คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังเสนอว่า กฎกระทรวง (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน กำหนดให้สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (สมาชิก กบข.) ผู้ซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่หลังวันที่ 26 มีนาคม 2540 มีสิทธิได้รับเงินประเดิมเพียง 4 กรณี คือ (1) ผู้ซึ่งไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ (2) ผู้ซึ่งกลับจากไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (3) ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และ (4) ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก และอยู่ในระหว่างร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
ผลของกฎกระทรวง (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ทำให้สมาชิก กบข. ผู้ซึ่งมีบัญชีเงินประเดิมและได้ออกจากราชการไปในขณะที่ยังไม่มีสิทธิได้รับบำนาญ ไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิมในขณะที่ออกจากราชการ แม้ต่อมาสมาชิกผู้นั้นได้กลับเข้ารับราชการก็จะมีสิทธิได้รับเงินประเดิมเฉพาะกรณีกลับเข้ารับราชการ ด้วยเหตุ 4 กรณีตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเท่านั้น ส่วนกรณีที่สมาชิกได้กลับเข้ารับราชการใหม่ในกรณีอื่นนอกเหนือจาก 4 กรณีดังกล่าว เช่น กรณีลาออกแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ หรือกรณีลาออกเพื่อสมัครเข้ารับการเลือกตั้งแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ หรือลาออกด้วยเหตุอื่น ๆ แล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ ก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามกฎกระทรวงดังกล่าว ทั้งที่รัฐได้ส่งเงินประเดิมเข้าบัญชีรายบุคคลของสมาชิกผู้นั้นไว้แล้วตั้งแต่ต้น
โดยที่เจตนารมณ์ของการให้เงินประเดิมแก่สมาชิกเพื่อชดเชยเงินบำนาญที่สมาชิกได้รับน้อยลงจากสูตรการคำนวณ ประกอบกับกฎหมายมีบทบังคับให้ผู้ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ต้องเป็นสมาชิก กบข. ดังนั้น เพื่อมิให้สมาชิก กบข. กลุ่มนี้ต้องเสียสิทธิและผลประโยชน์ในเงินประเดิมที่เคยมีเมื่อครั้งเริ่มเป็นสมาชิก สมควรกำหนดให้สมาชิกกลุ่มนี้มีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามสิทธิที่เคยมีต่อไป ซึ่งจะไม่มีผลต่อการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายแต่ประการใด เนื่องจากรัฐได้ส่งเงินประเดิมเข้าบัญชีรายบุคคลของสมาชิก กบข. ไว้แล้ว
กระทรวงการคลังจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ ให้ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก กบข. และมีบัญชีเงินประเดิมที่ออกจากราชการแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่โดยมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับเวลารับราชการในตอนหลังตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ให้มีสิทธิได้รับเงินประเดิมและผลประโยชน์ของเงินประเดิมตามจำนวนที่ปรากฏในบัญชีรายบุคคลของสมาชิกผู้นั้น โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--
กระทรวงการคลังเสนอว่า กฎกระทรวง (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน กำหนดให้สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (สมาชิก กบข.) ผู้ซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่หลังวันที่ 26 มีนาคม 2540 มีสิทธิได้รับเงินประเดิมเพียง 4 กรณี คือ (1) ผู้ซึ่งไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ (2) ผู้ซึ่งกลับจากไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (3) ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และ (4) ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก และอยู่ในระหว่างร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
ผลของกฎกระทรวง (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ทำให้สมาชิก กบข. ผู้ซึ่งมีบัญชีเงินประเดิมและได้ออกจากราชการไปในขณะที่ยังไม่มีสิทธิได้รับบำนาญ ไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิมในขณะที่ออกจากราชการ แม้ต่อมาสมาชิกผู้นั้นได้กลับเข้ารับราชการก็จะมีสิทธิได้รับเงินประเดิมเฉพาะกรณีกลับเข้ารับราชการ ด้วยเหตุ 4 กรณีตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเท่านั้น ส่วนกรณีที่สมาชิกได้กลับเข้ารับราชการใหม่ในกรณีอื่นนอกเหนือจาก 4 กรณีดังกล่าว เช่น กรณีลาออกแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ หรือกรณีลาออกเพื่อสมัครเข้ารับการเลือกตั้งแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ หรือลาออกด้วยเหตุอื่น ๆ แล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ ก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามกฎกระทรวงดังกล่าว ทั้งที่รัฐได้ส่งเงินประเดิมเข้าบัญชีรายบุคคลของสมาชิกผู้นั้นไว้แล้วตั้งแต่ต้น
โดยที่เจตนารมณ์ของการให้เงินประเดิมแก่สมาชิกเพื่อชดเชยเงินบำนาญที่สมาชิกได้รับน้อยลงจากสูตรการคำนวณ ประกอบกับกฎหมายมีบทบังคับให้ผู้ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ต้องเป็นสมาชิก กบข. ดังนั้น เพื่อมิให้สมาชิก กบข. กลุ่มนี้ต้องเสียสิทธิและผลประโยชน์ในเงินประเดิมที่เคยมีเมื่อครั้งเริ่มเป็นสมาชิก สมควรกำหนดให้สมาชิกกลุ่มนี้มีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามสิทธิที่เคยมีต่อไป ซึ่งจะไม่มีผลต่อการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายแต่ประการใด เนื่องจากรัฐได้ส่งเงินประเดิมเข้าบัญชีรายบุคคลของสมาชิก กบข. ไว้แล้ว
กระทรวงการคลังจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ ให้ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก กบข. และมีบัญชีเงินประเดิมที่ออกจากราชการแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่โดยมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับเวลารับราชการในตอนหลังตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ให้มีสิทธิได้รับเงินประเดิมและผลประโยชน์ของเงินประเดิมตามจำนวนที่ปรากฏในบัญชีรายบุคคลของสมาชิกผู้นั้น โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--