แท็ก
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
กระทรวงศึกษาธิการ
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพิเศษ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการด้วย ดังนี้
1. กระทรวงศึกษาธิการควรศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมและเป็นสากลที่มีการใช้ในต่างประเทศ ประกอบด้วย
2. โดยที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีแผนงานด้านการจัดการเทคโนโลยีเพื่อคนพิการอยู่ จึงให้เชิญผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมพิจารณาในชั้นการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 บัญญัติให้รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปีโดยให้ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และรัฐต้องจัดให้คนพิการและทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นใดจากรัฐโดยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ อีกทั้งให้มีการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล แต่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้รับการปฏิบัติเป็นจริงอย่างเต็มที่ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาพิเศษ จึงสมควรออกกฎหมายเพื่อให้มีหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ด้านการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ โดยมีหน่วยงานในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพิเศษ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาพิเศษเพื่อเป็นการประกันโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ดังนี้
1. กำหนดให้จัดการศึกษาพิเศษโดยมุ่งตอบสนองความต้องการของคนพิการให้ได้รับการศึกษาตลอดจนความช่วยเหลือทางการศึกษา (ร่างมาตรา 6)
2. กำหนดหลักการในการจัดการศึกษาพิเศษ (ร่างมาตรา 7)
3. กำหนดให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกสังกัด ต้องจัดให้คนพิการและครอบครัวได้รับสิทธิพิเศษด้านการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษกำหนด รวมทั้งมีสิทธิประโยชน์พิเศษอื่น (ร่างมาตรา 8 -10)
4. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดงบประมาณ เงินอุดหนุน หรือทรัพยากรทุกประเภทสนับสนุนการจัดการศึกษาพิเศษ (ร่างมาตรา 13)
5. กำหนดรูปแบบในการจัดการศึกษาพิเศษเป็น 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการจัดการศึกษาพิเศษนอกระบบและการจัดการศึกษาพิเศษตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์แวะวิธีการที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษกำหนด (ร่างมาตรา 14 - 15)
6. กำหนดให้องค์กรหลักทุกองค์กรในกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานภายนอกกระทรวงศึกษาธิการสามารถจัดการศึกษาพิเศษได้ และให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายให้ความเห็นต่อแผนการปฏิบัติการ การจัดสรรทรัพยากร แต่งตั้งอนุกรรมการ ออกระเบียบ ข้อกำหนด และปฏิบัติงานอื่นตามที่กฎหมายกำหนด (ร่างมาตรา 18 - 20)
7. กำหนดให้มีสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยให้จัดทำประกาศกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายใน โดยคำแนะนำของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ (ร่างมาตรา 23)
8. กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับการจัดการศึกษาพิเศษ (ร่างมาตรา 27)
9. กำหนดให้มี อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยจำนวนหลักเกณฑ์ วิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุมและอำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 โดยอนุโลม (มาตรา 29)
10. กำหนดให้องค์กร สมาคม มูลนิธิ หน่วยงานเอกชน ที่จัดหรือส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษ (ร่างมาตรา 31)
11. กำหนดให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนทั้งจากรัฐและองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศมาจัดการศึกษาพิเศษ และให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มีฐานะเป็นนิติบุคคลภายในกำกับของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง โดยมีแหล่งที่มาของเงินทุนตามที่กฎหมายกำหนด (ร่างมาตรา 32 - 34)
12. กำหนดให้รัฐจัดตั้ง “สถาบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนพิการ” มีหน้าที่รับผิดชอบการผลิต สาธิต ฝึกอบรม นิเทศ การใช้ การซ่อมบำรุงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ อุปกรณ์ (ร่างมาตรา 39)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
1. กระทรวงศึกษาธิการควรศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมและเป็นสากลที่มีการใช้ในต่างประเทศ ประกอบด้วย
2. โดยที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีแผนงานด้านการจัดการเทคโนโลยีเพื่อคนพิการอยู่ จึงให้เชิญผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมพิจารณาในชั้นการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 บัญญัติให้รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปีโดยให้ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และรัฐต้องจัดให้คนพิการและทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นใดจากรัฐโดยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ อีกทั้งให้มีการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล แต่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้รับการปฏิบัติเป็นจริงอย่างเต็มที่ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาพิเศษ จึงสมควรออกกฎหมายเพื่อให้มีหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ด้านการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ โดยมีหน่วยงานในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพิเศษ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาพิเศษเพื่อเป็นการประกันโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ดังนี้
1. กำหนดให้จัดการศึกษาพิเศษโดยมุ่งตอบสนองความต้องการของคนพิการให้ได้รับการศึกษาตลอดจนความช่วยเหลือทางการศึกษา (ร่างมาตรา 6)
2. กำหนดหลักการในการจัดการศึกษาพิเศษ (ร่างมาตรา 7)
3. กำหนดให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกสังกัด ต้องจัดให้คนพิการและครอบครัวได้รับสิทธิพิเศษด้านการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษกำหนด รวมทั้งมีสิทธิประโยชน์พิเศษอื่น (ร่างมาตรา 8 -10)
4. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดงบประมาณ เงินอุดหนุน หรือทรัพยากรทุกประเภทสนับสนุนการจัดการศึกษาพิเศษ (ร่างมาตรา 13)
5. กำหนดรูปแบบในการจัดการศึกษาพิเศษเป็น 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการจัดการศึกษาพิเศษนอกระบบและการจัดการศึกษาพิเศษตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์แวะวิธีการที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษกำหนด (ร่างมาตรา 14 - 15)
6. กำหนดให้องค์กรหลักทุกองค์กรในกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานภายนอกกระทรวงศึกษาธิการสามารถจัดการศึกษาพิเศษได้ และให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายให้ความเห็นต่อแผนการปฏิบัติการ การจัดสรรทรัพยากร แต่งตั้งอนุกรรมการ ออกระเบียบ ข้อกำหนด และปฏิบัติงานอื่นตามที่กฎหมายกำหนด (ร่างมาตรา 18 - 20)
7. กำหนดให้มีสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยให้จัดทำประกาศกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายใน โดยคำแนะนำของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ (ร่างมาตรา 23)
8. กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับการจัดการศึกษาพิเศษ (ร่างมาตรา 27)
9. กำหนดให้มี อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยจำนวนหลักเกณฑ์ วิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุมและอำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 โดยอนุโลม (มาตรา 29)
10. กำหนดให้องค์กร สมาคม มูลนิธิ หน่วยงานเอกชน ที่จัดหรือส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษ (ร่างมาตรา 31)
11. กำหนดให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนทั้งจากรัฐและองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศมาจัดการศึกษาพิเศษ และให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มีฐานะเป็นนิติบุคคลภายในกำกับของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง โดยมีแหล่งที่มาของเงินทุนตามที่กฎหมายกำหนด (ร่างมาตรา 32 - 34)
12. กำหนดให้รัฐจัดตั้ง “สถาบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนพิการ” มีหน้าที่รับผิดชอบการผลิต สาธิต ฝึกอบรม นิเทศ การใช้ การซ่อมบำรุงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ อุปกรณ์ (ร่างมาตรา 39)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--