคาคือ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงฟองละ 20 สตางค์ ปริมาณไข่ไก่เพื่อบริโภคภายในประเทศช่วงเดือนกรกฎาคม — กันยายน เพิ่มขึ้นเดือนละประมาณ 6.5 ล้านฟอง จำนวนแม่พันธุ์ไก่ไข่ ปี 2553 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 468,000 ตัว สามารถผลิตไก่ไข่ได้ ประมาณ 42 ล้านตัว ไข่ไก่ประมาณ 12,432 ล้านฟอง ในปี 2554

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 ตุลาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ