สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 36

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 27, 2010 16:02 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 36 ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ และการดำเนินการตามแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี เพชรบูรณ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร ลำพูน อุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี นครราชสีมา ศรีสะเกษ ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และขอนแก่น สรุปสถานการณ์ได้ดังนี้

1. ลพบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี 9 ตำบล โคกสำโรง 13 ตำบล ชัยบาดาล 16 ตำบล พัฒนานิคม 6 ตำบล ลำสนธิ 6 ตำบล ท่าหลวง หนองม่วง สระโบสถ์ 5 ตำบล โคกเจริญ 5 ตำบล บ้านหมี่ 7 ตำบล ท่าวุ้ง 6 ตำบล

2. สระบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 15 ต.ค.53 ในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 4 ตำบล 1 เทศบาล อำเภอบ้านหมอ 2 ตำบล พระพุทธบาท 1 ตำบล มวกเหล็ก 2 ตำบล แก่งคอย 12 ตำบล วังม่วง 3 ตำบล เสาไห้ 12 ตำบล เฉลิมพระเกียรติ 3 ตำบล ดอนพุด 4 ตำบล หนองแซง 9 ตำบล หนองแค 13 ตำบลวิหารแดง 7 ตำบล

3. เพชรบูรณ์ สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 3 ตำบล หนองไผ่ 13 ตำบล ศรีเทพ 7 ตำบล บึงสามพัน 8 ตำบล วิเชียรบุรี 14 ตำบล

4. สุโขทัย สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ เมื่อวันที่ 29 ส.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอกงไกลาศ ตำบลกง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน

5. พิษณุโลก สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 29 ส.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอบางระกำ คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน

6. พิจิตร สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 53 ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม 4 ตำบล โพธิ์ประทับช้าง 4 ตำบล บึงนางราง 1 ตำบล โพทะเล 5 ตำบล

7. กำแพงเพชร สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี 9 ตำบล ปางศิลาทอง 2 ตำบล ไทรงาม 7 ตำบล บึงสามัคคี 4 ตำบล ทรายทองวัฒนา 3 ตำบล พานกระต่าย 8 ตำบล

8. ลำพูน สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอบ้านโฮ่ง 3 ตำบล

9. อุทัยธานี สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุทัยธานี 2 ตำบล

10.นครสวรรค์ สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตาคลี 5 ตำบล ลาดยาว 8 ตำบล หนองบัว 4 ตำบล.ท่าตะโก 10 ตำบล ไพศาลี 8 ตำบล เมือง 3 ตำบล บรรพตพิสัย

11.ชัยนาท สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 3-4 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเนินขาม 3 ตำบล หันคา 7 ตำบล เมืองชัยนาท 8 ตำบล วัดสิงห์ 4 ตำบล หนองมะโมง 4 ตำบลมโนรมย์ 7 ตำบล สรรพยา 7 ตำบล

12.สิงห์บุรี สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 19-20 ต.ค 53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภออินทร์บุรี 7 ตำบล 2 เทศบาล

13.อ่างทอง สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 19-20 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ โพธิ์ทอง สามโก้ และแสวงหา

14.พระนครศรีอยุธยา สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 19-20 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 4 ตำบล บางไทร 23 ตำบล มหาราช 12 ตำบล ผักไห่ 7 ตำบลบางบาล 8 ตำบล

15.นครปฐม สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 53 ในพื้นที่อำเภอ 1 อำเภอ คือ อำเภอบางเลน 2 ตำบล

16.นนทบุรี สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ ได้แก่ อ.ปากเกร็ด 7 ตำบล.เมืองนนทบุรี 4 ตำบล บางกรวย 4 ตำบล บางใหญ่ 6 ตำบล บางบัวทอง 8 ตำบล ไทรน้อย 7 ตำบล

17.ปทุมธานี สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมแก้ว ธัญบุรี ลำลูกกา คลองหลวง และหนองเสือ

18.สุพรรณบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 19 ตำบล.บางปลาม้า 13 ตำบล.สองพี่น้อง 14 ตำบล สามชุก 7 ตำบล หนองหญ้าไซ 6 ตำบล .เดิมบางนางบวช 14 ตำบล

19.นครนายก สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่อำเภอ 1 อำเภอ คือ อำเภอบ้านนา 2 ตำบล

20.สระแก้ว สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 15 ต.ค.53 ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออรัญประเทศ 6 ตำบล อำเภอวังน้ำเย็น 1 ตำบล ตาพระยา 1 เทศบาลตำบล โคกสูง 3 ตำบล

21.ปราจีนบุรี สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาดี 1 ตำบล อำเภอกบินทร์บุรี 2 ตำบล ศรีมหาโพธิ์ 7 ตำบล 1 เทศบาล

22.นครราชสีมา สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 15-16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 21 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 11 ตำบล สูงเนิน 11 ตำบล ขามทะเลสอ 5 ตำบล โนนแดง 3 ตำบล คง 2 ตำบล เสิงสาง 6 ตำบล หนองบุญมาก จักรราช 8 ตำบล เทพารักษ์ 4 ตำบล ด่านขุนทด 16 ตำบล บ้านเหลื่อม 4 ตำบล โนนสูง 16 ตำบล โชคชัย 10 ตำบล พิมาย 6 ตำบล โนนไทย 10 ตำบล ห้วยแถลง 10 ตำบล ปากช่อง 8 ตำบล สีคิ้ว 3 ตำบล ปักธงชัย 11 ตำบล ขามสะแกแสง 7 ตำบล เฉลิมพระเกียรติ 5 ตำบล พระทองคำ 5 ตำบล บัวใหญ่ 7 ตำบล ครบุรี บัวลาย เมืองยาง สีดา ชุมพวง วังน้ำเขียว ลำทะเมนชัย แก้งสนามนาง ส่วนในตัวเมืองนครราชสีมา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา หมู่บ้านการเคหะแห่งชาติ หมู่บ้านเคียงเคหะ โรงพยาบาลเซนต์เมรี โรงพยาบาลมหาราช

23.ศรีสะเกษ สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอขุนหาญ 1 ตำบล

24.ชัยภูมิ สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 16 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว บำเหน็จณรงค์ เนินสง่า จัตุรัส บ้านเขว้า แก้งคร้อ หนองบัวแดง หนองบัวระเหว คอนสวรรค์ ซับใหญ่ คอนสาร ภักดีชุมพล เทพสถิต และบ้านแท่น

25.สุรินทร์ สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 19 ต.ค.53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ ได้แก่ อำเภอเมือง 3 ตำบล สังขะ 4 ตำบล. บัวเชด 6 ตำบล ศรีขรภูมิ 1 ตำบล.ศรีณรงค์ 5 ตำบล ชุมพลบุรี 9 ตำบล กาบเชิง 5 ตำบล

26.บุรีรัมย์ สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 20 ต.ค.53 ในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ ได้แก่ อำเภอโนนดินแดง สตึก ปะคำ บ้านกรวด ประโคนชัย เฉลิมพระเกียรติ ละหานทราย นางรอง หนองหงส์ ลำปลายมาศ และชำนิ

27.ขอนแก่น สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 20 ต.ค.53 ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูผาม่าน 3 ตำบล บ้านไผ่ 1 ตำบล 1 เทศบาล.ชุมแพ 12 ตำบล .หนองเรือ 5 ตำบล มัญจาคีรี 8 ตำบล

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (25 ตุลาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 54,923 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(52,093 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,830 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 31,082 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (58,430 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 79) จำนวน 3,507 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 18,632 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (25 ตุลาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 51,406 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(48,777 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,629 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 27,883 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (55,150 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 79) จำนวน 3,744 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 18,189 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย และป่าสักฯ

                                                                                  หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ   ม.ค.-เม.ย.   พ.ค.-ส.ค.       ก.ย.    1-25 ต.ค.        รวม             เฉลี่ย        ผลต่างปี53
                                                           1 ม.ค.-25 ต.ค.  1 ม.ค.- 25 ต.ค.   กับค่าเฉลี่ย
1.ภูมิพล          58.78    1,270.65   1,509.77     1,740.62     4,579.82         4,625.62         -45.8
2.สิริกิติ์          389.4    3,071.75   1,855.85       469.69     5,786.69         5,134.29         652.4
ภูมิพล+สิริกิติ์      448.18    4,342.40   3,365.62     2,210.31    10,366.51         9,759.91         606.6
3.แควน้อย       113.72         344     470.22       170.74     1,098.68         1,527.23       -428.55
4.ป่าสัก          75.75      438.77   1,038.51     1,335.51     2,888.54         2,043.08        845.46
รวม 4 อ่าง      637.65    5,125.17   4,874.35     3,716.56    14,353.73        13,330.21      1,023.52

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                               หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ      ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
               ในอ่างปี 53      ใช้การได้           ไหลลงอ่าง          ระบาย      รับได้อีก
            ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
1.ภูมิพล         8,113  60      4,313   32   150.03  181.83        0      0     5,349
2.สิริกิติ์         7,737  81      4,887   51    14.49   14.45     2.02   1.98     1,773
ภูมิพล+สิริกิติ์     15,850  69      9,200   40   164.52  196.28     2.02   1.98     7,122
3.แควน้อยฯ        755  98        719   93     6.61    6.59        0      0        14
4.ป่าสักชลสิทธิ์    1,090 114      1,087  113    79.69   84.27   105.37 111.82         0
รวม 4 อ่างฯ    17,695  72     11,006   45   250.82  287.14   107.39  113.8     7,136

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 19 อ่าง ดังนี้

                                                                                     หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ            ปริมาตรน้ำในอ่างฯ      ปริมาตรน้ำใช้การได้       ปริมาณน้ำไหล    ปริมาณน้ำระบาย    ปริมาณน้ำรับได้อีก
                                                                   ลงอ่าง
                    ปริมาตร  % ความจุ     ปริมาตร   % ความจุ      วันนี้    เมื่อ    วันนี้     เมื่อ
                        น้ำ     อ่างฯ         น้ำ      อ่างฯ             วาน            วาน
1. สิริกิต์              7,725       81      4,875        51    14.45   19.1   1.98    1.97        1,785
2. แม่งัดฯ               267      101        245        92     1.76   6.23   1.04    1.35            0
3. กิ่วคอหมา             183      108        177       104     1.83   2.57   2.57    2.57            0
4. แควน้อยฯ             748       97        712        93     6.59    5.5      0       0           21
5. ห้วยหลวง             119      101        114        97     1.66   1.66   0.49    0.49            0
6. จุฬาภรณ์              177      108        133        81     3.59   3.27   3.79    1.08            0
7. อุบลรัตน์            2,637      108      2,056        85   138.88 193.58  23.34   20.34            0
8. ลำปาว             1,290       90      1,205        84     2.83   7.26   5.13    4.96          140
9. ลำตะคอง             376      120        349       111     3.93   4.53   7.43    8.42            0
10.ลำพระเพลิง           117      106        116       105     1.54      1   2.72     3.7            0
11.ลำแซะ               239       87        232        84     0.56   4.56      0       0           36
12.สิรินธร             1,587       81        756        38     3.39   5.91      0       0          379
13.ป่าสักชลสิทธิ์         1,116      116      1,113       116    84.27  90.28 111.82  112.41            0
14.ทับเสลา              171      107        163       102     6.18  10.34   7.99   10.01            0
15.กระเสียว             280      117        240       100     18.2  18.23  16.95   16.28            0
16.ขุนด่านฯ              213       95        208        93      1.3    1.3   0.08    0.08           11
17.คลองสียัด             432      103        402        96      3.3   4.64   2.63    2.63            0
18.หนองปลาไหล          168      102        154        95     1.76   1.94   0.41    0.35            0
19.ประแสร์              263      106        243        98     1.37   0.49   2.46     2.9            0

2. สภาพน้ำท่า

ปริมาณน้ำในลำน้ำต่างๆ ตามสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า กรมชลประทาน พบว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้น

แม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำล้นตลิ่ง

แม่น้ำวัง บริเวณอำเภอสามเงา จังหวัดตาก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

แม่น้ำยม บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก บริเวณอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำล้นตลิ่ง

แม่น้ำน่าน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

แม่น้ำชี อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำล้นตลิ่ง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

แม่น้ำมูล อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำล้นตลิ่ง

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 2,799 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 27 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 3,281 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 91 ลบ.ม./วินาที)

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 35 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 1 ลบ.ม./วินาที ) และทุ่งฝั่งตะวันตก 296 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 9 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 1,292 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 14 ลบ.ม./วินาที)

การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ ระหว่างวันที่ 20 —25 ตุลาคม 2553 จำนวน 9 ฉบับ แบ่งเป็น แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 5 ฉบับ สถานการณ์น้ำในแม่น้ำชี 3 ฉบับ สถานการณ์น้ำในแม่น้ำมูล 1 ฉบับ

2. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ได้เตรียมการไว้ จำนวน 1,200 เครื่อง สนับสนุนแล้วจำนวน 924 เครื่อง (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 43 เครื่อง) ในพื้นที่ 59 จังหวัด ดังนี้

ภาคเหนือ 16 จังหวัด จำนวน 205 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่(35) นครสวรรค์(19) เพชรบูรณ์(1) ลำปาง(34) น่าน(12) พิษณุโลก(4) แพร่(16) ตาก(16) ลำพูน(15) พะเยา(6) แม่ฮ่องสอน(18) เชียงราย(3) อุตรดิตถ์(6) สุโขทัย(8) กำแพงเพชร(10) พิจิตร(2)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 257 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(48) ขอนแก่น(21) มหาสารคาม(11) ร้อยเอ็ด(21) กาฬสินธุ์(32) อุบลราชธานี(6) นครพนม(15) มุกดาหาร(11) ชัยภูมิ(10) อำนาจเจริญ(14) สุรินทร์(7) ศรีสะเกษ(11) อุดรธานี(8) สกลนคร(9) ยโสธร(9) บุรีรัมย์(10) หนองคาย(14)

ภาคกลาง 14 จังหวัด จำนวน 372 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท(24) สิงห์บุรี(7) พระนครศรีอยุธยา(10) นนทบุรี(44) ปทุมธานี(44) นครปฐม(19) ลพบุรี(35) สุพรรณบุรี(97) สระบุรี(18) ราชบุรี(34) อุทัยธานี(15) อ่างทอง(14) กาญจนบุรี(9) กรุงเทพฯ(2)

ภาคตะวันออก 4 จังหวัด จำนวน 62 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครนายก(13) ปราจีนบุรี(16) ฉะเชิงเทรา (23) ระยอง(8)

ภาคใต้ 8 จังหวัด จำนวน 71 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด เพชรบุรี(41) นครศรีธรรมราช(8) พังงา(1) สงขลา(9) ยะลา(1) พัทลุง(2) ปัตตานี(1) ชุมพร(11)

3. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 309,060 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 182,460 กิโลกรัม) แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 792 ชุด (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 142 ชุด) และดูแลสุขภาพสัตว์ 115,484 ตัว (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 174,558 ตัว) ในพื้นที่ 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม หนองคาย ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กำแพงเพชร ชัยนาท ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สุพรรณบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้เตรียมความพร้อมด้านเสบียงสัตว์ไว้ล่วงหน้า โดยการผลิตทั้งหญ้าแห้ง หญ้าสด และหญ้าหมักไว้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ /สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ จำนวน 29 ศูนย์/สถานีสามารถบริการช่วยเหลือราษฎรได้ทันที (ณ วันที่ 18 ต.ค. 53) จำนวน 8,016 ตัน

ผลกระทบด้านการเกษตร

ด้านพืช

ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ต.ค. 53) ประสบภัย จำนวน 54 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี กรุงเทพฯ ชัยนาท นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี และระนอง

คาดว่าจะเสียหาย 2,757,236 ไร่ ได้ดำเนินการสำรวจแล้ว (ณ 22 ต.ค.53) พบว่าเสียหายแล้ว 573,708 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 515,945 ไร่ พืชไร่ 47,211 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 10,892 ไร่ เกษตรกร 66,224 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 363.26 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่วยเหลือแล้ว 85.54 ล้านบาท (เงินท้องถิ่น เงินทดรองราชการอำเภอและจังหวัด 79.46 ล้านบาท เงินทดรองราชการปลัดกระทรวงเกษตรฯ 6.08 ล้านบาท) อยู่ระหว่างขอรับการช่วยเหลือ 277.72 ล้านบาท

ช่วงภัยวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ต.ค. 53) ประสบภัย จำนวน 29 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก ลำพูน ลำปาง นครสวรรค์ อุทัยธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ หนองคาย กรุงเทพฯ สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม

คาดว่าจะเสียหาย 2,949,644 ไร่ แยกเป็น ข้าว 1,945,107 พืชไร่ 886,586 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 87,375 ไร่ เกษตรกร 201,912 ราย

ด้านประมง

ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ต.ค. 53) ประสบภัยทั้งสิ้น 48 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก แพร่ นครสวรรค์ เลย มุกดาหาร นครพนม หนองบัวลำภู อุดรธานี บุรีรัมย์ ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร สกลนคร อุบลราชธานี หนองคาย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา สุรินทร์ อุทัยธานี สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก นนทบุรี กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ชลบุรี

คาดว่าจะเสียหาย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 54,647 ไร่ และกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 12,060 ตารางเมตร เกษตรกร 41,659 ราย ได้ดำเนินการสำรวจแล้ว (ณ 22 ต.ค.53) พบว่าพื้นที่เพาะเลี้ยงเสียหายแล้ว 7,894 ไร่ และ 10,027 ตารางเมตร คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 24.13 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่วยเหลือแล้ว 1.81 ล้านบาท (เงินท้องถิ่น เงินทดรองราชการอำเภอและจังหวัด 1.45 ล้านบาท เงินทดรองราชการปลัดกระทรวงเกษตรฯ 0.36 ล้านบาท) อยู่ระหว่างขอรับการช่วยเหลือ 22.32 ล้านบาท

ด้านปศุสัตว์

ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ต.ค. 53) ประสบภัยทั้งสิ้น 35 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี น่าน ลำปาง ลำพูน ขอนแก่น มหาสารคาม หนองคาย ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กรุงเทพฯ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร

คาดว่าจะเสียหาย เกษตรกร 61,619 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 5,259,564 ล้านตัว แบ่งเป็น โค 171,893 ตัว กระบือ 7,395 ตัว สุกร 264,761 ตัว แพะ-แกะ 8,798 ตัว สัตว์ปีก 4,776,717 ตัว แปลงหญ้า 35,609 ไร่ (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 4,101,511 ตัว)

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 ตุลาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ