คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมรายงานผลการตรวจราชการสถานการณ์ภัยแล้งพื้นที่ในจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายอุไรวรรณ เทียนทอง) เมื่อวันที่ 4 มษายน 2548 และให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับข้อมูลและเรื่องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาพรวมต่อไป สรุปได้ดังนี้
1. จังหวัดปราจีนบุรี
1.1 สถานการณ์ความแห้งแล้งจังหวัดปราจีนบุรี
สถานการณ์ความแห้งแล้งของจังหวัดปราจีนบุรี เกิดจากระดับน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีได้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเดือนมกราคมของปี 2548 มีระดับต่ำสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ๆ เนื่องจากปริมาณฝนได้ลดลงตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 เป็นต้นมา โดยมีพื้นที่ที่ประสบความแห้งแล้งครอบคลุม 6 อำเภอ (ยกเว้นอำเภอบ้านสร้าง) 54 ตำบล 325 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 8,338 ราย โดยมีพื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายในขณะนี้รวม 181,481 ไร่ แยกเป็นพื้นที่นาข้าว 128,845 ไร่ พื้นที่ไร่ 46,447 ไร่ พื้นที่สวนและอื่น ๆ 6,189 ไร่
1.2 การให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรกรณีเร่งด่วน
จังหวัดปราจีนบุรีได้ให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้งอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ และได้ดำเนินการในระยะแรก 3 ด้าน ดังนี้
- ด้านน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค โดยดำเนินการจัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประปาหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทุกอำเภอ ปรับปรุงบ่อบาดาล 2,556 บ่อ ปรับปรุง/ซ่อมแซมบ่อน้ำดื่ม และสระน้ำ 7,597 บ่อ ขุดลอกหนอง/บึง 182 แห่ง อ่างเก็บน้ำ/ฝาย 55 แห่ง และนำรถบรรทุกน้ำจำนวน 56 คัน แจกจ่ายน้ำปริมาณรวม 10,605,000 ลิตร
- ด้านน้ำเพื่อการเกษตร โดยดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตร 80 เครื่อง ตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 46 แห่ง สร้างฝายกระสอบ จำนวน 39 แห่ง สร้าง Check Dam 86 แห่ง ขุดบ่อบาดาล 71 บ่อ บ่อน้ำ/สระน้ำ 3,033 บ่อ ปรับปรุงหนองบึง 387 แห่ง ขุดลอกอ่างเก็บน้ำ/ฝาย จำนวน 193 แห่ง ขอสนับสนุนฝนหลวงจากศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงไปแล้ว 1 ครั้ง
- ด้านอาหารแก่ปศุสัตว์ ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 3,702 ราย โคและกระบือจำนวน 22,668 ตัว
นอกจากนี้ จังหวัดปราจีนบุรีได้จ่ายเงินทดลองรายการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดลองรายการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ไปแล้ว จำนวน 7,266,677 บาท
1.3 ข้อเสนอและมาตรการที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดปราจีนบุรี
- ระยะเร่งด่วน จังหวัดปราจีนบุรีได้เสนอแผนงาน/โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากงบกลาง (5,000 ล้านบาท) ปี 2548 สำหรับการดำเนินการโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรในพื้นที่อำเภอศรีมโหสถอำเภอนาดี อำเภอประจันตคาม อำเภอบ้านสร้าง อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอเมืองปราจีนบุรี และอำเภอกบินทร์บุรี รวม 32 โครงการ งบประมาณ 42,495,268 บาท ซึ่งขณะนี้ได้รับการอนุมัติจากสำนักงบประมาณแล้ว แต่ยังมิได้รับการจัดสรรเงินงวด จึงเห็นควรเร่งรัดสำนักงบประมาณในการจัดสรรเงินงบประมาณ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาให้ทันต่อสถานการณ์
- ระยะยาว จังหวัดปราจีนบุรีขอรับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ปริมาณกักเก็บน้ำ 295 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำต้นทุนที่จะสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาวของจังหวัดนี้ พื้นที่ชลประทาน 111,300 ไร่ งบประมาณ 4,809.54 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชดำริ มีการสำรวจออกแบบและขอใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้แล้ว รวมทั้งอยู่ในแผนงานของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. จังหวัดสระแก้ว
2.1 สถานการณ์ความแห้งแล้งของจังหวัดสระแก้ว
สภาพปริมาณน้ำในพื้นที่ของ 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ในภาพรวมจะมีปริมาณน้ำเก็บกักทั้งหมด 376,000,000 ลูกบาศก์เมตร ณ วันนี้ปริมาณน้ำคงเหลือเพียง 122,000,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ 45.87% จากต้นทุน แหล่งน้ำที่เหลืออยู่ 122 ล้านลูกบาศก์เมตร นั้น เมื่อคำนวณจากประชากรและความต้องการของประชาชน (20 ลิตร/คน/วัน) หักค่าระเหย 3% ของปริมาณน้ำที่มีอยู่แล้ว ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2548 จะมีความต้องการใช้น้ำประมาณ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะคงมีปริมาณน้ำเหลืออยู่ 97,723,688 ลูกบาศก์เมตร หมายถึง สถานการณ์น้ำยังเพียงพอสามารถตรึงการแจกจ่ายน้ำในส่วนที่จะช่วยเหลือประชาชนได้ถึงเดือนพฤษภาคม 2548
ลักษณะภูมิอากาศพื้นที่ 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คล้ายกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนทั้งปี 1,388.06 มม. ความต้องการน้ำอุปโภคบริโภคของประชากรในจังหวัด จำนวน 536,725 คน พอเพียงถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 จากปริมาณน้ำในอ่าง 12 แห่ง ความจุ 197,365,000 ลูกบาศก์เมตร กักเก็บได้ 73,091,520 ลูกบาศก์เมตร น้ำใช้สอย 61,871,520 ลูกบาศก์เมตร เฉลี่ยการใช้ ร้อยละ 31.35
2.2 แนวทางการแก้ไขภาวะภัยแล้งของจังหวัดสระแก้ว
1) ระยะแรก
(1) จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยแจกจ่ายน้ำสะอาด จำนวน 34 ล้านลิตร
(2) จังหวัดร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 3 เขต จัดคาราวานรถน้ำแจกจ่ายแก่ราษฎร
2) ระยะที่สอง
(1) โครงการงบประมาณพิเศษจากนายกรัฐมนตรีซึ่งเดินทางมาพบปะประชาชนเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2547 จังหวัดเสนอโครงการพัฒนาลุ่มน้ำ 81 โครงการ ขณะนี้ได้รับงบประมาณครั้งที่ 1 แล้ว จำนวน 30 โครงการ เป็นงบประมาณ 79 ล้านบาท ดำเนินการเสร็จแล้ว 26 โครงการ สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภัยแล้งได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ 4 โครงการ
(2) สำหรับโครงการที่เหลือ จำนวน 51 โครงการ งบประมาณ 219,650,000 บาท เป็นโครงการขุดลอกคูคลอง 44 โครงการ ขุดลอกสระน้ำ 7 โครงการ ขณะนี้รอการอนุมัติจากสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง โดยมีหน่วยงานร่วมรับผิดชอบดำเนินการคือ หน่วยทหารพัฒนา กรมการทหารช่าง อบจ. และ อบต. เห็นควรอนุมัติงบประมาณให้จังหวัดสระแก้วรีบดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้ครอบคลุมพื้นที่ยิ่งขึ้น
3) ระยะที่สาม
จากการศึกษาวิเคราะห์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัดในการก่อสร้างฝากยางมีความเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ และมีความคุ้มค่าคือ โครงการก่อสร้างฝายยางบ้านโคกยาง ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ และโครงการฝายยางบ้านลานไผ่ ตำบลหนองหว้า อำเภอเขาฉกรรจ์ รวม 2 โครงการ งบประมาณ 160,000,000 บาท (แห่งละ 80 ล้านบาท) ได้เร่งรัดจังหวัดสระแก้วให้รีบเสนอแผนงานตาม ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาภัยแล้ง เพื่อนำเสนอขออนุมัติโครงการจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--
1. จังหวัดปราจีนบุรี
1.1 สถานการณ์ความแห้งแล้งจังหวัดปราจีนบุรี
สถานการณ์ความแห้งแล้งของจังหวัดปราจีนบุรี เกิดจากระดับน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีได้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเดือนมกราคมของปี 2548 มีระดับต่ำสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ๆ เนื่องจากปริมาณฝนได้ลดลงตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 เป็นต้นมา โดยมีพื้นที่ที่ประสบความแห้งแล้งครอบคลุม 6 อำเภอ (ยกเว้นอำเภอบ้านสร้าง) 54 ตำบล 325 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 8,338 ราย โดยมีพื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายในขณะนี้รวม 181,481 ไร่ แยกเป็นพื้นที่นาข้าว 128,845 ไร่ พื้นที่ไร่ 46,447 ไร่ พื้นที่สวนและอื่น ๆ 6,189 ไร่
1.2 การให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรกรณีเร่งด่วน
จังหวัดปราจีนบุรีได้ให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้งอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ และได้ดำเนินการในระยะแรก 3 ด้าน ดังนี้
- ด้านน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค โดยดำเนินการจัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประปาหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทุกอำเภอ ปรับปรุงบ่อบาดาล 2,556 บ่อ ปรับปรุง/ซ่อมแซมบ่อน้ำดื่ม และสระน้ำ 7,597 บ่อ ขุดลอกหนอง/บึง 182 แห่ง อ่างเก็บน้ำ/ฝาย 55 แห่ง และนำรถบรรทุกน้ำจำนวน 56 คัน แจกจ่ายน้ำปริมาณรวม 10,605,000 ลิตร
- ด้านน้ำเพื่อการเกษตร โดยดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตร 80 เครื่อง ตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 46 แห่ง สร้างฝายกระสอบ จำนวน 39 แห่ง สร้าง Check Dam 86 แห่ง ขุดบ่อบาดาล 71 บ่อ บ่อน้ำ/สระน้ำ 3,033 บ่อ ปรับปรุงหนองบึง 387 แห่ง ขุดลอกอ่างเก็บน้ำ/ฝาย จำนวน 193 แห่ง ขอสนับสนุนฝนหลวงจากศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงไปแล้ว 1 ครั้ง
- ด้านอาหารแก่ปศุสัตว์ ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 3,702 ราย โคและกระบือจำนวน 22,668 ตัว
นอกจากนี้ จังหวัดปราจีนบุรีได้จ่ายเงินทดลองรายการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดลองรายการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ไปแล้ว จำนวน 7,266,677 บาท
1.3 ข้อเสนอและมาตรการที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดปราจีนบุรี
- ระยะเร่งด่วน จังหวัดปราจีนบุรีได้เสนอแผนงาน/โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากงบกลาง (5,000 ล้านบาท) ปี 2548 สำหรับการดำเนินการโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรในพื้นที่อำเภอศรีมโหสถอำเภอนาดี อำเภอประจันตคาม อำเภอบ้านสร้าง อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอเมืองปราจีนบุรี และอำเภอกบินทร์บุรี รวม 32 โครงการ งบประมาณ 42,495,268 บาท ซึ่งขณะนี้ได้รับการอนุมัติจากสำนักงบประมาณแล้ว แต่ยังมิได้รับการจัดสรรเงินงวด จึงเห็นควรเร่งรัดสำนักงบประมาณในการจัดสรรเงินงบประมาณ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาให้ทันต่อสถานการณ์
- ระยะยาว จังหวัดปราจีนบุรีขอรับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ปริมาณกักเก็บน้ำ 295 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำต้นทุนที่จะสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาวของจังหวัดนี้ พื้นที่ชลประทาน 111,300 ไร่ งบประมาณ 4,809.54 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชดำริ มีการสำรวจออกแบบและขอใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้แล้ว รวมทั้งอยู่ในแผนงานของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. จังหวัดสระแก้ว
2.1 สถานการณ์ความแห้งแล้งของจังหวัดสระแก้ว
สภาพปริมาณน้ำในพื้นที่ของ 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ในภาพรวมจะมีปริมาณน้ำเก็บกักทั้งหมด 376,000,000 ลูกบาศก์เมตร ณ วันนี้ปริมาณน้ำคงเหลือเพียง 122,000,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ 45.87% จากต้นทุน แหล่งน้ำที่เหลืออยู่ 122 ล้านลูกบาศก์เมตร นั้น เมื่อคำนวณจากประชากรและความต้องการของประชาชน (20 ลิตร/คน/วัน) หักค่าระเหย 3% ของปริมาณน้ำที่มีอยู่แล้ว ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2548 จะมีความต้องการใช้น้ำประมาณ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะคงมีปริมาณน้ำเหลืออยู่ 97,723,688 ลูกบาศก์เมตร หมายถึง สถานการณ์น้ำยังเพียงพอสามารถตรึงการแจกจ่ายน้ำในส่วนที่จะช่วยเหลือประชาชนได้ถึงเดือนพฤษภาคม 2548
ลักษณะภูมิอากาศพื้นที่ 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คล้ายกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนทั้งปี 1,388.06 มม. ความต้องการน้ำอุปโภคบริโภคของประชากรในจังหวัด จำนวน 536,725 คน พอเพียงถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 จากปริมาณน้ำในอ่าง 12 แห่ง ความจุ 197,365,000 ลูกบาศก์เมตร กักเก็บได้ 73,091,520 ลูกบาศก์เมตร น้ำใช้สอย 61,871,520 ลูกบาศก์เมตร เฉลี่ยการใช้ ร้อยละ 31.35
2.2 แนวทางการแก้ไขภาวะภัยแล้งของจังหวัดสระแก้ว
1) ระยะแรก
(1) จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยแจกจ่ายน้ำสะอาด จำนวน 34 ล้านลิตร
(2) จังหวัดร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 3 เขต จัดคาราวานรถน้ำแจกจ่ายแก่ราษฎร
2) ระยะที่สอง
(1) โครงการงบประมาณพิเศษจากนายกรัฐมนตรีซึ่งเดินทางมาพบปะประชาชนเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2547 จังหวัดเสนอโครงการพัฒนาลุ่มน้ำ 81 โครงการ ขณะนี้ได้รับงบประมาณครั้งที่ 1 แล้ว จำนวน 30 โครงการ เป็นงบประมาณ 79 ล้านบาท ดำเนินการเสร็จแล้ว 26 โครงการ สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภัยแล้งได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ 4 โครงการ
(2) สำหรับโครงการที่เหลือ จำนวน 51 โครงการ งบประมาณ 219,650,000 บาท เป็นโครงการขุดลอกคูคลอง 44 โครงการ ขุดลอกสระน้ำ 7 โครงการ ขณะนี้รอการอนุมัติจากสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง โดยมีหน่วยงานร่วมรับผิดชอบดำเนินการคือ หน่วยทหารพัฒนา กรมการทหารช่าง อบจ. และ อบต. เห็นควรอนุมัติงบประมาณให้จังหวัดสระแก้วรีบดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้ครอบคลุมพื้นที่ยิ่งขึ้น
3) ระยะที่สาม
จากการศึกษาวิเคราะห์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัดในการก่อสร้างฝากยางมีความเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ และมีความคุ้มค่าคือ โครงการก่อสร้างฝายยางบ้านโคกยาง ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ และโครงการฝายยางบ้านลานไผ่ ตำบลหนองหว้า อำเภอเขาฉกรรจ์ รวม 2 โครงการ งบประมาณ 160,000,000 บาท (แห่งละ 80 ล้านบาท) ได้เร่งรัดจังหวัดสระแก้วให้รีบเสนอแผนงานตาม ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาภัยแล้ง เพื่อนำเสนอขออนุมัติโครงการจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--