คณะรัฐมนตรีเห็นชอบนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2549 (กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น) และให้กระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากรออกประกาศลด/ยกเลิก อากรนำเข้าของวัตถุดิบอาหารสัตว์ดังกล่าว ตามมติของคณะกรรมการนโยบายอาหาร ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2548 ทั้งนี้ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 31 ธันวาคม 2549 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า คณะกรรมการนโยบายอาหาร ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ ได้ประชุมเมื่อวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2548 มีมติเห็นชอบนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2549 โดยมีหลักการเช่นเดียวกับปี 2548 เนื่องจากนโยบายดังกล่าวเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 — วันที่ 31 ธันวาคม 2549 สรุปผลการประชุมได้ ดังนี้
1. กากถั่วเหลือง ให้นำเข้าได้เสรี ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า การนำเข้าจากประเทศสมาชิก องค์การการค้าโลก (WTO) กำหนดอากรนำเข้าในโควตา ร้อยละ 4 และกำหนดให้ผู้มีสิทธินำเข้า ได้แก่ ผู้มีสิทธินำเข้ารายเดิม (สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์) หากมีผู้ยื่นขอมีสิทธินำเข้ารายใหม่ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการนโยบายอาหารพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้มีสิทธินำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศ ทั้งหมดของโรงงานสกัดน้ำมันพืชในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันพืช ตลาดกรุงเทพมหานคร และหากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาปรับเพิ่มราคารับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองเกรดสกัดน้ำมันพืช ปี 2549 จากเดิมกิโลกรัมละ 11.00 บาท ตลาดกรุงเทพมหานคร ให้ปรับราคารับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศในอัตราส่วนที่เทียบเคียงกัน โดยต้องทำสัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกำหนดอากรนำเข้านอกโควตา ร้อยละ 119
สำหรับการนำเข้าจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (FTA) กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 0
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การนำเข้าจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ในโควตากำหนดปริมาณนำเข้า 54,700 ตัน กำหนดอากรนำเข้าโควตา ร้อยละ 20 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า และกำหนดระยะเวลานำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — วันที่ 30 มิถุนายน 2549 นอกโควตาให้นำเข้าได้เสรี ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้า ร้อยละ 73 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท และการนำเข้าจากประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ACMECS) และจากประเทศนิวซีแลนด์ (FTA) ให้นำเข้าได้เสรี ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 0 สำหรับการนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย (FTA) ในโควตา กำหนดปริมาณนำเข้า 5,743.50 ตัน กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 18.67 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้าและกำหนดระยะเวลานำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — วันที่ 30 มิถุนายน 2549 นอกโควตา ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 65.70
3. ปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป ให้นำเข้าได้เสรี ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 10 และอากรพิเศษอีก ร้อยละ 50 ของอากรนำเข้า (รวมเป็นอากรนำเข้าทั้งสิ้นร้อยละ 15) สำหรับการนำเข้าจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (FTA) กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 12 และจากประเทศจีน (อาเซียน — จีน) กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 15
ทั้งนี้ การนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้ง 3 ชนิด ข้างต้น ภายใน AFTA ให้นำเข้าเสรีไม่จำกัดปริมาณและ ช่วงเวลานำเข้า กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 5
4. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2549 โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน ผู้แทนทั้งภาคราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข กำกับ ดูแลและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการที่กำหนดไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า คณะกรรมการนโยบายอาหาร ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ ได้ประชุมเมื่อวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2548 มีมติเห็นชอบนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2549 โดยมีหลักการเช่นเดียวกับปี 2548 เนื่องจากนโยบายดังกล่าวเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 — วันที่ 31 ธันวาคม 2549 สรุปผลการประชุมได้ ดังนี้
1. กากถั่วเหลือง ให้นำเข้าได้เสรี ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า การนำเข้าจากประเทศสมาชิก องค์การการค้าโลก (WTO) กำหนดอากรนำเข้าในโควตา ร้อยละ 4 และกำหนดให้ผู้มีสิทธินำเข้า ได้แก่ ผู้มีสิทธินำเข้ารายเดิม (สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์) หากมีผู้ยื่นขอมีสิทธินำเข้ารายใหม่ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการนโยบายอาหารพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้มีสิทธินำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศ ทั้งหมดของโรงงานสกัดน้ำมันพืชในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันพืช ตลาดกรุงเทพมหานคร และหากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาปรับเพิ่มราคารับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองเกรดสกัดน้ำมันพืช ปี 2549 จากเดิมกิโลกรัมละ 11.00 บาท ตลาดกรุงเทพมหานคร ให้ปรับราคารับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศในอัตราส่วนที่เทียบเคียงกัน โดยต้องทำสัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกำหนดอากรนำเข้านอกโควตา ร้อยละ 119
สำหรับการนำเข้าจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (FTA) กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 0
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การนำเข้าจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ในโควตากำหนดปริมาณนำเข้า 54,700 ตัน กำหนดอากรนำเข้าโควตา ร้อยละ 20 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า และกำหนดระยะเวลานำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — วันที่ 30 มิถุนายน 2549 นอกโควตาให้นำเข้าได้เสรี ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้า ร้อยละ 73 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท และการนำเข้าจากประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ACMECS) และจากประเทศนิวซีแลนด์ (FTA) ให้นำเข้าได้เสรี ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 0 สำหรับการนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย (FTA) ในโควตา กำหนดปริมาณนำเข้า 5,743.50 ตัน กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 18.67 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้าและกำหนดระยะเวลานำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — วันที่ 30 มิถุนายน 2549 นอกโควตา ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 65.70
3. ปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป ให้นำเข้าได้เสรี ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 10 และอากรพิเศษอีก ร้อยละ 50 ของอากรนำเข้า (รวมเป็นอากรนำเข้าทั้งสิ้นร้อยละ 15) สำหรับการนำเข้าจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (FTA) กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 12 และจากประเทศจีน (อาเซียน — จีน) กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 15
ทั้งนี้ การนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้ง 3 ชนิด ข้างต้น ภายใน AFTA ให้นำเข้าเสรีไม่จำกัดปริมาณและ ช่วงเวลานำเข้า กำหนดอากรนำเข้า ร้อยละ 5
4. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2549 โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน ผู้แทนทั้งภาคราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข กำกับ ดูแลและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการที่กำหนดไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--