คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์จัดส่งผู้แทนไปดำเนินการเจรจากับสหภาพยุโรป กรณีที่สหภาพยุโรปขอปรับเปลี่ยนระบบการบริหารโควตานำเข้ามันสำปะหลังจากไทย ภายใต้กรอบ ดังนี้
1. ไทยจะยังคงได้โควตา 21 ล้านตัน ในระยะเวลา 4 ปี
2. การบริหารจะปรับเปลี่ยนจากที่ฝ่ายไทยเป็นผู้บริหารโควตาส่งออกด้วยการออกใบรับรองการส่งออก (Export Certificate : EC) เป็นฝ่ายสหภาพยุโรปเป็นผู้บริหารโควตาตามหลักการ First Comes First Served (FCFS) โดยฝ่ายไทยเป็นผู้ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : C/O)
กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า
1. กระทรวงพาณิชย์ได้รับแจ้งจากสหภาพยุโรปว่าจะปรับเปลี่ยนการบริหารโควตานำเข้าจากเดิมที่กำหนดให้ไทยเป็นผู้จัดสรรโควตาและออกใบรับรองการส่งออก (Export Certificate : EC) มาเป็นระบบใหม่ ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้จัดสรรโควตา โดยระบบ First Comes First Served (FCFS) และมอบให้ไทยเป็นผู้ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : C/O) ระบบใหม่นี้เป็นระบบที่สหภาพยุโรปจะนำมาใช้กับการนำเข้าสินค้าที่มีการควบคุมโควตาจากทุกประเทศ โดยในส่วนของมันสำปะหลังจะเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
2. การเปลี่ยนระบบการจัดสรรโควตาจะไม่กระทบต่อความสามารถในการส่งออกของไทย เพราะเป็นการเปลี่ยนระบบการบริหารการนำเข้า ไทยยังคงสามารถรักษาสิทธิการส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปสหภาพยุโรป จำนวน 21 ล้านตัน ในระยะเวลา 4 ปี เฉลี่ยปีละ 5.25 ล้านตัน ตามความตกลงฯ เดิมไว้ได้ และนอกจากนั้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้เริ่มปฏิรูปนโยบายร่วมทางการเกษตร (Common Agricultural Reform : CAP Reform) และมีการขยายประเทศสมาชิกใหม่ (Enlargement) ทำให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์ในสหภาพยุโรปหันไปใช้ธัญพืชที่ผลิตขึ้นเองมากขึ้น ทำให้ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (มันอัดเม็ด) ไปสหภาพยุโรปลดลงโดยตลอด และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกได้เพียง 0.39-2.21 ล้านตัน/ปี (ร้อยละ 7.42-42.09 ของโควตา)
3. หากฝ่ายไทยไม่ยอมเจรจาตามที่สหภาพยุโรปเสนอ ฝ่ายสหภาพยุโรปอาจขอเจรจาแก้ไขความตกลงใหม่ทั้งฉบับ และใช้สถิติการส่งออก 3 ปีย้อนหลังเป็นฐานในการเจรจา ตามหลักการภายใต้ความตกลง WTO ซึ่งฝ่ายไทยจะเสียเปรียบ โดยได้รับโควตาน้อยลงเพราะ 3 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปสหภาพยุโรปเพียง 0.39-2.21 ล้านตันเท่านั้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
1. ไทยจะยังคงได้โควตา 21 ล้านตัน ในระยะเวลา 4 ปี
2. การบริหารจะปรับเปลี่ยนจากที่ฝ่ายไทยเป็นผู้บริหารโควตาส่งออกด้วยการออกใบรับรองการส่งออก (Export Certificate : EC) เป็นฝ่ายสหภาพยุโรปเป็นผู้บริหารโควตาตามหลักการ First Comes First Served (FCFS) โดยฝ่ายไทยเป็นผู้ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : C/O)
กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า
1. กระทรวงพาณิชย์ได้รับแจ้งจากสหภาพยุโรปว่าจะปรับเปลี่ยนการบริหารโควตานำเข้าจากเดิมที่กำหนดให้ไทยเป็นผู้จัดสรรโควตาและออกใบรับรองการส่งออก (Export Certificate : EC) มาเป็นระบบใหม่ ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้จัดสรรโควตา โดยระบบ First Comes First Served (FCFS) และมอบให้ไทยเป็นผู้ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : C/O) ระบบใหม่นี้เป็นระบบที่สหภาพยุโรปจะนำมาใช้กับการนำเข้าสินค้าที่มีการควบคุมโควตาจากทุกประเทศ โดยในส่วนของมันสำปะหลังจะเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
2. การเปลี่ยนระบบการจัดสรรโควตาจะไม่กระทบต่อความสามารถในการส่งออกของไทย เพราะเป็นการเปลี่ยนระบบการบริหารการนำเข้า ไทยยังคงสามารถรักษาสิทธิการส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปสหภาพยุโรป จำนวน 21 ล้านตัน ในระยะเวลา 4 ปี เฉลี่ยปีละ 5.25 ล้านตัน ตามความตกลงฯ เดิมไว้ได้ และนอกจากนั้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้เริ่มปฏิรูปนโยบายร่วมทางการเกษตร (Common Agricultural Reform : CAP Reform) และมีการขยายประเทศสมาชิกใหม่ (Enlargement) ทำให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์ในสหภาพยุโรปหันไปใช้ธัญพืชที่ผลิตขึ้นเองมากขึ้น ทำให้ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (มันอัดเม็ด) ไปสหภาพยุโรปลดลงโดยตลอด และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกได้เพียง 0.39-2.21 ล้านตัน/ปี (ร้อยละ 7.42-42.09 ของโควตา)
3. หากฝ่ายไทยไม่ยอมเจรจาตามที่สหภาพยุโรปเสนอ ฝ่ายสหภาพยุโรปอาจขอเจรจาแก้ไขความตกลงใหม่ทั้งฉบับ และใช้สถิติการส่งออก 3 ปีย้อนหลังเป็นฐานในการเจรจา ตามหลักการภายใต้ความตกลง WTO ซึ่งฝ่ายไทยจะเสียเปรียบ โดยได้รับโควตาน้อยลงเพราะ 3 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปสหภาพยุโรปเพียง 0.39-2.21 ล้านตันเท่านั้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--