สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 35

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 20, 2010 16:49 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 35 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี เพชรบูรณ์ นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ระยอง นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และเพชรบุรี

1. ลพบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี 9 ตำบล ได้แก่ นิคมสร้างตนเอง เขาพระงาม เทศบาลตำบลโคกตูม เทศบาลเมืองเขาสามยอด เทศบาลตำบลท่าศาลา ดอนโพธิ์ โก่งธนู พรหมมาสตร์ และตำบลบางขันหมาก อำเภอโคกสำโรง 13 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยโป่ง โคกสำโรง วังจั่น ดงมะรุม เพนียด ถลุงเหล็ก วังเพลิง คลองเกตุ สะแกราบ เกาะแก้ว หนองแขม และตำบลวังขอนขว้าง อำเภอชัยบาดาล 16 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาแหลม ม่วงค่อม ชัยนารายณ์ ลำนารายณ์ หนองยายโต๊ะ บัวชุม เกาะรัง ท่ามะนาว ชัยบาดาล มะกอกหวาน นิคมลำนารายณ์ ห้วยหิน ศิลาทิพย์ นาโสม ซับตะเคียน และตำบลท่าดินดำ อำเภอพัฒนานิคม 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลช่องสาลิกา พัฒนานิคม หนองบัว ชอนน้อย ห้วยขุนราม และตำบลดีลัง อำเภอลำสนธิ 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองรี ซับสมบูรณ์ เขาน้อย ลำสนธิ เขารวก และตำบลกุดตาเพชร อำเภอท่าหลวง เทศบาลบ้านท่าหลวง อำเภอหนองม่วง ตำบลดงดินแดง อำเภอสระโบสถ์ 5 ตำบล ตำบลทุ่งท่าช้าง ห้วยใหญ่ มหาโพธิ์ นิยมชัย และตำบลสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ 5 ตำบล ตำบลโคกเจริญ ยางราก หนองมะค่า วังทอง และตำบลโคกแสมสาร อำเภอบ้านหมี่ 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลดงพลับ บางกระพี้ ดอนถึง หนองเมือง หนองกระเบียน พุคา และตำบลหนองทรายขาว อำเภอท่าวุ้ง 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาสมอคอน บางงา ท่าวุ้ง บ้านเบิก โคกสลุด และตำบลมุจรินท์

2. สระบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 15 ต.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คืออำเภอมวกเหล็ก

3. เพชรบูรณ์ สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอวิเชียรบุรี 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกปรง ท่าโรง น้ำร้อน บ่อรัง ยางสาว ซับสมบูรณ์ ซับน้อย บึงกระจับ สามแยก สระประดู่ พุเตย พุขาม วังใหญ่ น้ำหยด

4. นครนายก สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่อำเภอ 1 อำเภอ คือ อำเภอบ้านนา 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าซะ และ บ้านนา

5. สระแก้ว สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 15 ต.ค.53 ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออรัญประเทศ 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าด้าน ปากท่า ท่าข้าม ป่าไร่ บ้านใหม่หนองไทร บ้านด่าน และเทศบาลอรัญประเทศ ที่ตลาดโรงเกลือ อำเภอวังน้ำเย็น ตำบลตาหลังใน อำเภอตาพระยา เทศบาลตำบลตาพระยา อำเภอโคกสูง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโนนหมากมุ่น โคกสูง และ หนองม่วง

6. ปราจีนบุรี สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาดี ตำบลพราหมณ์ อำเภอกบินทร์บุรี บริเวณสวนอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี และโรงแรมเอกระวี

7. ระยอง สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 15 ต.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอเมือง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทับมา ตะพง เนินพระ และเชิงเนิน

8. นครราชสีมา สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 14 อำเภอ ดังนี้ อำเภอปากช่อง 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลขนงพระ หนองสาหร่าย วังไทร พญาเย็น จันทึก ปากช่อง อำเภอโชคชัย 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลพลับพลา ท่าลาดขาว กระโทก ท่าเยี่ยม ทุ่งอรุณ ละลมใหม่พัฒนาท่าจะหลุง ท่าอ่าง ด่านเกวียน และ ตำบลโชคชัย อำเภอปักธงชัย 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลตะขบ บ่อปลาทอง สุขเกษม งิ้ว ตูม สำโรง เกษมทรัพย์ เมืองปัก สะแกราช ตะคุ ตำบลดอน และเขตเทศบาลตำบลเมืองปัก อำเภอเมือง 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านโพธิ์ หนองบัวศาลา ปรุใหญ่ และตำบลหัวทะเล อำเภอสูงเนิน 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลนากลาง สูงเนิน ตำบลมะเกลือเก่า และในเขตอุตสาหกรรมนวนคร อ.ด่านขุนทด 16 ตำบล ได้แก่ ตำบลจระเข้น้อย ด่านขุนทด ด่านนอก ด่านใน กุดพิมาน ตะเคียน บ้านเก่า บ้านแรง พันชนะ สระจระเข้ หนองกราด หนองบัวตะเกียด หนองบัวละคร หิดดาด ห้วยบง โนนเมืองพัฒนา หนองไทร และเทศบาลด่านขุนทด อำเภอสีคิ้ว 8 ตำบล ได้แก่ ตำบล หนองน้ำใส อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 5 ตำบล อำเภอเสิงสาง 6 ตำบล อำเภอพระทองคำ 6 ตำบล อำเภอขามทะเลสอ 4 ตำบล อำเภอเทพารักษ์ 5 ตำบล อำเภอโนนไทย 10 ตำบล และอำเภอคง

9. ศรีสะเกษ สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอขุนหาญ ตำบลกันทรอม

10.เพชรบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่ายาง เขาย้อย บ้านลาด เมือง บ้านแหลม และชะอำ ปัจจุบันมีน้ำท่วมขัง 2 อำเภอ คือ อำเภอบ้านลาด 4 ตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลบ้านลาด บ้านท่ามะเกลือ วัดขลุบ และตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านแหลม 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านแหลม บางตะบูน บางแก้ว บางครก บางขุนไทร ท่าแร้ง ท่าแร้งออก แหลมผักเบี้ย และปากทะเล ปัจจุบันระดับน้ำแม่น้ำเพชรบุรีเริ่มลดลงแล้ว

11.สุโขทัย สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ เมื่อวันที่ 29 ส.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอกงไกลาศ ตำบลกง ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 1.30 ถึง 1.80 เมตร คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน

12.พิษณุโลก สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 29 ส.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอบางระกำ น้ำล้นตลิ่ง 0.69 เมตร คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน

13.พิจิตร สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 53 ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลสามง่าม กำแพงดิน รังนก เนินปอ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพธิ์ประทับช้าง วังจิก ไผ่ท่าโพ ไผ่รอบ อำเภอบึงนางราง 1 ตำบล คือ ตำบลบางลาย อำเภอโพทะเล 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพทะเล ท่าเสาทะนง ท้ายน้ำ ท่าขมิ้น แนวโน้มระดับน้ำลดลง

14.ชัยนาท สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 3-4 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเนินขาม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเนินขาม สุขเดือนห้า และ กะบกเตี้ย อำเภอหันคา 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านเชี่ยน เด่นใหญ่ หันคา หนองแซง ไพรนกยูง ห้วยงู และ สามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอสรรพยา 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพนางนางดำตก สรรพยา หาดอาษา เขาแก้ว โพนางดำออก บางหลวง ตลุก

15.อ่างทอง สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 53 ในพื้นที่อำเภอป่าโมก 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลโผงเผง บางเสด็จ แนวโน้มระดับน้ำลดลง

16.พระนครศรีอยุธยา สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 28 ส.ค.53 ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอมหาราช อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล แนวโน้มระดับน้ำลดลง

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (18 ตุลาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 52,093 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(50,367 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,726 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 28,252 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (57,619 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 78) จำนวน 6,481 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 21,462 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (18 ตุลาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 48,777 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(47,260 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,517 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 25,254 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (54,410 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 78) จำนวน 5,633 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 20,818 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย และป่าสักฯ

                                                                                  หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ   ม.ค.-เม.ย.   พ.ค.-ส.ค.       ก.ย.    1-18 ต.ค.        รวม             เฉลี่ย        ผลต่างปี53
                                                           1 ม.ค.-18 ต.ค.  1 ม.ค.- 18 ต.ค.   กับค่าเฉลี่ย
1.ภูมิพล          58.78    1,270.65   1,509.77       641.65     3,480.85         4,406.43       -925.58
2.สิริกิติ์          389.4    3,071.75   1,855.85       357.26     5,674.26         5,030.03        644.23
ภูมิพล+สิริกิติ์      448.18    4,342.40   3,365.62       998.91     9,155.11         9,436.46       -281.35
3.แควน้อย       113.72         344     470.22        120.1     1,048.04         1,482.06       -434.02
4.ป่าสัก          75.75      438.77   1,038.51       623.49     2,176.52         1,898.69        277.84
รวม 4 อ่าง      637.65    5,125.17   4,874.35     1,742.50    12,379.67        12,817.20       -437.53

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                              หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ     ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
               ในอ่างปี 53     ใช้การได้           ไหลลงอ่าง          ระบาย      รับได้อีก
            ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
1.ภูมิพล         7,018  52      3,218   24    47.92   59.55        3      3    6,444
2.สิริกิติ์         7,648  80      4,798   50    13.01   16.38     2.98   3.98    1,862
ภูมิพล+สิริกิติ์     14,666  64      8,016   35    60.93   76.03     5.93   6.98    8,306
3.แควน้อยฯ        710  92        674   88     6.66    3.37      1.3    1.3       59
4.ป่าสักชลสิทธิ์    1,099 114      1,096  114    91.54   107.4    77.76  60.11        0
รวม 4 อ่างฯ    16,475  67      9,786   40   159.13   186.8    84.99  68.39    8,365

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 16 อ่าง ดังนี้

                                                                                     หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ            ปริมาตรน้ำในอ่างฯ      ปริมาตรน้ำใช้การได้       ปริมาณน้ำไหล    ปริมาณน้ำระบาย    ปริมาณน้ำรับได้อีก
                                                                   ลงอ่าง
                    ปริมาตร  % ความจุ     ปริมาตร   % ความจุ      วันนี้    เมื่อ    วันนี้     เมื่อ
                        น้ำ     อ่างฯ         น้ำ      อ่างฯ             วาน            วาน
1.แม่งัดฯ                255       96        233        88     1.66   2.21   0.49    0.49           10
2.กิ่วคอหมา              177      104        171       101     1.13      0   0.15       0            0
3.แควน้อยฯ              710       92        674        88     6.66   3.37    1.3     1.3           59
4.ห้วยหลวง              114       97        109        92     1.52   0.95   0.83    0.83            0
5.จุฬาภรณ์               159       97        115        70     5.43   4.82   1.03    1.03            5
6.อุบลรัตน์             2,131       88      1,550        64     47.9  31.32  23.59   23.37          301
7.ลำปาว              1,260       88      1,175        82     7.27   5.12   4.97    5.12          170
8. ลำตะคอง             342      109        315       100    34.97  39.49      0       0            0
9.ลำพระเพลิง            157      143        156       142    33.74  69.66  34.82   52.38            0
10.ป่าสักชลสิทธิ์         1,099      114      1,096       114    91.54  107.4  77.76   60.11            0
11.ทับเสลา              138       86        130        81      3.1   2.83      0       0            0
12.กระเสียว             267      111        227        95     9.92  12.18   9.37    9.19            0
13.ขุนด่านฯ              200       89        195        87     5.04   5.44   0.08    0.08           24
14.คลองสียัด             410       98        380        90        6     12    0.5     0.5           10
15.หนองปลาไหล          169      103        155        96     5.99    2.6   2.25     0.4            0
16.ประแสร์              264      106        244        98     5.99   2.52   2.25    1.86            0

2. สภาพน้ำท่า

ปริมาณน้ำในลำน้ำต่างๆ ตามสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า กรมชลประทาน พบว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้น แม่น้ำปิง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์(น้ำมาก) แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์(น้ำมาก) แม่น้ำชี อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ อำเภอมหาชนะชัย (น้ำมาก) จังหวัดยโสธร (น้ำมาก) แม่น้ำมูล อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์(น้ำมาก) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี(น้ำมาก) แม่น้ำพระสทึง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว(น้ำมาก)

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 1,929 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 110 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 2,217 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 291 ลบ.ม./วินาที)

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 31 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 66 ลบ.ม./วินาที ) และทุ่งฝั่งตะวันตก 235 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 51 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 1,096 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 393 ลบ.ม./วินาที)

การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนผ่านศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัด

“ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน” ในวันที่ 11-18 ตุลาคม 2553 จำนวน 17 ฉบับ เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกจะเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย บริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และที่ราบลุ่ม จึงขอให้เกษตรกรเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้น

2. การบริหารจัดการน้ำ

การแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

ปิดการระบายน้ำออกจากเขื่อนลำตะคองตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย. 53 และดำเนินการควบคุมการระบายน้ำในลำตะคองท้ายเขื่อน โดยใช้ปตร.มะเกลือใหม่ , กุดหิน ในเขตอำเภอสูงเนิน ซึ่งอยู่ต้นน้ำเพื่อหน่วงชะลอการไหลของน้ำ ส่วนปตร.ในลำตะคองเขตอำเภอเมือง จะทำหน้าที่ระบายน้ำออกจากตัวเมืองนครราชสีมาและระบายลงสู่ลำน้ำมูลเป็นหลัก ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 11 เครื่อง และจะติดตั้งเพิ่มเติมอีก 12 เครื่อง ตั้งแต่วันที่ 18 ต.ค. 53 เป็นต้นไป

3. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ได้เตรียมการไว้ จำนวน 1,200 เครื่อง สนับสนุนแล้วจำนวน 924 เครื่อง (ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 14 เครื่อง) ในพื้นที่ 58 จังหวัด ดังนี้

ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 191 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่(35) นครสวรรค์(1) เพชรบูรณ์(1) ลำปาง(34) น่าน(12) พิษณุโลก(6) แพร่(16) ตาก(16) ลำพูน(15) พะเยา(6) แม่ฮ่องสอน(18) เชียงราย(3) อุตรดิตถ์(6) สุโขทัย(12) กำแพงเพชร(10)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 254 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(49) ขอนแก่น(21) มหาสารคาม(10) ร้อยเอ็ด(32) กาฬสินธุ์(33) อุบลราชธานี(6) นครพนม(15) มุกดาหาร(11) ชัยภูมิ(9) อำนาจเจริญ(14) สุรินทร์(7) ศรีสะเกษ(15) อุดรธานี(2) สกลนคร(9) ยโสธร(9) บุรีรัมย์(10) หนองคาย(2)

ภาคกลาง 14 จังหวัด จำนวน 330 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท(4) พระนครศรีอยุธยา(6) สิงห์บุรี(9) นนทบุรี(47) ปทุมธานี(44) นครปฐม(18) ลพบุรี(18) สุพรรณบุรี(91) สระบุรี(13) ราชบุรี(39) อุทัยธานี(15) อ่างทอง(13) กาญจนบุรี(9) กรุงเทพฯ(2)

ภาคตะวันออก 4 จังหวัด จำนวน 60 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครนายก(13) ปราจีนบุรี(16) ฉะเชิงเทรา (23) ระยอง(8)

ภาคใต้ 8 จังหวัด จำนวน 75 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด เพชรบุรี(41) นครศรีธรรมราช(8) พังงา(1) สงขลา(9) ยะลา(1) พัทลุง(2) ปัตตานี(1) ชุมพร(11)

4. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 207,600 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 38,360 กิโลกรัม) แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 650 ชุด (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 169 ชุด) และดูแลสุขภาพสัตว์ 115,484 ตัว (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 532 ตัว) ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ น่าน เชียงราย พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้เตรียมความพร้อมด้านเสบียงสัตว์ไว้ล่วงหน้า โดยการผลิตทั้งหญ้าแห้ง หญ้าสด และหญ้าหมักไว้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ /สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ จำนวน 29 ศูนย์/สถานีสามารถบริการช่วยเหลือราษฎรได้ทันที (ณ วันที่ 18 ต.ค. 53) จำนวน 8,016 ตัน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2,676 ตัน และภาคตะวันออก จำนวน 191 ตัน

ผลกระทบด้านการเกษตร

อุทกภัย ช่วงภัยวันที่ 14 — 18 ตุลาคม 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ต.ค. 53) ประสบภัยทั้งสิ้น จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ สิงห์บุรี ลพบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว

คาดว่าจะเสียหาย

             ด้านพืช 11 จังหวัด เกษตรกร 89,834 ราย พื้นที่ 960,080 ไร่ แยกเป็น ข้าว 765,205 พืชไร่ 177,795 ไร่           พืชสวนและอื่นๆ 17,080 ไร่

ด้านประมง 9 จังหวัด เกษตรกร 4,883 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 5,459 ไร่ และกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 100 ตารางเมตร

ด้านปศุสัตว์ 4 จังหวัด สัตว์ได้รับผลกระทบ 303,624 ตัว

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 ตุลาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ